bih.button.backtotop.text

แผนกผู้ป่วยหนัก (ICU)

แผนกผู้ป่วยหนัก (ICU)
เส้นบาง ๆ ระหว่างคำว่า “รอดชีวิต” และ “สูญเสีย” คงไม่มีใครอยากให้เกิด แต่หากเกิดขึ้นแล้วทุกฝ่ายต้องเตรียมความพร้อมในทุกสถานการณ์ ทางโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มีทีมแพทย์เวชบำบัดวิกฤตที่ได้รับการรับรองจาก American Board of Critical Care Medicine จากสหรัฐอเมริกา และทีมสหแพทย์ทุกสาขาที่พร้อมดูแลผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อรับมือกับสถานการณ์วิกฤตที่ไม่คาดคิดที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยยึดหลักการทำงานเป็นทีมอย่างมีระบบประกอบกับความชำนาญและประสบการณ์การใช้เครื่องมืออุปกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งหมดนี้คือความพร้อมของบำรุงราษฎร์ที่จะส่งมอบการดูแลรักษาให้แก่ผู้ป่วยในระยะเวลาอันรวดเร็ว

 
 

แผนกผู้ป่วยหนัก (ICU) พร้อมให้บริบาลทางการแพทย์ตามมาตรฐานระดับสากล
 


Critical Care Services Outcomes

Average-APCHE-score.png

แผนกผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์หรือ ICU มีความมุ่งมั่นในการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้การรักษาผู้ป่วยซึ่งอยู่ในภาวะวิกฤต มีการเจ็บป่วยที่รุนแรง เพื่อให้มีความสามารถทัดเทียมสถาบันทางการแพทย์ระดับโลก และเน้นความโปร่งใสในการเปิดเผยผลการรักษา

ทางแผนกมีการเก็บตัวชี้วัดซึ่งแสดงความรุนแรงของโรคของผู้ป่วยที่มารับการรักษาในแผนกโดยใช้ APACHE IV score ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่เป็นสากล โดยระดับคะแนนที่สูง แสดงถึงภาวะเจ็บป่วยที่รุนแรง ค่าเฉลี่ยความรุนแรงของโรคของผู้ป่วยที่เข้ามารักษาใน ICU โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์อยู่ที่ 54.65 ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งอยู่ที่ 54.5


SRM.png

Standardized Mortality Ratio หรือ SMR คืออัตราส่วนระหว่างอัตราการเสียชีวิตที่เกิดขึ้นจริงใน ICU โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เทียบกับค่าเฉลี่ยตามการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความรุนแรงของโรคในระดับเดียวกัน ค่าที่ต่ำกว่าหนึ่ง แสดงถึงอัตราการเสียชีวิตที่ต่ำและแสดงถึงประสิทธิภาพในการรักษา หากสูงกว่า 1 หมายถึงยังมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยและต้องการการพัฒนา

ค่าเฉลี่ย SMR ของ ICU โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์อยู่ที่ 0.39


การรักษาอาการเจ็บป่วยเฉียบพลันแบบไม่คาดคิดจำเป็นต้องอาศัย
  • การดูแลรักษาที่รวดเร็ว
  • ผู้ชำนาญการเฉพาะทางในการวิเคราะห์หาสาเหตุให้ทันท่วงที่
  • อุปกรณ์และเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงในการรักษา
  • พื้นที่ที่ออกแบบมาเฉพาะในการดูแลรักษาผู้ป่วยวิกฤตโดยเฉพาะ
 

สายด่วนศูนย์รับส่งต่อผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
โทร : 02 011 5599
 
  • เปิดให้บริการดูแลรักษาตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับผู้ป่วยหนักที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต หรือต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด
  • มีทีมแพทย์และผู้ชำนาญการในแต่ละสาขาเพื่อให้เกิดการดูแลและรักษาอย่างครอบคลุมและถูกต้อง ทันท่วงที ตามอาการที่แตกต่างกัน ได้แก่
    • ผู้ป่วยหนักเด็ก (Pediatric intensive care patients)
    • ผู้ป่วยระบบประสาทและสมอง (Neurology patients)
    • ผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ (Respiratory patients)
    • ผู้ป่วยระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal patients)
    • ผู้ป่วยติดเชื้อ (Infectious disease patients)
    • ผู้ป่วยโรคหัวใจ (Cardiovascular disease patients)
    • ผู้ป่วยโรคไต (Kidney disease patients)
    • ผู้ป่วยแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก (Burn patients)
 
