bih.button.backtotop.text

ไขมันในเลือดสูง คอเลสเตอรอลและโรคหัวใจ

ถ้าระดับคอเลสเตอรอลมีมากกว่าความต้องการของร่างกาย ทำให้เกิดภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดโรคหัวใจ การลดและควบคุมระดับคอเลสเตอรอลให้มีปริมาณที่พอเหมาะจะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้

คอเลสเตอรอลคืออะไร
คอเลสเตอรอลเป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้น มีลักษณะเป็นไขคล้ายขี้ผึ้ง ทำหน้าที่ช่วยสังเคราะห์ฮอร์โมนและเป็นส่วนหนึ่งของเยื่อบุเซลล์ คอเลสเตอรอลส่วนใหญ่ถูกสังเคราะห์ขึ้นจากตับ บางส่วนพบอยู่ในอาหารที่เรารับประทาน ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่าที่ร่างกายสร้างขึ้น นอกจากนี้คอเลสเตอรอลยังเกิดจากไขมันชนิดอิ่มตัว ถ้าอาหารที่รับประทานมีไขมันชนิดอิ่มตัวสูงจะทำให้ปริมาณคอเลสเตอรอลในร่างกายเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน
 
เนื่องจากคอเลสเตอรอลเป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ไม่สามารถละลายอยู่ในกระแสเลือดได้โดยลำพัง ต้องอาศัยการรวมตัวกับโปรตีนจึงจะอยู่ในกระแสเลือดได้ การรวมตัวระหว่างไขมันและโปรตีนนี้เราเรียกว่า ไลโพโปรตีน (Lipoprotein)
คอเลสเตอรอลมี 2 ชนิด คือ
  1. HDL (High Density Lipoprotien) เป็นไลโพโปรตีนที่มีความหนาแน่นสูง
  2. LDL (Low Density Lipoprotien) เป็นไลโพโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำ
  • HDL ทำหน้าที่นำคอเลสเตอรอลส่วนเกินส่งไปทำลายที่ตับเราจึงเรียก HDL ว่าเป็นคอเลสเตอรอลชนิดดี
  • LDL ทำงานตรงข้ามกับ HDL คือ ทำให้แผ่นหรือคราบของไขมันเกาะพอกอยู่ในหลอดเลือดแดง เราจึงเรียก LDL ว่าคอเลสเตอรอลผู้ร้าย
คอเลสเตอรอลทั้ง 2 ชนิดนี้หากมีอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันโรคหัวใจได้
 
การตรวจวัดระดับคอเลสเตอรอลสามารถทำได้ง่ายๆ โดยการเจาะเลือด หน่วยวัดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด คือ (คอเลสเตอรอล) มิลลิกรัม/(เลือด) เดซิลิตร

ตารางแสดงระดับคอเลสเตอรอลที่พึงประสงค์

คอเลสเตอรอลรวม

ต่ำกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

LDL คอเลสเตอรอล ต่ำกว่า 130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ในบุคคลทั่วไป
ต่ำกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ในผู้ป่วยโรคเส้นเลือดตีบและโรคเบาหวาน
HDL คอเลสเตอรอล สูงกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ในผู้ชาย
สูงกว่า 55 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ในผู้หญิง
 
