ติดเชื้อในกระแสเลือด เกิดขึ้นจากสาเหตุใด
คุณเคยสงสัยไหม ว่า “ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด” หรือภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (Sepsis) นั้น มีสาเหตุจากอะไร ติดเชื้อได้อย่างไร หากติดเชื้อแล้วมีวิธีสังเกตอาการอย่างไรเพื่อให้รักษาทันท่วงที รวมถึงการป้องกันอย่างไรไม่ให้ติดเชื้อในกระแสเลือดได้ คำตอบอยู่ด้านล่างนี้แล้วคะ
ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด คือ การติดเชื้อที่เกิดขึ้นที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งในร่างกาย แล้วทำให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการติดเชื้อหรือต่อพิษของเชื้อโรค ทำให้เกิดการอักเสบขึ้นในอวัยวะภายในของร่างกาย หากมีความรุนแรงมากขึ้นอาจพัฒนาไปสู่ภาวะช็อกและทำให้การทำงานของอวัยวะภายในร่างกายต่างๆ ล้มเหลว ซึ่งมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
สาเหตุ
- การติดเชื้อแบคทีเรียเป็นสาเหตุหลักของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) นอกจากนั้นอาจเกิดจากการติดเชื้อรา ไวรัส หรือพยาธิก็ได้ โดยการติดเชื้ออาจเกิดขึ่นที่ตำแหน่งใดก็ได้ในร่างกาย
- การติดเชื้อที่พบบ่อยว่าเป็นต้นเหตุของภาวะพิษจากการติดเชื้อ ได้แก่
- นอกจากนี้ การรักษาผู้ป่วยโดยการสอดใส่เครื่องมือเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย เช่น การสวนทวาร การสวนสายปัสสาวะ และการใช้สายสวนหลอดเลือด ก็เป็นสาเหตุที่พบบ่อย เนื่องจากอุปกรณ์ในการทำหัตถการเหล่านี้ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายกว่าปกติ
ใครบ้างที่เป็นกลุ่มเสี่ยง
โดยกลุ่มเสี่ยงของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดหรือภาวะพิษเหตุติดเชื้อ(Sepsis) จะเริ่มต้นจากการติดเชื้อที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งของร่างกายก่อน ผู้ที่มีความเสี่ยง คือ ผู้ที่มีแนวโน้มติดเชื้อได้ง่าย และเมื่อติดเชื้อแล้วเชื้อนั้นสามารถลุกลามได้เร็ว เช่น
- ผู้ป่วยสูงอายุ เนื่องจากมีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ
- ผู้ป่วยเด็ก เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่
- ผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- ผู้ป่วยที่มีโรคร่วมหลายโรค หรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคไตวายเรื้อรัง โรคตับ โรคปอดเรื้อรัง
อาการ
ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือดสามารถแบ่งอาการออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
- อาการเฉพาะที่หรือเฉพาะอวัยวะที่ติดเชื้อ เช่น เมื่อเป็นปอดอักเสบติดเชื้อจะมีอาการไอและเจ็บหน้าอก เมื่อมีการติดเชื้อที่ไตจะมีอาการปวดหลังและปัสสาวะบ่อย เป็นต้น
- อาการที่เกิดจากการที่ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการติดเชื้อ หรือเป็นกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย เช่น มีไข้ขึ้นสูงร่วมกับหนาวสั่น มีชีพจรเต้นเร็ว มีอาการซึมสับสน (พบมากในผู้สูงอายุ) ร่วมกับมีหายใจเร็วเกิน 20 ครั้งต่อนาที
อาการที่ควรมาพบแพทย์ทันที
- หากมีอาการไข้สูง หนาวสั่น หรือมีอาการซึม
- หายใจเร็วผิดปกติ หรือพบความผิดปกติที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ให้รีบมาพบแพทย์ทันที
มีการศึกษาว่า
“การได้รับการรักษาที่รวดเร็ว จะเพิ่มโอกาสของการหายจากภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดมากขึ้น”
การรักษา
แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อโรคที่สงสัยก่อน และจะนำเลือดไปเพาะเชื้อเพื่อทราบเชื้อที่ก่อให้เกิดโรค จากนั้นปรับยาปฏิชีวนะให้เฉพาะเจาะจงกับเชื้อโรค โดยผู้ป่วยต้องนอนพักรักษาในโรงพยาบาลเพื่อให้สารน้ำให้เพียงพอและติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
ผู้ป่วยที่มีอาการหนัก เช่น มีภาวะช็อค หรือมีไข้สูง ต้องได้รับการรักษาในแผนกผู้ป่วยวิกฤตหรือไอซียู เนื่องจากอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้
การป้องกัน
- รักษาโรคประจำตัวให้ดี เช่น ถ้าเป็นโรคเบาหวานต้องควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ จะช่วยเสริมให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรง
- รักษาสุขอนามัยกินร้อนช้อนกลาง ล้างมือบ่อยๆ
- ฉีดวัคซีนตามคำแนะนำ ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
- หากมีอาการไข้สูง หนาวสั่น หรือมีอาการซึม หายใจเร็วผิดปกติ หรือพบความผิดปกติที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ให้รีบมาพบแพทย์ทันที
เรียบเรียงโดย แผนกผู้ป่วยหนัก (ICU)
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โทร 1378 หรือ โทร 02 011 5599
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
- แผนกผู้ป่วยหนัก (ICU)
แผนกผู้ป่วยหนัก 1
Tel: 02 011 2510
แผนกผู้ป่วยหนัก 2
Tel: 02 011 2520
แผนกผู้ป่วยหนัก 3
Tel: 02 011 2300
แผนกผู้ป่วยหนัก 4
Tel: 02 011 2400
แผนกผู้ป่วยวิกฤติหัวใจ
Tel: 02 011 2500