bih.button.backtotop.text

ภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง

หลอดเลือดแดงใหญ่ (aorta) เป็นท่อนำเลือดแดงจากหัวใจไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย โดยเริ่มต้นจากบริเวณขั้วหัวใจขึ้นไปยังยอดอกแล้วทอดโค้งไปด้านหลัง เคียงข้างกระดูกสันหลังในช่องอก ผ่านไปยังช่องท้อง ก่อนจะแยกเป็นแขนงหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงขา 2 ข้างและอวัยวะในอุ้งเชิงกราน หลอดเลือดแดงใหญ่เปรียบเสมือนท่อประปาหลักที่ให้แขนงหล่อเลี้ยงอวัยวะสำคัญต่างๆ เช่น หัวใจ สมอง ประสาทไขสันหลัง แขน ขา และอวัยวะในช่องท้อง ได้แก่ ตับ ไต ลำไส้ เป็นต้น ดังนั้นหากมีพยาธิสภาพหรือความผิดปกติเกิดขึ้นกับหลอดเลือดแดงใหญ่ย่อมส่งผลกระทบต่ออวัยวะส่วนต่างๆ ได้ หรือหากหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองปริแตกจะทำให้เสียชีวิตได้

ผนังหลอดเลือดแดงในช่องท้องโป่งพอง คือ การโป่งพองออกหรือขยายใหญ่ออกของผนังหลอดเลือดแดงเอออร์ตาในช่องท้อง ส่วนใหญ่เกิดจากภาวะที่ผนังของหลอดเลือดแดงมีความแข็งมากกว่าปกติ เนื่องจากเกิดการบาดเจ็บของเซลล์บุผนังชั้นในของหลอดเลือด (atherosclerosis) หลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ที่เกิด atherosclerosis ระดับปานกลางหรือรุนแรงจะสูญเสียความแข็งแรงของผนังของหลอดเลือดจนทำให้เกิดการโป่งพอง (aneurysm)

สาเหตุของการเกิด
  • การเสื่อมสภาพและการขาดเป็นท่อนของเส้นใยยืดหยุ่นที่อยู่ในผนังชั้นกลางของหลอดเลือดแดง พบได้ในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
  • การติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราที่ผนังหลอดเลือดแดง เช่น โรคซิฟิลิส
  • มีการอักเสบของหลอดเลือดแดงจากโรคภูมิคุ้มกันต้านตนเอง (autoimmune diseases)
  • การสูบบุหรี่
  • กรรมพันธุ์ มีประวัติในครอบครัว
  • ก้อนในท้องที่สามารถคลำได้และมีการเต้นตามจังหวะชีพจร
  • ปวดท้อง (persistent abdominal pain)
  • ปวดหลัง (persistent back pain)
การผ่าตัดใหญ่แบบเปิดหน้าท้อง (open surgery) ถือเป็นเป็นวิธีมาตรฐานของการรักษา ใช้เวลาผ่าตัดนาน 2-4 ชั่วโมง ผู้ป่วยต้องดมยาสลบ จากนั้นแพทย์จะทำการผ่าช่องท้องหรือด้านข้างผ่านชั้นผิวหนังและเนื้อเยื่อเพื่อเปิดเข้าไปยังเส้นเลือดแดงเอออร์ตา ณ จุดที่โป่งพอง เข้าไปตัดส่วนของหลอดเลือดที่เป็นพยาธิสภาพออกแล้วเย็บต่อหลอดเลือดเทียม (vascular graft) ซึ่งเป็นท่อยาวทำมาจากวัสดุสังเคราะห์เข้าไปแทน หลอดเลือดเทียมนี้จะใส่ไว้ถาวรและมีอายุใช้งานยาวนาน

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ฉุกเฉิน

ดูเพิ่มเติม

แผนกผู้ป่วยหนัก (ICU)

ดูเพิ่มเติม

สถาบันโรคหัวใจ (Heart Institute)

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 2 คน

Related Health Blogs