bih.button.backtotop.text

โรคลมชัก

โรคลมชัก เกิดจากการทำงานของสมองผิดปกติทำให้มีการส่งสัญญาณประสาทผิดปกติเกิดขึ้นทันทีและกระจายออกไปตามสมองส่วนอื่นๆ จึงเกิดอาการนอกเหนือการควบคุม อาการจะเกิดขึ้นเป็นๆ หายๆ ในระยะเวลาไม่นาน มักเกิดขึ้นทันทีและหยุดเอง อาการมักเกิดซ้ำขึ้นเรื่อยๆ อุบัติการณ์โรคลมชักในประเทศไทยมีประมาณ 1% หรือคิดเป็นจำนวนประชากรประมาณ 700,000 คนในผู้ป่วยคนไทยที่ป่วยเป็นโรคลมชักลมชัก เกิดจากการทำงานของสมองผิดปกติทำให้มีการส่งสัญญาณประสาทผิดปกติเกิดขึ้นทันทีและกระจายออกไปตามสมองส่วนอื่นๆ จึงเกิดอาการนอกเหนือการควบคุม อาการจะเกิดขึ้นเป็นๆ หายๆ ในระยะเวลาไม่นาน มักเกิดขึ้นทันทีและหยุดเอง อาการมักเกิดซ้ำขึ้นเรื่อยๆ อุบัติการณ์โรคลมชักในประเทศไทยมีประมาณ 1% หรือคิดเป็นจำนวนประชากรประมาณ 700,000 คนในผู้ป่วยคนไทยที่ป่วยเป็นโรคลมชัก

อาการของลมชัก
อาการชักที่มักพบได้บ่อยจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่
  1. ชักทั้งตัว (Generalized seizures) เกิดจากการส่งสัญญาณคลื่นไฟฟ้าจากส่วนลึกของสมองผิดปกติกระจายไปทั่วสมอง ไม่พบความผิดปกติที่เห็นได้ในเนื้อสมอง เชื่อว่าพันธุกรรมมีส่วนเกี่ยวข้อง อาการที่เกิดขึ้นมีหลากหลายรูปแบบตามประเภทของการชัก เช่น เกร็ง กระตุก เหม่อลอย สูญเสียการตึงตัวของกล้ามเนื้อทันทีและล้มลงโดยไม่มีการเกร็งกระตุก ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการเกร็งกระตุกหมดสติทันทีทันใด กล้ามเนื้อลำตัวและแขนขาเกร็ง หยุดหายใจชั่วขณะ หน้าเขียว กัดลิ้น ปัสสาวะราด และหลับไป เมื่อตื่นรู้ตัวจะมีอาการปวดเมื่อยตามตัว เพลีย ปวดศีรษะ บางรายยังไม่ตื่นก็เกิดอาการชักซ้ำ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีอายุน้อยในบางรายจะแสดงอาการเหม่อลอยเป็นพักๆ ไม่มีอาการเกร็งกระตุกหรือหมดสติ ซึ่งเป็นอาการชักอีกรูปแบบแบบหนึ่งและมีอาการไม่กี่วินาที
  2. ชักเฉพาะที่ (Partial seizures/Focal seizures) เกิดจากจุดกำเนิดสัญญาณคลื่นไฟฟ้าที่ผิดปกติเฉพาะบริเวณจํากัด จากเนื้อสมองไม่ใช่แกนสมอง อาการชักที่เกิดจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับตำแหน่งของสัญญาณคลื่นไฟฟ้าที่ผิดปกติบนผิวสมอง เช่น
  • กระตุกใบหน้า มุมปาก แขนหรือขา
  • ชาหรือรู้สึกเหมือนถูกเข็มตำที่แขนขาเป็นพักๆ  
  • เห็นแสงสว่างหรือเห็นเป็นรูปร่าง เห็นภาพหลอน
  • ได้กลิ่นแปลก รสแปลกๆ หูแว่วได้ยินเสียง
  • อาการทางระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น ปวดท้อง ใจสั่น ใจหวิว เหงื่อออก
ทั้งนี้มีผู้ป่วยบางรายที่เริ่มชักเฉพาะที่ก่อนแล้วการชักแพร่กระจายกลายเป็นชักทั้งตัว
 
