bih.button.backtotop.text

สถาบันโรคหัวใจ (Heart Institute)

Heart-Institute-TH-(2).png Coronary-artery-disease-TH-(2).png Cardiac-arrhythmia-TH-(2).png Cardiomyopathy-TH-(3).png
Structural-heart-TH-(3).png Cardiogenetic-TH-(3).png Congenital-heart-disease-TH-(2).png Preventive-cardiolog-TH-(3).png
ทำไมบำรุงราษฎร์จึงก่อตั้งสถาบันโรคหัวใจ (Heart Institute)
 

ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สุงอายุ (Aging society) อย่างเต็มตัวในปี พ..2565 การเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุทำให้ปัญหาด้านสุขภาพของผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย วัยที่สูงมากขึ้นทำให้ร่างกายเสื่อมถอย ส่งผลให้เกิดโรคต่างๆได้ง่าย โดยเฉพาะกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Noncommunicable Diseases; NCDs) เช่น โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวานและโรคอ้วน  ซึ่งจะมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุ (More NCDs prevalence)

โรคเรื้อรังเหล่านี้ ทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติเหมือนเดิม ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากผู้อื่น ทั้งๆที่ผู้สูงอายุทุกคนย่อมอยากพึ่งพาตัวเองได้และมีความสุขกับการใช้ชีวิต เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพชีวิต (Quality of Life) ที่ดีอย่างยาวนาน สถาบันโรคหัวใจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จึงไม่เคยหยุดยั้งในการพัฒนาวิธีการป้องกันและรักษาโรค เพื่อส่งมอบการบริบาลทางการแพทย์ในขั้นตติยภูมิที่ให้ผลลัพธ์และประสบการณ์การรักษาเชิงบวก
 
จากข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขของไทยในปี 2561 พบว่าคนไทยมีอัตราการตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นและจะยิ่งมีความซับซ้อนมากขึ้นในอนาคต เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัยที่มีภาวะหัวใจเสื่อมลง

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้ตระหนักถึงความสำคัญในความต้องการการดูแลรักษาโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือดที่เพิ่มมากขึ้นและมีความซับซ้อนมากขึ้น ประกอบกับความพยายามของเราในการยกระดับคุณภาพการรักษาและการบริการอยู่ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ป่วยทุกรายได้เข้าถึงการรักษาที่ปลอดภัยและมีคุณภาพได้มาตรฐานระดับโลก



สถาบันโรคหัวใจ (Heart Institute) ก่อตั้งขึ้นได้จากการที่เรามีบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทางที่พรั่งพร้อม สามารถรักษาผู้ป่วยที่มีอาการซับซ้อน ต้องการการรักษาขั้นสูง รวมถึงการทำงานร่วมมือกันอย่างแข็งแกร่งทีมแพทย์และทีมสหสาขาวิชาชีพหลากหลายสาขาที่มีเป้าหมายเดียวกัน คือ ความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วยและการทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ดีที่สุดและมีคุณภาพมากที่สุด

องค์ประกอบสำคัญ 3 ประการที่ทำให้เราประสบความสำเร็จในการจัดตั้งสถาบันโรคหัวใจ (Heart Institute) คือ

 

  • การทำงานร่วมกันของแพทย์ผู้ชำนาญการในหลากหลายสาขา (Many subspecialties)
  • การทำงานที่สอดประสานกันระหว่างทีมแพทย์และสหสาขาวิชาชีพ (Team approach is needed)
  • การทำงานที่ใกล้ชิดแบบไร้รอยต่อระหว่างแพทย์สาขาต่างๆ (Multiorgan involvement) เนื่องจากหัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญ หากหัวใจทำงานได้ไม่ดี จะมีผลกระทบต่ออวัยวะอื่นๆ ตามมา ทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น ไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมองหรือมีเส้นเลือดอุดตันบริเวณต่างๆของร่างกาย ดังนั้นการดูแลรักษาที่มีประสิทธิภาพต้องอาศัยการทำงานที่ใกล้ชิดและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

เรามุ่งมั่นที่จะทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างดีที่สุดโดยการ

  • ส่งมอบการดูแลรักษาที่มีคุณภาพดีที่สุดให้แก่ผู้ป่วย
  • ทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ติดตามดูแลผู้ป่วยเป็นรายบุคคลไปจนตลอดอายุขัย
 
 

โรคหัวใจขาดเลือด (Coronary artery disease)

โรคคุ้นหูที่พบได้บ่อย คือ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน ที่มาจากการรักษาโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ไม่ดีหรืออายุที่มากขึ้น รักษาได้โดยการเปิดหลอดเลือด (revascilarization) การรักษานี้ทำได้ด้วยการใส่ขดลวด (stent) ผ่านสายสวน หรือการผ่าตัดบายพาสโดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการและการดูแลจากทีมพยาบาลเฉพาะทางด้านการบำบัดโรคหัวใจ

