รู้จักกับโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส
โรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า
Streptococcus pneumoniae (S. pneumoniae) ซึ่งสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณหูชั้นกลาง (หูชั้นกลางอักเสบ) การติดเชื้อบริเวณไซนัส (ไซนัสอักเสบ) รวมถึงการติดเชื้อในบริเวณอื่นๆ เช่น การติดเชื้อบริเวณปอด (ปอดอักเสบ) การติดเชื้อในกระแสเลือด และการติดเชื้อบริเวณสมอง (เยื่อหุ้มสมองอักเสบ) ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะวิกฤตหรือเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ดี เราสามารถป้องกันการติดเชื้อนิวโมคอคคัสได้ด้วยการฉีดวัคซีน
โรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสมีอาการอย่างไร
ปกติแล้วอาการและความรุนแรงของโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสจะขึ้นกับบริเวณที่เกิดการติดเชื้อ ซึ่งอาการที่พบ ได้แก่
- หูชั้นกลางอักเสบ: ปวดหู สูญเสียการได้ยิน มีไข้
- ไซนัสอักเสบ: ปวดบริเวณใบหน้า คัดแน่นจมูก ปวดศีรษะ มีน้ำมูกสีเขียว-เหลือง
- ปอดอักเสบ: มีไข้ ไอ เจ็บบริเวณหน้าอก หายใจลำบาก
- การติดเชื้อในกระแสเลือด: มีไข้ ปวดเมื่อย เจ็บกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ
- การติดเชื้อบริเวณสมองและไขสันหลัง: มีไข้สูง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน คอแข็ง และอยู่ในภาวะวิกฤต
ใครบ้างที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อนิวโมคอคคัส
- ผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
- ผู้ใหญ่ในทุกช่วงอายุที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อนิวโมคอคคัส ซึ่งได้แก่
- ผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง
- ผู้ป่วยโรคหัวใจเรื้อรัง โรคปอดเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง หรือโรคตับเรื้อรัง
- ผู้ที่ผ่านการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
- ผู้ป่วยที่มีการรั่วของน้ำไขสันหลัง
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- ผู้ป่วยเอชไอวี ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยที่ผ่านการปลูกถ่ายอวัยวะ หรือผู้ป่วยที่มีภาวะอื่นๆ ที่มีผลทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาที่มีผลกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย
- ผู้ป่วยกลุ่มโรคไตเนฟโฟรติก
- ผู้ป่วยโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sickle cell disease) ผู้ป่วยที่ม้ามทำงานบกพร่อง หรือไม่มีม้าม
- ผู้ที่สูบบุหรี่
เราสามารถป้องกันการติดเชื้อนิวโมคอคคัสได้อย่างไร
โรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสสามารถป้องกันได้จากการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ และการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส
วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสในประเทศไทย
วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสที่มีจำหน่ายในประเทศไทยขณะนี้มีด้วยกัน 2 ชนิด ซึ่งครอบคลุมสายพันธุ์ที่แตกต่างกัน
- Pneumococcal conjugate vaccine (PCV13) ครอบคลุม 13 สายพันธุ์ ที่เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดรุนแรงในเด็ก และครึ่งหนึ่งของสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดรุนแรงในผู้ใหญ่
- Pneumococcal polysaccharide vaccine (PPSV23) ครอบคลุม 23 สายพันธุ์ ที่มักก่อให้เกิดโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดรุนแรง
ไม่ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสทั้ง 2 ชนิด ในวันเดียวกัน หากแพทย์พิจารณาแล้วว่าท่านควรฉีดวัคซีน PCV13 แนะนำให้ฉีดวัคซีนชนิดนี้ก่อนฉีดวัคซีน PPSV23
เราต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสจำนวนกี่เข็ม
คำแนะนำในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสสำหรับผู้ใหญ่สามารถแบ่งออกตามช่วงอายุได้เป็น 2 กลุ่ม
- กลุ่มที่ 1: อายุ 19-64 ปี (ดังแสดงในตารางที่ 1)
- กลุ่มที่ 2: อายุตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไป (ดังแสดงในตารางที่ 2)
ตารางที่ 1: อายุ 19-64 ปี |
โรคประจำตัวหรือ
ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อนิวโมคอคคัส |
PCV13 |
PPSV23 |
แนะนำให้ฉีด
(เข็มที่ 1) |
เข็มกระตุ้น
(เข็มที่ 2)
|