  • เทคโนโลยี และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินได้ทันท่วงที่
_MG_0278-1200x800.png
  • ใช้การสื่อสารที่ชัดเจนด้วยระบบ Family Meeting เพื่อให้ญาติผู้ป่วยทราบถึงแผนการรักษาและความคืบหน้า
  • ประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน และความมุ่งมั่นสูงสุดของบุคลากรที่ถูกปลุกฝั่งให้ทำสิ่งที่ดีเพื่อผู้ป่วย
แผนกผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ให้การรักษาผู้ป่วยหนักเฉพาะทางซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้

MICU (Medical Intensive Care Unit): แผนกผู้ป่วยหนักอายุรกรรม มีความเชี่ยวชาญพิเศษในการดูแล        
      
  • ผู้ป่วยหนักโรคติดเชื้อในกระแสเลือดรุนแรง                             
  • ผู้ป่วยไตวาย               
  • ผู้ป่วยหนักทางระบบทางเดินอาหาร         
  • ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายตับ   
  • ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากไฟใหม้-น้ำร้อนลวก       
                                                     
SICU (Surgery Intensive Care Unit): แผนกผู้ป่วยหนักศัลยกรรม มีความเชี่ยวชาญพิเศษในการดูแล                  
  • ผู้ป่วยหนักหลังผ่าตัดอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ที่ต้องได้รับการดูแลและสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดหลังผ่าตัด
  • ผู้ป่วยหนักที่ประสบอุบัติเหตุ                     
  • ผู้ป่วยโคม่า                                                 

Neuro (Neuro Intensive Care Unit):  แผนกผู้ป่วยหนักระบบประสาท มีความเชี่ยวชาญพิเศษในการดูแล                         
  • ผู้ป่วยหนักทางระบบประสาทและสมอง โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก (Stroke)                         

PICU (Pediatric Intensive Care Unit): แผนกผู้ป่วยหนักเด็ก ที่มีอายุตั้งแต่ 1 เดือน ถึง 15 ปี มีความเชี่ยวชาญพิเศษในการดูแล                     
  • ผู้ป่วยหนักเด็กที่ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ และ/หรือจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ และสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เช่น โรคปอดอักเสบ ปอดติดเชื้อ RSV ไข้หวัดใหญ่                    
  • ผู้ป่วยหนักเด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคลมชัก สมองพิการแต่กำเนิด เนื้องอกในสมอง                       
  • ผู้ป่วยหนักเด็กโรคเลือด เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว                              

RICU (Respiratory Intensive Care Unit): แผนกผู้ป่วยหนักระบบทางเดินหายใจ มีความเชี่ยวชาญพิเศษในการดูแล                       
  • ผู้ป่วยหนักที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ เช่น ติดเชื้อรุนแรงทางปอด และ/หรือต้องใส่ท่อช่วยหายใจและต้องอยู่ในห้องป้องกันการติดเชื้อ ห้อง Negative และ Positive pressure                                  

CCU (Coronary Care Unit): แผนกผู้ป่วยหนักระบบหัวใจและหลอดเลือด มีความเชี่ยวชาญพิเศษในการดูแล                       
  • ผู้ป่วยหนักโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน (Heart attack)     ทั้งด้านอายุรกรรม/ศัลยกรรมเด็กและผู้ใหญ่ ภายใต้การบริหารของศูนย์หัวใจ

 จุดมุ่งหมายเดียวกันที่ทำให้เกิด Teamwork ในการรักษาผู้ป่วยหนักนั้นคือ การรักษาผู้ป่วยอย่างเต็มความสามารถของทีมแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทุกคนในแผนกผู้ป่วยหนักที่มีส่วนร่วมในการรักษา
 

  • คณะแพทย์ ประกอบด้วย
    • แพทย์ผู้ชำนาญด้านผู้ป่วยวิกฤติที่ผ่านหลักสูตรมาตรฐานผู้ป่วยวิกฤติและสำเร็จเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษเวชบำบัดวิกฤติจากสหรัฐอเมริกา โดยแพทย์ประจำแผนกผู้ป่วยหนักทั้ง 6 ท่านได้รับ American Board of Critical Care Medicine และเป็นแพทย์เต็มเวลาที่พร้อมให้บริการดูแลผู้ป่วยหนักทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
    • แพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทางในสาขาต่างๆ ที่จะร่วมวางแผนการรักษาร่วมกับแพทย์ผู้ชำนาญด้านผู้ป่วยวิกฤติ ซึ่งพร้อมให้ให้บริการดูแลผู้ป่วยหนักทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง อาทิ
      • แพทย์ผู้ชำนาญการผู้ป่วยวิกฤตเด็ก (Pediatric Intensivist) 3 ท่าน
      • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบประสาทและสมอง
      • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบทางเดินหายใจ
      • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบทางเดินอาหาร
      • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ
      • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ
      • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคไต
      • ศัลยแพทย์ด้านต่างๆ
 