 

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ(Cardiac arrhythmia)

เป็นภาวะความผิดปกติที่พบได้มากขึ้นเรื่อย ๆในผู้สูงอายุ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรงที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ทันที (Ventricular tachycardia, ventricular fibrillation) หรือโรคหัวใจห้องบนเต้นพริ้ว (Atrial fibrillation)  ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคอัมพฤกษ์อัมพาต แนวทางการรักษาที่มีประสิทธิภาพคือการศึกษาและการจี้ไฟฟ้าหัวใจ โดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการและมีประสบการณ์ในการรักษา

 

ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart failure)

คือภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจทำงานลดลง ส่งผลกระทบต่อการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆของร่างกาย พบได้มากขึ้นเรื่อยๆ ตามการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมผู้สูงอายุ แนวทางการรักษาคนไข้กลุ่มนี้เปลี่ยนแปลงไปมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การใช้ยาหรือการใช้เครื่องพยุงหัวใจในแบบต่าง ๆ ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้ชำนาญการด้านภาวะหัวใจล้มเหลว ผู้ป่วยสามารถเพิ่มคุณภาพชีวิต และลดอาการลงไปได้แม้ในรายที่มีภาวะรุนแรง

 

โครงสร้างของหัวใจผิดปกติ (structural heart disease)

นอกจากระบบหลอดเลือดหัวใจและระบบไฟฟ้าหัวใจแล้ว หัวใจยังประกอบด้วยโครงสร้างอื่น ๆ เช่น ลิ้นหัวใจและเยื่อบุเยื่อหุ้มหัวใจ  ซึ่งอาจเกิดความผิดปกติขึ้นได้จากสภาวะความเสื่อมของร่างกาย การติดเชื้อหรือสาเหตุอื่น ๆ คนไข้กลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการตรวจติดตามผลอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาหรือผ่าตัดแก้ไขให้ทันถ่วงทีในช่วงเวลาที่เหมาะสม ที่บำรุงราษฎร์เรามีทีมแพทย์ผ่าตัดผู้ชำนาญการ และทีมแพทย์อายุรกรรมหัวใจให้คำแนะนำแนวทางการรักษาในกรณีที่ไม่จำเป็นต้องทำการผ่าตัดแบบเปิดหน้าอก

 

โรคหัวใจที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม (Cardiogenetics)

ในปัจจุบัน  ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและความรู้ทางพันธุศาสตร์ ทำให้สามารถระบุและตรวจหายีนที่มีโอกาสส่งผ่านโรคหัวใจในครอบครัวได้มากขึ้น เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคไหลตาย โรคไขมันในเลือดสูงและโรคอื่น ๆ การระบุยีนก่อโรคเหล่านี้ สามารถช่วยชีวิตผู้ที่ยังไม่แสดงอาการของโรคหรือช่วยในการวางแผนครอบครัวได้ดี การพบแพทย์โรคหัวใจที่มีความรู้เฉพาะทางด้านพันธุศาสตร์จึงเป็นประโยชน์อย่างมากในการช่วยวางแผนและป้องกันการเกิดโรคหัวใจที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรรมนี้

 

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital heart disease)

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดจำเป็นต้องได้รับการรักษา และดูแลอย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต ดังนั้นเป้าหมายของการรักษานอกจากการผ่าตัดแก้ไข (total correction) โดยแพทย์ผ่าตัดผู้ชำนาญการแล้ว เรายังมีความพร้อมให้การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ไปตลอดชีวิตโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล เภสัชกร และทีมสนับสนุนอื่น

 

การคัดกรองและการส่งเสริมสุขภาวะของหัวใจ (Cardiac Preventive and enhancing)

ที่บำรุงราษฎร์เรามีบริการตรวจคัดกรองโรคหัวใจที่เฉพาะเจาะจงสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจ รวมถึงผู้ที่ต้องการเสริมสมรรถภาพการออกกำลังกาย เรามีทีมแพทย์โรคหัวใจที่มีความชำนาญด้านเวชศาสตร์การกีฬา (sport cardiology) โดยเฉพาะ เพื่อช่วยประเมินสุขภาพหัวใจ วางแผนการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสม อีกทั้งทีมแพทย์โรคหัวใจ และเวชพันธุศาสตร์ ที่มีความชำนาญในการถอดรหัสดีเอ็นเอและแปลผลได้อย่างแม่นยำ

ทีมแพทย์และทีมสหสาขาวิชาชีพของเรามีความชำนาญในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ โดยเฉพาะในรายที่ต้องการการดูแลรักษาโรคที่ยากและซับซ้อน ทีมของเราประกอบด้วย

