bih.button.backtotop.text

ปวดศีรษะไมเกรน

อาการปวดศีรษะธรรมดาเกิดจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อรอบศีรษะและคอ เช่น ปวดศีรษะจากความเครียด แต่ถ้าปวดศีรษะบ่อยและนานมักจะมีสาเหตุมาจากระบบประสาทที่อยู่ลึกลงไป ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักบอกได้แค่เพียงอาการปวดศีรษะ ดังนั้นหากมีอาการปวดศีรษะที่ผิดปกติควรเข้ารับการตรวจรักษาก่อนที่อาการจะกำเริบมากขึ้น

ปวดศีรษะไมเกรนคืออะไร
สำหรับอาการปวดศีรษะไมเกรนต่างจากอาการปวดศีรษะธรรมดา โดยมีสาเหตุจากหลอดเลือดในสมองขยายตัวและเกี่ยวข้องกับสารเคมีในสมองด้วย

ไมเกรนส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในคนทุกวัย ในคนที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรน ควรพบแพทย์เพื่อให้ได้รับยาบรรเทาปวดที่ถูกต้องและเหมาะสมกับอาการ และสำหรับคนที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรนเป็นประจำ แพทย์จะพิจารณายาป้องกันที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

โดยมีลักษณะการปวดแบบตุบๆ เป็นจังหวะ มักจะเกิดข้างเดียวของศีรษะ แต่ก็สามารถเป็นทั้งสองข้างได้ โดยอาการปวดในช่วงแรกมักมีความรุนแรงเพียงเล็กน้อย และจะค่อยๆ เพิ่มความรุนแรงขึ้น ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนแรง และไวต่อแสง เสียง หรือกลิ่นมากขึ้น
 
ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าการปวดศีรษะไมเกรนเกิดจากอะไร แต่ปัจจัยที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการปวดศีรษะไมเกรนมีหลายประการ ได้แก่
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในผู้หญิง
  • ความเครียด
  • สภาพแวดล้อม เช่น แสงจ้าหรือแสงแฟลช เสียงดัง กลิ่นที่รุนแรง หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศแบบฉับพลัน
  • การใช้ยาบางชนิด
  • การนอนหลับไม่เพียงพอ หรือมากเกินไป
  • ออกกำลังกายอย่างหักโหม หรือทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายมากเกินไป
  • การสูบบุหรี่
  • อาการถอนคาเฟอีน
  • การอดอาหาร หรือการรับประทานอาหารไม่เพียงพอ
สามารถแบ่งได้เป็น 4 ระยะ ได้ดังต่อไปนี้
  1. ระยะก่อนมีอาการ (Prodrome) : 24 ชม. ก่อนปวดศีรษะ จะมีอาการอยากอาหาร อารมณ์เปลี่ยนแปลง ควบคุมการหาวไม่ได้ บวมน้ำหรือปัสสาวะบ่อย เป็นต้น
  2. ระยะอาการนำ : 20 – 40 นาทีก่อนหรือระหว่างปวดศีรษะ จะเห็นแสงแฟลช แสงสว่างจ้า หรือเส้นเป็นซิกแซก และอาการอ่อนแรง เป็นต้น
  3. ระยะปวดศีรษะ : กินเวลา 4 -24 ชม. อาการปวดหัวจะค่อยๆ เพิ่มความรุนแรงมากขึ้น
  4. ระยะหลังมีอาการ : อาจจะมีอาการอยู่ได้เป็นวัน รู้สึกหมดแรง อ่อนแรง สับสน
ปัจจุบันการปวดศีรษะไมเกรนยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การรักษาจึงเน้นไปที่การบรรเทาอาการและป้องกันการปวดศีรษะไมเกรน
  • การใช้ยาบรรเทาอาการปวดศีรษะไมเกรน การรับประทานยาทันทีเมื่อมีอาการปวดศีรษะไมเกรน จะช่วยให้ผลของยาในการบรรเทาอาการปวดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
    • ยาบรรเทาปวด สำหรับการปวดแบบไม่รุนแรง
    • ยาบรรเทาปวด สำหรับการปวดที่รุนแรงมากขึ้น (จำเพาะเจาะจงกับการปวดศีรษะไมเกรน)
    • ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • การใช้ยาป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรน
    • กลุ่มยาลดความดัน
    • กลุ่มยาต้านอาการซึมเศร้า
    • กลุ่มยากันชัก
    • กลุ่มยา Calcitonin gene-related peptide (CGRP) monoclonal antibodies
  • ทำกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลาย
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการปวดศีรษะไมเกรน
  • นอนพักในที่มืดและเงียบสงบ
  • ประคบเย็นบริเวณศีรษะ
  • ปรับพฤติกรรมการนอน และการรับประทานอาหาร
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์โรคระบบประสาท

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.31 of 10, จากจำนวนคนโหวต 49 คน

Related Health Blogs