 
ไตรกลีเซอไรด์เป็นไขมันในเลือดอีกประเภทหนึ่ง ได้จากอาหารที่มีไขมันเป็นส่วนประกอบและเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอาหารประเภทน้ำตาลและแอลกอฮอล์ ระดับของไตรกลีเซอไรด์ในเลือดควรต่ำกว่า 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
  1. การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวที่พบในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และไขมันทรานส์ที่พบในคุกกี้ เบเกอรี่ เนื้อแดง และผลิตภัณฑ์จากนมไขมันครบส่วน จะเพิ่มระดับคอเลสเตอรอล
  2. โรคอ้วน คือ คนที่มีดัชนีมวลกาย (body mass index: BMI) ตั้งแต่ 30 ขึ้นไปจะเสี่ยงต่อการมีคอเลสเตอรอลสูง
  3. ขาดการออกกำลังกาย การออกกำลังกายช่วยเพิ่ม HDL ในร่างกายหรือคอเลสเตอรอลชนิดดี ในขณะที่เพิ่มขนาดของอนุภาคที่ประกอบเป็น LDL หรือคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี ซึ่งจะทำให้เป็นอันตรายน้อยลง
  4. สูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ทำลายผนังหลอดเลือดทำให้มีแนวโน้มที่จะสะสมไขมัน การสูบบุหรี่อาจทำให้ระดับ HDL หรือคอเลสเตอรอลชนิดดีลดลง
  5. อายุ เมื่ออายุมากขึ้นจะมีความเสี่ยงต่อการมีคอเลสเตอรอลสูงเพิ่มขึ้น ตับจะกำจัด LDL คอเลสเตอรอลได้น้อยลง
  6. โรคเบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูงทำให้ระดับคอเลสเตอรอลที่เป็นอันตรายซึ่งเรียกว่าไลโปโปรตีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (very-low-density lipoprotein: VLDL) สูงขึ้น และ HDL คอเลสเตอรอลลดลง น้ำตาลในเลือดสูงยังทำลายเยื่อบุหลอดเลือดแดงด้วย
คอเลสเตอรอลในเลือดสูงอาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ รวมถึงน้ำหนักตัวและชนิดอาหารที่รับประทาน การเปลี่ยนแปลงนิสัยการบริโภคและเลือกรับประทานอาหารที่มีสัดส่วนเหมาะสมจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้
ลดน้ำหนัก น้ำหนักตัวที่เหมาะสมจะทำให้ปริมาณไขมันในร่างกายลดน้อยลง ซึ่งจะมีผลต่อระดับคอเลสเตอรอล มาตรฐานน้ำหนักตัวที่เหมาะสมสามารถชี้วัดได้จากค่าดัชนีมวลกาย ซึ่งควรมีค่าน้อยกว่า 23
(วิธีหาดัชนีมวลกาย คือ น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)/ส่วนสูงเป็นเมตร2)
เส้นวัดรอบเอวชายไม่เกิน 90 เซนติเมตร (44 นิ้ว) หญิงไม่เกิน 80 เซนติเมตร (42 นิ้ว)
ไขมันอิ่มตัว ลดการรับประทานไขมันชนิดนี้ เพราะไขมันอิ่มตัวจะทำให้เกิดคอเลสเตอรอลในร่างกายได้ แหล่งของไขมันอิ่มตัวพบในหนังสัตว์ เนื้อสัตว์ติดมัน ไขมันจากสัตว์ทุกชนิด รวมถึงไขมันจากผลิตภัณฑ์ของนม เช่น ครีม เนย อาหารทอด ขนมเค้ก เพสทรี ขนมปังกรอบ มันฝรั่งทอด ช็อกโกแลต น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม เป็นต้น
ไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโพลีและโมโน ควรเลือกใช้ไขมันไม่อิ่มตัวในการประกอบอาหาร
แหล่งของไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโมโน - พบมากในน้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา มาการีนที่ทำจากน้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วลิสงและถั่วเมล็ดแห้งบางชนิด
แหล่งของไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโพลี - พบมากในน้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันดอกทานตะวัน ถั่วเหลือง มาการีน ถั่วเมล็ดแห้ง และเมล็ดพืชบางชนิด
รับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอล วันละไม่เกินหรือน้อยกว่า 300 มิลลิกรัม งดรับประทานอาหารที่มีปริมาณคอเลสเตอรอลสูงเกินวันละ 300 มิลลิกรัม
ตัวอย่าง ปริมาณคอเลสเตอรอล (มิลลิกรัม) ในอาหาร 100 กรัม:
ไข่ขาว (0) ไข่ทั้งฟอง (504) ไข่นกกระทา (3640) ไข่แดง (1480) ตับไก่ (746) ไต (480) สมองสัตว์ (2054) กุ้ง (150) หอยนางรม (470) ปลาหมึกกล้วย (348) ปลาจะละเม็ด (120) เนยสด (250)
อาหารช่วยป้องกันคอเลสเตอรอล อาหารบางชนิดสามารถป้องกันและต่อต้านการเกิดคอเลสเตอรอลได้ จึงควรรับประทานอาหารเหล่านี้เพิ่มขึ้น เช่น รับประทานปลาทะเล (ทูน่า ปลาทู แซลมอน ซาร์ดีน ฯลฯ) อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ข้าว แป้ง และธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีท รวมถึงถั่วเมล็ดแห้ง งาดำ พริก รับประทานผักและผลไม้
การออกกำลังกาย การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทุกวันหรือเกือบทุกวันประมาณ 30 นาที เช่น การเดินเร็วหรือว่ายน้ำ สามารถควบคุมระดับไขมันได้ส่วนหนึ่ง
การใช้ยาช่วยลดไขมัน ปัจจุบันมียาหลายกลุ่มที่ช่วยในการควบคุมระดับไขมัน ซึ่งมีกลไกออกฤทธิ์ต่างๆ กัน ควรอยู่ในคำแนะนำของแพทย์
 
 

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

สถาบันโรคหัวใจ (Heart Institute)

ดูเพิ่มเติม

Related Packages

คะแนนโหวต 10.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 4 คน

Related Health Blogs