bih.button.backtotop.text

การใส่บอลลูนปั๊มหัวใจ

การใส่บอลลูนปั๊มหัวใจ (Intra-Aortic Balloon Pump: IABP) เป็นเครื่องพยุงการทํางานของหัวใจในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว โดยการใส่บอลลูนในหลอดเลือดแดงใหญ่เพื่อช่วยลดการทํางานของหัวใจห้องล่างซ้ายโดยรอให้กล้ามเนื้อที่ขาดเลือดฟื้นตัวขึ้นมาใหม่ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยการทำงานของหัวใจห้องล่างซ้าย (left ventricle) ที่มีปัญหาการบีบตัว ช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ทำให้มีปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจน

ขอบข่ายของการใส่บอลลูน
  1. ผู้ป่วยลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วอย่างรุนแรง
  2. ผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวรุนแรง
  3. ผู้ป่วยที่ผ่าตัดแล้วไม่สามารถหย่าเครื่องปอดและหัวใจเทียมได้
  4. ผู้ป่วยมีภาวะช็อกจากหัวใจ
  5. ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  6. ผู้ป่วยหลังทำหัตถการเกี่ยวกับเส้นเลือดหัวใจ เช่น percutaneous transluminal coronary angioplasty, Rotablator procedures, coronary stent placement ที่มีความเสี่ยงสูง
  7. ผู้ที่จำเป็นต้องใช้เพื่อลดการทำงานของหัวใจห้องล่างซ้าย ในการทำผ่าตัดอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงสูง
  1. ผู้ป่วยลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่วอย่างรุนแรง
  2. ผู้ป่วยที่มีการโป่งพองของหลอดเลือดแดงและมีการเซาะไปตามผนังชั้นในหลอดเลือด (dissecting aortic aneurysm)
  3. ผู้ป่วยที่มีการอุดตันของหลอดเลือดแดงใหญ่บริเวณขาหนีบ (aortoiliac occlusive disease)
  4. ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด
  5. ผู้ป่วยสมองตาย
  6. ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
  7. ผู้ป่วยโรคหัวใจที่ไม่สามารถรักษาด้วยการเปลี่ยนหัวใจได้
สามารถใส่บอลลูนปั๊มหัวใจได้ในกรณีดังต่อไปนี้ หากมีการจัดการที่เหมาะสม
  1. ผู้ที่ทำกราฟในส่วนของหลอดเลือดแดงใหญ่ของหัวใจ
  2. ผู้ที่มีหลอดเลือดโป่งที่หลอดเลือดแดงใหญ่
  3. ผู้ที่ทำการผ่าตัดเปลี่ยนหลอดเลือดแดงใหญ่บริเวณขาหนีบ (aortofemeral grafts)
  1. จับชีพจรไม่ได้ชั่วคราว (transient loss of peripheral pulse)
  2. บริเวณปลายแขนขาใต้ตำแหน่งที่ใส่สายบอลลูนปั๊มหัวใจขาดเลือด (limb ischemia)
  3. หลอดเลือดอุดตัน
  4. หลอดเลือดเอออร์ตาเสียหาย
  5. เกิดการบาดเจ็บต่อหลอดเลือด มีการโป่ง คั่งของเลือดใต้ผิวหนัง
  6. เกิดการติดเชื้อ
  7. เกิดการแตกของบอลลูน
  8. เกล็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดแดงแตก
  9. มีภาวะผิดปกติของระบบอื่นๆ เช่น สมอง ไต เนื่องมาจากภาวะหัวใจบีบรัด (cardiac tamponade)
ความสำเร็จขึ้นกับปัจจัยหลายประการ หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์
 
หากไม่ทำหัตถการนี้จะเกิดอะไรขึ้น
ควรปรึกษาแพทย์ถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นหากไม่ทำการรักษา
แพทย์อาจใช้เป็นเครื่องช่วยการสูบฉีดเลือดของหัวใจด้านซ้าย (left ventricular assist device: LVAD) ซึ่งเครื่องนี้ทำหน้าที่แทนหัวใจห้องล่างซ้าย (left ventricle) โดยแพทย์จะผ่าตัดใส่สายรับเลือด (inflow cannula) เพื่อรับเลือดจากหัวใจห้องซ้ายบน (left atrium) เข้ามาผ่านปั๊ม แล้วปั๊มจะส่งเลือดผ่านทางสายส่งออก (outflow cannula) เพื่อส่งเลือดไปยังเส้นเลือดแดงใหญ่เอออร์ตา (ascending aorta) เพื่อนำเลือดไปเลี้ยงร่างกาย

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

แผนกผู้ป่วยหนัก (ICU)

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 10.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 1 คน

Related Health Blogs