  • พยาบาล ประกอบด้วยพยาบาลที่ได้รับการฝึกอบรมในการดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤติโดยตรง
    • พยาบาลผู้เชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤติ
    • พยาบาลผู้เชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ ซึ่งได้รับการอบรมในเรื่องการดูแลและบำบัดผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ เช่น การบำบัดด้วยออกซิเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
    • พยาบาลผู้เชี่ยวชาญในการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อการดูแลผู้ป่วย
    • พยาบาลที่ผ่านการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง
    • พยาบาลผู้เชี่ยวชาญทางระบบทางเดินหายใจ (respiratory care nurse)
 
  • บุคลากรทางการแพทย์อื่น
    • เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญโรคผู้ป่วยหนัก ซึ่งจะให้คำปรึกษาร่วมกับแพทย์เวชบำบัดวิกฤติในการดูแลการใช้ยา การปรับขนาดยา และป้องกันปัญหาและอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดจากการใช้ยา รวมทั้งปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างยา ในขณะเข้ารับการรักษาอยู่ในแผนกผู้ป่วยหนัก
    • นักกายภาพบำบัดเฉพาะทางหัวใจและปอด
    • นักกายภาพบำบัด
    • นักบำบัดปัญหาการพูด
    • นักโภชนาการ
    • ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลประคับประคองผู้ป่วย (Palliative care specialists)
    • พยาบาลผู้ประสานงานด้านคลินิคเฉพาะโรค เช่น ทางระบบประสาทและสมอง ทางระบบหัวใจ เป็นต้น
  • ดูแลรักษาผู้ป่วยวิกฤติในทุกระบบ แผนกผู้ป่วยหนักสามารถให้การดูแลและเฝ้าระวังการรักษาผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการทำหัตถการพิเศษ เช่น การใส่สายสวนเพื่อวัดความดันในเส้นเลือด การใส่สายสวนเพื่อใช้สำหรับฟอกไต ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิต เช่น เครื่องช่วยหายใจ เครื่องกระตุ้นหัวใจ เป็นต้น
 
ICU_1200X800.jpg
  • การรับย้ายผู้ป่วยหนักจากสถานพยาบาลอื่น แผนกผู้ป่วยหนักมีพร้อมในเรื่องการรับย้ายผู้ป่วยและสามารถทำให้ผู้ป่วยเชื่อมั่นได้ในถึงความปลอดภัย เพราะมี
    • แพทย์จบเฉพาะทางด้านการรับย้ายผู้ป่วยหนักโดยเฉพาะ ที่ทำงานประสานกับแพทย์เฉพาะทางตามภาวะโรคของผู้ป่วย เพื่อวางแผน เตรียมความพร้อมในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหนักรวมถึงความพร้อมของแพทย์และพยาบาลในการรอรับผู้ป่วยที่แผนก
    • อุปกรณ์ที่สามารถเคลื่อนย้ายไปกับคนไข้ได้ตลอดระยะเวลาในการรับคนไข้มาที่โรงพยาบาล เช่น เครื่องECMO ที่ไปกับเครื่องบินและรถพยาบาลได้, เครื่องช่วยหายใจที่ไปกับเครื่องบินและรถพยาบาลได้, เครื่องอัลตราซาวด์ไปกับรถพยาบาลได้, เครื่องช่วยปั้มหัวใจอัตโนมัติไปกับรถพยาบาลได้
27_MG_0584-1200x800.png
แผนกผู้ป่วยหนัก (ICU) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีความพร้อมด้านอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยและจำเป็นในการดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤติทุกชนิด อาทิ เครื่องเฝ้าติดตามการทำงานของสัญญาณชีพ เครื่องช่วยหายใจชนิดต่างๆ เครื่องล้างไตชนิดต่างๆ เครื่องฟอกออกซิเจนในเลือดแทนการทำงานของปอด (extracorporeal membrane oxygenation: ECMO) เป็นต้น
 