  • อายุรแพทย์หัวใจ (Medicine, Cardiology)
  • ศัลยแพทย์ทรวงอก (Cardio-thoracic surgeon)
  • แพทย์กายภาพบำบัด (Cardiac rehabilitation) ผู้ชำนาญด้านการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหัวใจและกลุ่มนักกีฬา
  • การดูแลป่วยหนักระบบหัวใจและหลอดเลือด (Clinical care service) สามารถดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีความซับซ้อนได้อย่างครอบคลุม
  • เภสัชกร (Clinical Pharmacist) ผู้ชำนาญด้านยารักษาโรคหัวใจโดยเฉพาะ
  • พยาบาล (Special nurse) ผู้ได้รับการอบรมและมีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ
  • สหสาขาวิชาชีพอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น นักโภชนาการ นักกายภาพบำบัด

 
 

 

 

1.    ทำบอลลูน > 350 ราย/ปี

2.    ฉีดสีเพื่อดูเส้นเลือดหัวใจ > 600 ราย/ปี

3.    การเกิดหลอดเลือดตีบ และแตกขณะทำบอลลูน 0%  (สถิติประเทศไทย 0.22%)

4.    ใส่ห้องไฟฟ้าหัวใจ > 30 ราย/ปี ตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ > 80 ราย/ปี

5.    อัตราการเสียชีวิตจากการจี้ไฟฟ้าหัวใจ (AF & VT) = 0

6.    อัตราการเสียชีวิตจากเปลี่ยนลิ้นหัวใจเออร์ติกด้วยเทคโนโลยี TAVI ตั้งแต่ปี 2559 = 0

7.    ผ่าตัดหัวใจแบบเปิด > 70 ราย/ปี



 
  • ให้การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่มีอาการซับซ้อน ด้วยการใส่ขดลวด (Stent) 8 ชิ้นในการทำหัตถการครั้งเดียวสำเร็จ
  • วินิจฉัยและรักษาชีวิตผู้มีประวัติครอบครัวเป็นภาวะคลื่นไฟฟ้าหัวใจทำงานผิดปกติ (Brugada syndrome) จากกรรมพันธุ์มาก่อน
 
รับฟังประสบการณ์คนไข้หัวใจเต้นผิดจังหวะกับการรักษาที่เปลี่ยนชีวิต
 
 



เรื่องราวของผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชาวอเมริกันที่เดินทางมาเปลี่ยนเครื่องกระตุ้นหัวใจ
 




เพราะหัวใจมีแค่ดวงเดียว... การดูแลรักษาจึงต้อง "ใส่ใจ" ทุกขั้นตอน
 

พญ. ธัญลักษณ์ ชัยเสรี

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์โรคหัวใจ

ดูประวัติ

นพ. นเรนทร์ มัลโฮตรา

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์ทั่วไป
อายุรศาสตร์โรคหัวใจ

ดูประวัติ

นพ. พิษณุ เกิดสินธ์ชัย

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์โรคหัวใจ

ดูประวัติ

น.อ.นพ. สุกิตติ ปาณปุณณัง ร.น.

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์ทั่วไป
อายุรศาสตร์โรคหัวใจ

ดูประวัติ

นพ. วิสุทธิ์ วิเวกาภิรัต

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์โรคหัวใจ

ดูประวัติ

นพ. อร่าม จูสวย

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์โรคหัวใจ

ดูประวัติ

นอ.พิเศษ นพ. เกรียงไกร จิรสิริโรจนากร

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์โรคหัวใจ

ดูประวัติ

นพ. พิพัฒน์ วงศ์สิริศักดิ์

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์โรคหัวใจ

ดูประวัติ

นพ. วัธนพล พิพัฒนนันท์

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์โรคหัวใจ

ดูประวัติ

Related Package

Contact Number

065-509-9198 
(ระหว่างเวลา 8.00-20.00 น. )

02-066-8888
(ระหว่างเวลา 20.00-8.00 น. )

Email
[email protected]
 
  • บริการพบแพทย์ผ่าน VDO call (Tele-Consultation) คลิก

Service Hours

  • เนื่องจากสถานการณ์และมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทางโรงพยาบาลฯ อาจมีการปรับเปลี่ยนเวลาในการให้บริการของแต่ละคลินิกตามความเหมาะสมของสถานการณ์ จึงขอความกรุณาทำการนัดหมายแพทย์ล่วงหน้า หรือสอบถามเวลาการให้บริการได้ที่ 1378

Location

  • สถาบันโรคหัวใจ
ชั้น 14 A อาคารบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล คลินิก (อาคาร A)
คะแนนโหวต 7.50 of 10, จากจำนวนคนโหวต 4 คน

Related Health Blogs