อาการที่คล้ายลมชัก ได้แก่
  1. เป็นลมหรือหมดสติ
  2. อาการนำของอัมพฤกษ์
  3. อาการน้ำตาลในเลือดต่ำ
ภาวะหรือโรคอะไรก็ตามที่ทำให้เกิดพยาธิสภาพขึ้นที่สมองโดยตรงหรือโดยทางอ้อมสามารถทำให้เกิดลมชักได้ สาเหตุที่พบนั้นแตกต่างกันไปตามอายุ เช่น
  1. วัยแรกเกิด เกิดจากบาดเจ็บจากการคลอด
  2. วัยเด็ก เกิดจากไข้สูง การอักเสบของสมองและเยื่อบุสมอง
  3. วัยหนุ่มสาวและวัยกลางคน เกิดจากกรรมพันธุ์ อุบัติเหตุ พยาธิในสมอง หลอดเลือดผิดปกติ
  4. วัยสูงอายุ เกิดจากหลอดเลือดในสมองตีบ อุดตัน เนื้องอกในสมอง
อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยส่วนหนึ่งที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยพิเศษทุกอย่าง แต่ไม่สามารถหาสาเหตุการเกิดอาการได้
 
เมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์ แพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกายเพื่อ
  1. ยืนยันว่าเป็นลมชัก
  2. หาสาเหตุ
การสืบค้นเพิ่มเติมกระทำตามการซักประวัติและตรวจร่างกายว่าจะบ่งชี้ไปทางโรคใด โดยทั่วไปแพทย์จะทำการตรวจเลือด ตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง และผู้ป่วยบางรายอาจต้องตรวจวินิจฉัยด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆ จากการซักประวัติและตรวจร่างกาย

มีผู้ป่วยโรคลมชักประมาณร้อยละ 20-40 ที่พบว่าผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองปกติทั้งๆ ที่เป็นโรคจริง และมีผู้ป่วยจำนวนมากที่ไม่พบความผิดปกติจากการตรวจวินิจฉัยด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้พิจารณาว่าเมื่อใดควรทำการตรวจวินิจฉัยตามความเหมาะสม
 
  1. รักษาสาเหตุ เช่น
  • พบพยาธิในสมอง รักษาด้วยการใช้ยาฆ่าพยาธิ
  • พบเนื้องอกในสมองหรือหลอดเลือดผิดปกติ รักษาโดยการผ่าตัด
  1. รักษาการชัก แพทย์จะให้ยารับประทานตามประเภทของการชักและกำหนดระยะเวลาการรับประทานยากันชัก ผู้ป่วยบางรายอาจต้องรับประทานยาป้องกันชักไปตลอดชีวิต
  1. ควรรับประทานยากันชัก รักษาติดต่อกันนาน 3-5 ปี
  2. หลีกเลี่ยงภาวะหรือการกระทำที่ทำให้มีโอกาสเกิดอาการชักเพิ่มขึ้น ได้แก่ อดนอน ดื่มสุรา ทำงานหรือออกกำลังกายจนเหนื่อยมากเกินไป ขาดยา
  3. หลีกเลี่ยงกิจกรรมหรืองานบางอย่างที่มีอันตรายสูง ได้แก่ ขับรถ ว่ายน้ำ การทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกลใหญ่ๆ ขึ้นที่สูง งานปีนป่าย เช่น ช่างไฟ ก่อสร้าง
  4. สามารถดำเนินชีวิตประจำวันเหมือนคนธรรมดาทั่วไปได้ ออกกำลังกายให้พอเหมาะและสม่ำเสมอ บำรุงร่างกายให้แข็งแรงและสร้างจิตใจให้เข้มแข็ง
  5. ไปพบแพทย์สม่ำเสมอตามนัดเพื่อตรวจติดตามสาเหตุของอาการชักและตรวจอาการข้างเคียงที่อาจเกิดจากยากันชัก
ลมชักไม่ทำให้สมองเสื่อมแต่จะมีอาการความจำเลอะเลือนชั่วคราวหลังชักใหม่ๆ ได้ในผู้ป่วยบางราย อย่างไรก็ตามผู้ป่วยมีโอกาสที่จะหายได้ถ้ารับประทานยาสม่ำเสมอและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
 

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์โรคระบบประสาท

ดูเพิ่มเติม

แผนกผู้ป่วยหนัก (ICU)

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 10.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 1 คน

Related Health Blogs