ไม่มีโรคประจำตัวและปัจจัยเสี่ยง |
🗙 |
🗙 |
🗙 |
ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้
- โรคพิษสุราเรื้อรัง
- โรคหัวใจเรื้อรัง
- โรคปอดเรื้อรัง
- โรคตับเรื้อรัง
- โรคเบาหวาน
- สูบบุหรี่
|
✔* |
✔
หลังจากฉีด PCV13 อย่างน้อย 1 ปี |
🗙 |
ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้
- ผ่านการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
- มีการรั่วของน้ำไขสันหลัง
|
✔ |
✔
หลังจากฉีด PCV13 อย่างน้อย 8 สัปดาห์ |
ผู้ป่วยกลุ่มภูมิคุ้มกันบกพร่องที่มีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้
- โรคไตเรื้อรัง
- ไม่มีม้าม หรือม้ามทำงานบกพร่อง
- ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องตั้งแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง
- โรคมะเร็งทั่วไป
- ติดเชื้อเอชไอวี
- มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน
- ภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน
- มะเร็งเม็ดเลือดขาว
- มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมัยอิโลมาหรือเอ็มเอ็ม
- กลุ่มโรคไตเนฟโฟรติก
- โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว หรือเฮโมโกลบินผิดปกติ
- มีการปลูกถ่ายอวัยวะ
|
✔ |
✔
หลังจากฉีด PCV13 อย่างน้อย 8 สัปดาห์ |
✔
หลังจากฉีด PPSV23 ครั้งแรก อย่างน้อย 5 ปี |
🗙: ไม่แนะนำ, ✔: แนะนำให้ฉีด , * ภายใต้การพิจารณาของแพทย์
ตารางที่ 2: อายุตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไป |
โรคประจำตัวหรือ
ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อนิวโมคอคคัส |
PCV13 |
PPSV23 |
ไม่มีโรคประจำตัวและปัจจัยเสี่ยง |
✔ |
✔
หลังจากฉีด PCV13 อย่างน้อย 1 ปี
|
ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้
- โรคพิษสุราเรื้อรัง
- โรคหัวใจเรื้อรัง
- โรคปอดเรื้อรัง
- โรคตับเรื้อรัง
- โรคเบาหวาน
- สูบบุหรี่
|
✔
หากไม่เคยฉีด PCV 13 มาก่อน |
✔
หลังจากฉีด PCV13 อย่างน้อย 1 ปี และห่างจากการฉีด PPSV23 ครั้งสุดท้าย (ตอนอายุ < 65 ปี) อย่างน้อย 5 ปี |
ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้
- ผ่านการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
- มีการรั่วของน้ำไขสันหลัง
|
✔
หลังจากฉีด PCV13 อย่างน้อย 8 สัปดาห์ และห่างจากการฉีด PPSV23 ครั้งสุดท้าย (ตอนอายุ < 65 ปี) อย่างน้อย 5 ปี |
ผู้ป่วยกลุ่มภูมิคุ้มกันบกพร่องที่มีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้
- โรคไตเรื้อรัง
- ไม่มีม้าม หรือม้ามทำงานบกพร่อง
- ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องตั้งแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง
- โรคมะเร็งทั่วไป
- ติดเชื้อเอชไอวี
- มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน
- ภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน
- มะเร็งเม็ดเลือดขาว
- มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมัยอิโลมาหรือเอ็มเอ็ม
- กลุ่มโรคไตเนฟโฟรติก
- โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว หรือเฮโมโกลบินผิดปกติ
- มีการปลูกถ่ายอวัยวะ
|
✔
หากไม่เคยฉีด PCV 13 มาก่อน
|
✔
หลังจากฉีด PCV13 อย่างน้อย 8 สัปดาห์ และห่างจากการฉีด PPSV23 ครั้งสุดท้าย (ตอนอายุ < 65 ปี) อย่างน้อย 5 ปี
|
✔: แนะนำให้ฉีด
มีโอกาสเกิดอาการข้างเคียงอะไรบ้างหลังจากฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส
อาการข้างเคียงส่วนมากมักไม่รุนแรง ได้แก่ อาการแดง บวม ปวดหรือตึงในบริเวณที่ฉีด ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอ่อนเพลีย มีไข้ ปวดศีรษะ และมีอาการปวดกล้ามเนื้อ หากเกิดอาการเหล่านี้สามารถหายได้เองภายใน 2-3 วัน
การฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสในช่วงการระบาดของโรคโควิด 19
การติดเชื้อโควิด 19 ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลง จึงมีโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ส่งผลให้การติดเชื้อรุนแรงมากยิ่งขึ้นจนอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ มีรายงานจำนวนมากที่ระบุว่าการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคโควิด 19 มักเป็นการติดเชื้อนิวโมคอคคัส ดังนั้น การฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรครุนแรงช่วงการระบาดของโรคโควิด 19
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: