โรคหัวใจ
ค้นหาแพทย์
ติดต่อสอบถาม
นัดหมายแพทย์
หัวใจเป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ มีขนาดเท่ากำปั้น ภายในกลวง หัวใจจะอยู่ใต้กระดูกหน้าอก โดยมีตำแหน่งอยู่ในบริเวณส่วนกลางของหน้าอก ค่อนข้างไปทางซ้ายเล็กน้อย หัวใจมีหน้าที่สูบฉีดโลหิตเพื่อนำพาออกซิเจนและธาตุอาหารไปยังทุกส่วนของร่างกาย หัวใจแบ่งออกเป็น 4 ห้อง มี 2 ห้องบน และ 2 ห้องล่าง หัวใจซีกขวารับโลหิตที่ใช้แล้วจากร่างกาย แล้วสูบฉีดไปยังปอดเพื่อรับออกซิเจน โลหิตที่มีออกซิเจนก็จะกลับไปยังหัวใจด้านซ้าย และก็จะถูกสูบฉีดโลหิตผ่านเส้นเลือดใหญ่ไปยังทุกส่วนของร่างกาย ลิ้นปิดเปิดในหัวใจมี 4 ลิ้น มีตำแหน่งอยู่ระหว่างหัวใจห้องบนและหัวใจห้องล่าง และที่เส้นเลือดหลักในหัวใจ ลิ้นหัวใจทำหน้าที่กั้นเพื่อให้การสูบฉีดโลหิตไหลไปในทิศทางเดียว ในขณะที่ร่างกายพักผ่อน หัวใจจะมีอัตราการเต้นประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที การเต้นหรือการบีบตัวแต่ละครั้งเกิดจากตัวกระตุ้นทางกระแสไฟฟ้าซึ่งถูกกระตุ้นโดยเซลล์พิเศษที่ชื่อ SA node กระแสไฟฟ้าที่ถูกกระตุ้นจาก SA node จะเดินทางผ่านชุดเส้นใยนำไฟฟ้าที่อยู่ทั่วทั้งห้องหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุของการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ
การรักษาโรคหัวใจโดยใช้ยานั้นมีอยู่หลายชนิด และแต่ละวิธีนั้นก็ส่งผลได้แตกต่างกัน การรักษาด้วยยาบางชนิดจะช่วยลดการทำงานหนักของทำงานของหัวใจ (heart stress) และมีอีกหลายชนิดที่ช่วยเพิ่มสมรรถภาพในการสูบฉีดโลหิตของหัวใจของผู้ป่วย
มัณฑนากรหลอดเลือดหัวใจโดยลูกโป่งถ่างขยาย (PTCA) และการใส่ขดลวดถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ เป็นการรักษาวิธีหนึ่งที่ใช้เปิดจุดอุดตันในหลอดเลือดจากภายในหลอดเลือด โดยใช้วิธีเดียวกับการวินิจฉัยด้วยการสวนหัวใจ คือจะสอดสายยางเข้าทางเส้นเลือดที่ขาหนีบหรือที่แขน และสอดไปตามเส้นเลือดสู่หัวใจ ตรงปลายสายยางนี้จะมีลูกโป่งขนาดเล็กอยู่ เมื่อสายยางจะทะลุผ่านหลอดเลือดที่อุดตันอยู่ ก็จะถูกทำให้ขยายตัวเพื่อขยายหลอดเลือดและเปิดทางให้กับการไหลของโลหิต ถ้าอยู่ในบริเวณที่สามารถทำได้ก็จะฝังขดลวดขยายหลอดเลือด (stent) ขดลวดนี้ทำหน้าที่เป็นโครงในหลอดเลือดตรงส่วนที่อุดตัน เพื่อเปิดให้หลอดเลือดขยายออกได้ดีขึ้น
การผ่าตัดเปิดหัวใจจะใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีการไหลเวียนของเลือดเปลี่ยนไปอันเนื่องมาจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคลิ้นหัวใจ หรือปัญหาโรคหัวใจอื่นๆ การผ่าตัดหัวใจแบบธรรมดาได้แก่
การตัดต่อหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจเป็นการผ่าตัดเพื่อใช้เส้นเลือดดำจากร่างกายมาต่อโดยข้ามผ่านเส้นเลือดแดงหลักที่มีการอุดตัน หลอดเลือดที่นำมาใช้ ได้แก่ หลอดเลือดดำที่ขา (saphenous vein) หลอดเลือดแดงจากหน้าอก (internal mammary artery) หลอดเลือดบริเวณปลายแขนด้านใน (radial artery) หรือหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกระเพาะ (Gastroepiploic artery) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญของท่านจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะเลือกใช้หลอดเลือดจากส่วนไหนมาใช้ในการผ่าตัด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับจำนวนและตำแหน่งที่เกิดการอุดตันเป็นหลัก การผ่าตัดบายพาสนี้จะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปสู่กล้ามเนื้อหัวใจ เพื่อบรรเทาอาการปวดรุนแรงบริเวณหัวใจ และช่วยให้หัวใจทำหน้าที่ได้ดีขึ้น
