bih.button.backtotop.text

ภาวะเครียด

.

สาเหตุของความเครียด

ความเครียดเกิดขึ้นได้จาก 2 ปัจจัยใหญ่ๆ นั่นคือ

  • ปัจจัยภายนอก เช่น เรื่องงาน การหย่าร้าง ความขัดแย้งในความสัมพันธ์ การย้ายบ้าน เป็นต้น
  • ปัจจัยภายใน โดยที่บางคนมีนิสัยคิดมาก ชอบวิตกกังวลในเรื่องเล็กน้อย หรือสารเคมีในสมองไม่สมดุลทำให้เกิดอารมณ์เครียดและเศร้าง่าย

เกิดได้ทั้งจากกรรมพันธุ์ที่ทำให้ระบบประสาทเกิดความเครียดง่ายหรือพ่อแม่มีนิสัยเครียด กังวลง่าย ลูกก็เรียนรู้นิสัยจากพ่อแม่ รวมถึงคนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เครียด เช่น ทำงานที่กดดัน มีปัญหาในครอบครัว

อายุที่เสี่ยงต่อการเกิดความเครียดได้ง่าย คือช่วงที่เป็นรอยต่อ จากเด็กไปสู่วัยรุ่น เพราะมีการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน มีการปรับตัวในสังคม และในช่วงของวัยใกล้หมดประจำเดือน (menopause) ของผู้หญิง รวมถึงผู้ชายวัยทองที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเช่นกัน ถึงแม้อาการน้อยกว่าผู้หญิง แต่ก็ทำให้มีอารมณ์หงุดหงิด วิตกกังวลและโกรธง่ายเช่นกัน

ความเครียดสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้

  • Acute stress คือ ความเครียดที่เกิดขึ้นทันทีจากความกดดันในสถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจง เช่น เส้นตายในการทำงาน การเผชิญหน้ากับความท้าทายหรือเหตุการณ์ที่ทำให้สะเทือนใจ เมื่อความเครียดหายไป ร่างกายก็จะกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม
  • Episodic acute stress คือ เกิดจากการประสบกับความเครียดที่เกิดขึ้นทันทีหลายครั้งติดต่อกัน เช่น เริ่มจากมีปัญหาสุขภาพ หลังจากนั้นตกงาน ตามมาด้วยการหย่าร้าง เป็นต้น หรือบางคนชอบเครียดและวิตกกังวลจนรีบเร่งและใจร้อนในทุกเรื่อง ทำให้เกิดความเครียดบ่อยๆ
  • Chronic stress คือ ความวิตกกังวลและความกดดันที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนเหมือนไม่มีวันสิ้นสุดจนสะสมเป็นความเครียดเรื้อรัง ความเครียดเช่นนี้มีผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต

นอกจากความรู้สึกที่บ่งบอกว่าเครียดแล้ว เมื่อรู้สึกเครียดมากยังทำให้เกิดอาการอื่นๆได้ เช่น

หากคุณรู้สึกว่าคุณเครียดและวิตกกังวลเกินกว่าเหตุ ควบคุมความรู้สึกเหล่านี้ไม่ได้หรือมีความเครียดต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานจนไม่มีความสุข และมีอาการที่มีผลกระทบด้านลบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น นอนไม่หลับอย่างต่อเนื่อง มีอาการทางกายต่างๆที่มาจากความเครียด
แพทย์จะวินิจฉัยด้วยการพูดคุย สอบถามอาการเพื่อให้เข้าใจถึงพฤติกรรมและสถานการณ์ที่เป็นสาเหตุของความเครียด และช่วยคุณปรับความคิดและพฤติกรรมเพื่อให้คุณเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น

มีวิธีการมากมายที่ช่วยลดความเครียดและจัดการกับความเครียด นอกจากปฎิบัติตามหลักสุขศึกษา คือ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังและนอนหลับให้เพียงพอแล้ว ยังมีวิธีการอื่นๆเช่น

  • ทำกิจกรรมที่ทำให้คุณรู้สึกสนุกเพลิดเพลินและผ่อนคลาย
  • ระบายอารมณ์ออกมาบ้าง เช่น พูดคุยถึงความรู้สึกกับเพื่อนหรือคนใกล้ชิด
  • ฝึกการผ่อนคลาย เช่น การฝึกหายใจ การทำสมาธิ การฝึกจินตภาพเพื่อเอาชนะความเครียด ความวิตกกังวล
  • เปลี่ยนแปลงทัศนคติ เช่น มองความท้าทายว่าเป็นโอกาสในการเรียนรู้และเติบโต หรือใช้หลักการทางศาสนาเข้าช่วยเพื่อให้มีสติและมีความสงบสุขในจิตใจ

การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์สุขภาพจิต

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.42 of 10, จากจำนวนคนโหวต 48 คน

Related Health Blogs