_MG_1484-1200x800.jpg

ECMO (Extracorporeal membrane oxygenation) หรือที่ในภาษาไทยเรียกว่า เครื่องช่วยพยุงการทำงานของหัวใจและปอด ซึ่งจะเข้ามาทำหน้าที่ทดแทนการทำงานของหัวใจและปอดที่ทำงานผิดปกติจนไม่สามารถประคับประคองด้วยยาได้ โดย ECMO จะทำหน้าที่ในการเติมออกซิเจนในเลือดและนำคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาและยังช่วยเรื่องระบบไหลเวียนเลือดให้ดีขึ้น

CRRT เครื่องบำบัดทดแทนไตสำหรับผู้ป่วยวิกฤตซึ่งมีภาวะไตวายเฉียบพลัน (acute kidney injury, AKI) โดยการขจัดของเหลวออกจากร่างกายอย่างช้า ๆ แม้ผู้ป่วยจะอยู่ในภาวะวิกฤตแต่ยังคงสามารถปรับสมดุลในร่างกายให้ทนต่อการบำบัดได้ จึงนับเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สำคัญยิ่งต่อการยื้อชีวิตผู้ป่วยวิกฤต

Nitric oxide ในการช่วยชีวิตผู้ป่วยวิกฤตที่มีภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (ARDS) Nitric oxide ช่วยในการแลกเปลี่ยนแก๊สในการหายใจ

Ventilator เครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถหายใจเองได้ จากสาเหตุต่าง ๆ เช่น หลังผ่าตัด หมดสติ มีภาวะการหายใจล้มเหลว ด้วยการใช้ท่อช่วยหายใจเพื่อส่งออกซิเจนไปให้ผู้ป่วย เป็นการช่วยประคับประคองให้ผู้ป่วยฟื้นตัวจนกว่าจะหายใจได้เอง

IABP เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจ ที่มีลูกโป่ง Balloon อยู่ที่ปลายสาย ใส่เข้าไปทางเส้นเลือดแดง มี sensor ส่งสัญญาณต่อเข้าเครื่อง computer ที่ควบคุมการทำให้ balloon โป่ง หรือ แฟบ ตามจังหวะการบีบตัวของหัวใจ ใช้ในผู้ป่วยวิกฤตที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด
 
ห้อง RICU และ PICU มีการออกแบบห้องโดยเน้นการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดสำหรับผู้ป่วยดังนี้
  • ห้องพักผู้ป่วยมีการเก็บซ่อนสายไฟและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ทำให้มีพื้นที่ในการรักษามากขึ้น แพทย์และพยาบาลสามารถเข้าถึงและให้การดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างสะดวกมากขึ้น
  • ห้องพักผู้ป่วยที่ป้องกันการติดเชื้อ โดยใช้ระบบแรงดันอากาศ

ICU_Positive-pressure-room.png

Positive Pressure เป็นห้องที่มีความดันภายในห้องสูงกว่าภายนอก เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศจากภายนอกปนเปื้อนเข้ามาสู่ห้องพักผู้ป่วย สำหรับการดูแลผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัด ผู้ป่วยที่ได้รับการเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก ผู้ป่วยที่มีเม็ดเลือดขาวต่ำ
 
ICU_Negative-pressure-room.png

Negative Pressure เป็นห้องที่มีความดันภายในห้องเป็นลบ เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อที่เกิดจากทางเดินหายใจชนิดติดต่อทางอากาศ (airborne) แพร่กระจายไปสู่ภายนอกห้อง
 
  • ห้องแยกแบบ ante-room โดยประตูทางเข้าออกจะไม่เปิดต่อเนื่องเพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของอากาศ
  • แสงสว่าง สามารถปรับความเข้มของแสงได้ตามเวลากลางวันและกลางคืน เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยสับสนเรื่องเวลา และสามารถนอนหลับพักผ่อนได้ในเวลากลางคืน
  • เครื่องศูนย์กลางติดตามการทำงานของหัวใจ (central monitor) เป็นระบบคอมพิวเตอร์ประจำเคาน์เตอร์พยาบาลส่วนกลางด้านนอก จะแสดงผลของสัญญาณชีพของผู้ป่วยหนักทุกห้อง เพื่อให้พยาบาลสามารถเฝ้าระวังอาการของผู้ป่วยหนักทุกรายได้อย่างทั่วถึงและสามารถให้การดูแลได้ทันทีหากมีความผิดปกติเกิดขึ้น
  • ฝ่ายเภสัชกรรม ซึ่งจะมีเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญโรคผู้ป่วยหนักอยู่ประจำ คอยให้คำปรึกษาร่วมกับแพทย์ในการดูแลการใช้ยา การปรับขนาดยา และป้องกันปัญหาและอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดจากการใช้ยา รวมทั้งปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างยา เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยสูงสุดจากการใช้ยา
  • Alpha-bed เป็นเตียงที่นอนลม สามารถป้องกันการเกิดแผลกดทับ
  • เตียงนอนผู้ป่วยเป็นระบบไฟฟ้า สามารถกดปรับระดับศีรษะและปรับเป็นเก้าอี้ได้ในตัว รวมถึงสามารถชั่งน้ำหนักผู้ป่วยได้โดยไม่ต้องลงจากเตียง
  • มีพื้นที่สำหรับครอบครัว(ICU with family area) จำนวน 4 ห้องซึ่งมีมุมพักผ่อนและห้องน้ำส่วนตัวสำหรับผู้ดูแลภายในห้องพักผู้ป่วย
12-_MG_9919-HDR-1200x800.jpg
 
  • ห้องพักผู้ป่วยมีพื้นที่กว้างขวาง เพื่อรองรับการบริบาลอย่างมีประสิทธิภาพ และลดความเสี่ยงของการติดเชื้อจากผู้ป่วยอื่น

ศ.นพ. ณัฐชัย ศรีสวัสดิ์

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์
อายุรศาสตร์ - ผู้ป่วยวิกฤต

ดูประวัติ

นพ. อานนท์ จาตกานนท์

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์
อายุรศาสตร์ - ผู้ป่วยวิกฤต
อายุรศาสตร์ - อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจ

ดูประวัติ

พญ. จรรย์กนก เกื้อกูลวงศ์

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์ - ผู้ป่วยวิกฤต
อายุรศาสตร์ - อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจ
อายุรศาสตร์ - เวชศาสตร์การนอนหลับ

ดูประวัติ

ผศ.นพ. โชค ลิ้มสุวัฒน์

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์ - ผู้ป่วยวิกฤต
อายุรศาสตร์ - อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจ

ดูประวัติ

นพ. เดช จงนรังสิน

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์
อายุรศาสตร์ - ผู้ป่วยวิกฤต

ดูประวัติ

นพ. กอสิน เที่ยงบูรณธรรม

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์ - ผู้ป่วยวิกฤต
อายุรศาสตร์ - เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ

ดูประวัติ

รศ.พญ. นฤชา จิรกาลวสาน

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์
อายุรศาสตร์ - ผู้ป่วยวิกฤต
อายุรศาสตร์ - อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจ
อายุรศาสตร์ - เวชศาสตร์การนอนหลับ

ดูประวัติ

นพ. นนท์ วัจนพรศาล

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์ - ผู้ป่วยวิกฤต

ดูประวัติ

นพ. ประธาน วาทีสาธกกิจ

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์ - ผู้ป่วยวิกฤต
อายุรศาสตร์ - อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจ

ดูประวัติ
    Scroll for more

Contact Information

  • แผนกผู้ป่วยหนัก (ICU)
    แผนกผู้ป่วยหนัก 1
    Tel: 02 011 2510
    แผนกผู้ป่วยหนัก 2
    Tel: 02 011 2520
    แผนกผู้ป่วยหนัก 3
    Tel: 02 011 2300
    แผนกผู้ป่วยหนัก 4
    Tel: 02 011 2400
    แผนกผู้ป่วยวิกฤติหัวใจ
    Tel: 02 011 2500
  • บริการพบแพทย์ผ่าน VDO call (Tele-Consultation) คลิก

Service Hours

  • แผนกผู้ป่วยหนัก (ICU)
    ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

Location

  • แผนกผู้ป่วยหนักอายุรกรรม (MICU : ICU 1)

    ชั้น 5 ด้านทิศใต้

  • แผนกผู้ป่วยหนักศัลยกรรม (SICU : ICU 2)

    ชั้น 5 ด้านทิศใต้

  • แผนกผู้ป่วยหนักระบบประสาท (Neuro ICU : ICU 2)

    ชั้น 5 ด้านทิศใต้

  • แผนกผู้ป่วยหนักเด็ก (PICU : ICU 4)

    ชั้น 4 ด้านทิศเหนือ

  • แผนกผู้ป่วยหนักระบบทางเดินหายใจ (RICU : ICU 4)

    ชั้น 4 ด้านทิศเหนือ

  • แผนกผู้ป่วยหนักระบบหัวใจและหลอดเลือด (CCU)

    ชั้น 5 ด้านทิศใต้

    อาคาร B

คะแนนโหวต 9.82 of 10, จากจำนวนคนโหวต 109 คน

Related Health Blogs