ลิ้นหัวใจอาจมีอาการผิดปกติหรือถูกทำลายตั้งแต่กำเนิด การติดเชื้อ (ไข้รูมาติกหรือไข้ดำแดง) และมีอาการแย่ลงเมื่ออายุมากขึ้น รอยแผลหรือความหนาเกิดขึ้นกับลิ้นหัวใจ จะทำให้ลิ้นหัวใจเปิดยากขึ้น หรือไม่สามารถปิดได้สนิท ลิ้นหัวใจที่ถูกทำลายอาจจะซ่อมแซมได้ แต่โอกาสที่จะต้องเปลี่ยนลิ้นหัวใจมีมากว่า โดยอาจเป็นลิ้นหัวใจเทียมที่ทำจากวัสดุหรือที่ทำจากเนื้อเยื่อคนหรือสัตว์มากกว่าก็ได้
Atrial septum คือผนังกั้นห้องหัวใจด้านบน รูรั่วที่ผนังหัวใจด้านบน (ASD) คือภาวะที่มีช่องเปิดที่ผนังหัวใจด้านบน หรือที่เรียกว่า "รูรั่วภายในหัวใจ" ซึ่งเป็นภาวะการไม่เจริญเป็นผนังปิดที่สมบูรณ์ตั้งแต่ช่วงที่เป็นทารกอยู่ในครรภ์ การผ่าตัดปิดรูรั่วก็เพื่อให้โลหิตได้ไหลเวียนผ่านห้องหัวใจต่างๆ ได้ตามเส้นทางที่ควรจะเป็น
การสูบบุหรี่ก่อให้เกิดมะเร็งปอด หลอดลมอักเสบ และถุงลมโป่งพอง คนที่สูบบุหรี่มีโอกาสเสี่ยงต่อหัวใจวายมากกว่าสองเท่า และมีโอกาสเสียชีวิตจากโรคหัวใจอย่างกะทันหันคิดป็นสองถึงสี่เท่าของคนไม่สูบบุหรี่ นอกจากนี้การสูบบุหรี่ยังเป็นอันตรายต่อสมาชิกในครอบครัวด้วย สารนิโคตินในบุหรี่เป็นสาเหตุที่ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ และเพิ่มความดันโลหิตให้สูงขึ้น คาร์บอนมอนนอกไซด์ในควันบุหรี่จะเกาะติดกับฮีโมโกลบินในเลือดได้ง่ายกว่าออกซิเจน ดังนั้นหัวใจอาจจะไม่ได้รับออกซิเจนพอกับความต้องการ นอกจากนี้สารเคมีเหล่านี้ก็อาจจะทำความเสียหายให้กับผนังหลอดเลือดด้วย เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรสูบบุหรี่
ความดันโลหิตสูงสามารถกระตุ้นให้กระบวนการของการสะสมไขมันที่ผนังหลอดเลือดเกิดได้เร็วขึ้น และทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น เนื่องจากต้องสูบฉีดโลหิตแรงขึ้นเพื่อจะส่งไปหล่อเลี้ยงทั่วร่างกาย
ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่ออาการหัวใจวาย หัวใจล้มเหลว หรือภาวะสมองขาดเลือด ท่านสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ด้วยการควบคุมอาหาร ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด รู้จักผ่อนคลายและหาวิธีจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้น
โคเลสเตอรอลคือไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายเราสามารถผลิตขึ้นและพบในอาหารบางชนิด เมื่อเริ่มมีภาวะของโรคหลอดเลือดหัวใจเกิดขึ้น พบว่าโคเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบหลักของไขมันที่พบและมีการสะสมในหลอดเลือดหัวใจ ยิ่งมีระดับโคเลสโตรอลในเลือดสูงมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเป็นการเพิ่มโอกาสการพัฒนาและเติมโตของโรคมากขึ้นเท่านั้น เพื่อรักษาระดับการรักษาระดับโคเลสเตอรอลในเลือดให้เป็นปกติ จึงจำเป็นที่จะต้องวางแผนการรับประทานอาหารโดยเลือกแต่อาหารที่มีไขมันและโคเลสเตอรอลต่ำเท่านั้น
โรคเบาหวานคือความผิดปกติที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง สาเหตุเกิดจากร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ (ฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ช่วยนำน้ำตาลออกจากเลือดไปยังเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย) หรืออาจเกิดจากร่างกายต่อต้านอินซูลินที่มีอยู่ การมีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานอาจเป็นสาเหตุของการทำลายผนังภายในของหลอดเลือด และยังกระตุ้นให้มีคราบสะสมเกาะภายในผนังหลอดเลือดอีกด้วย
การไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกายอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ การออกกำลังกายเป็นประจำมีประโยชน์สุขภาพร่างกายเป็นอย่างมาก เช่น ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงและสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอล ควบคุมน้ำหนักตัว และยังช่วยลดความเครียดของท่านได้อีกด้วย ถ้าโดยปกติท่านไม่ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ (ประมาณสัปดาห์ละ 3-5 ครั้งเป็นอย่างน้อย) อีกทั้งรูปแบบการทำงานส่วนใหญ่จะนั่งอยู่กับโต๊ะ ไม่ค่อยต้องเคลื่อนไหวร่างกาย แสดงว่าคุณมีไลฟสไตล์แบบนั่งอยู่กับที่
การตรวจร่างกายโดยละเอียดช่วยให้ระบุได้ว่าเป็นโรคหัวใจ หรือกำลังจะเริ่มเป็นโรคหัวใจ ประวัติสุขภาพก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นเดียวกัน จะมีข้อซักถามหลายๆ ข้อ เช่น ประวัติการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ และนิสัยการออกกำลังกาย ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสุขภาพของตนเองและของบุคคลภายในครอบครัวก็เป็นองค์ประกอบสำคัญเช่นเดียวกัน
ECG เป็นคำย่อของคำภาษาอังกฤษว่า Electrocardiogram ภาษาไทยเรียกว่าการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นการตรวจรูปแบบของจังหวะคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แผ่นนำไฟฟ้าจะถูกวางบนหน้าอกเพื่อจับสัญญาณกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะพิมพ์ออกมาบนกระดาษกราฟ รูปแบบของสัญญาณที่สม่ำเสมอแสดงว่าหัวใจทำงานปกติ แต่ถ้ามีความแตกต่างในบางจุดของรูปแบบสัญญาณไฟฟ้าก็อาจแสดงว่ามีบริเวณหนึ่งบริเวณใดของหัวใจได้รับบาดเจ็บหรือถูกทำลาย วิธีการตรวจประเภทนี้ไม่ซับซ้อนและสามารถรับการตรวจได้ทั่วไป
Cardiac enzymes คือสารที่อยู่ในเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ เมื่อหัวใจถูกทำลาย เอนไซม์ตัวนี้จะถูกปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด การตรวจเลือดหาด้วยวิธีการนี้จะแสดงให้เห็นถึงระดับเอนไซม์ที่เพิ่มขึ้นหากคุณมีภาวะหัวใจวาย
การตรวจคลื่นหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูงใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อจับภาพเคลื่อนไหวของหัวใจ แพทย์จะศึกษาภาพเพื่อวัดและระบุถึงการทำงานและโครงสร้างของหัวใจ
Radionuclide Scan เป็นการตรวจโดยใช้รังสีฉีดเข้ากระแสเลือดและไหลเข้าสู่หัวใจ กล้องชนิดพิเศษจะถ่ายภาพหัวใจแสดงบนจอภาพ เพื่อแพทย์จะได้สังเกตเห็นถึงการทำงานที่ผิดปกติของหัวใจของท่าน
การวินิจฉัยด้วยการสวนหัวใจเป็นการตรวจเอ็กซเรย์โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยสอดสายยางขนาดเล็กเข้าทางหลอดเลือดที่ขาหนีบและสอดไปตามเส้นเลือดที่เข้าสู่หัวใจ สารมีสีชนิดพิเศษจะถูกฉีดผ่านสายยางนี้ เส้นเลือดในบริเวณที่มีภาวะตีบหรืออุดตันก็จะสามารถตรวจพบจากจอภาพเอ็กซเรย์
การรักษาโรคหัวใจมีอยู่หลายวิธี แพทย์จะใช้ปัจจัยหลายๆ ข้อมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะวินิจฉัยว่าควรใช้วิธีใดในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ปัจจัยต่างๆ ที่แพทย์นำมาพิจาณา ได้แก่
การรักษาที่เกี่ยวข้อง
แพทย์ที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง
โทรเพื่อทำการนัดหมาย
เช็คความเสี่ยงโรคหัวใจ ด้วยการตรวจยีน
โรคทางพันธุกรรมโรคหัวใจการตรวจพันธุกรรมพันธุกรรมโรคหัวใจ
'หินปูน' ที่เกาะอยู่บริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากการเสื่อมของแคลเซียมในร่างกาย ที่สะสมจนกลายเป็นก้อนแข็ง หรืออาจแฝงตัวมากับคราบไขมัน
โรคหลอดเลือดหัวใจโรคหัวใจหัวใจวาย
สนทนากับมีเดียกูรู สุทธิชัย หยุ่น ในหัวข้อ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภัยเงียบระดับโลก โดย นพ. กุลวี เนตรมณี แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
โรคหัวใจภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