bih.button.backtotop.text

โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ

โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบคืออะไร
ลิ้นหัวใจเอออร์ติกเป็นลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายกับหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตา (aorta) มีหน้าที่ในการป้องกันการย้อนกลับของเส้นเลือดเข้ามายังหัวใจ หากจะทำการเปรียบเทียบ ลิ้นหัวใจเอออร์ติกก็เหมือนกับวาล์วน้ำที่อยู่ระหว่างปั๊มน้ำกับท่อเมนที่ส่งน้ำกระจายออกไปยังจุดต่างๆ เมื่อวาล์วเกิดปัญหาไม่เปิดหรือเปิดได้เพียงเล็กน้อย ก็ทำให้น้ำไหลออกไม่สะดวกและเกิดคั่งค้างอยู่ภายใน เช่นเดียวกัน เมื่อลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ เลือดก็สูบฉีดออกไม่ได้ เกิดการคั่งในหัวใจ ส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวและเสียชีวิตเฉียบพลันตามมาได้
 
มีสาเหตุจากความเสื่อมตามธรรมชาติของร่างกาย เมื่ออายุมากขึ้นก็มีโอกาสที่จะมีหินปูนเกาะสะสมที่ลิ้นหัวใจจนลิ้นหัวใจหนาขึ้นและเปิดได้น้อยลง โรคนี้จึงพบได้มากในผู้สูงอายุ และมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคนทั้งชายและหญิง
  1. เหนื่อยแม้เป็นการทำกิจกรรมทั่วไปในชีวิตประจำวัน
  2. อาจเป็นลมหมดสติ
  3. แน่นหน้าอกเหมือนน้ำท่วมปอด นอนราบไม่ได้
  1. ซักประวัติผู้ป่วย
  2. ตรวจร่างกายทั่วไป
  3. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
  4. ตรวจหัวใจโดยเฉพาะ
  5. ตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (echocardiogram หรือ echo) เพื่อประเมินระดับการตีบแคบของลิ้นหัวใจ ซึ่งลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบแบ่งระดับความรุนแรงได้ 3 ระดับ คือ
  • ระดับที่ 1 - ตีบเพียงเล็กน้อย
  • ระดับที่ 2 - ตีบปานกลาง โดยทั้ง 2 ระดับนี้อาจยังไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
  • และระดับที่ 3 - ตีบรุนแรง คือ ลิ้นหัวใจแทบไม่เปิดเลย ซึ่งแพทย์จะพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจใหม่
สามารถทำได้ 2 วิธี คือ

1. การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบโดยการผ่าตัดเปิดหน้าอกเพื่อตัดลิ้นหัวใจเก่าออกและเย็บลิ้นหัวใจเทียมเข้าไปแทนที่

 ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีมาตรฐานในการรักษาที่ให้ผลดีมาก แต่วิธีนี้เป็นการผ่าตัดใหญ่ที่ต้องดมยาสลบ มีการใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม และต้องใช้เวลาในการผ่าตัดนาน 3-4 ชั่วโมง ทำให้ผู้ป่วยบางรายอาจไม่สามารถใช้วิธีนี้ในการรักษาได้ เช่น ผู้ป่วยที่มีอายุมาก ผู้ที่เคยได้รับการผ่าตัดในช่องอกมาก่อน และผู้ที่มีโรคประจำตัวหลายโรค เป็นต้น

2. การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด (TranscatheterAortic Valve Implantation หรือ TAVI)

เป็นการใส่ลิ้นหัวใจเทียมผ่านสายสาวเข้าไปทางหลอดเลือดแดงใหญ่บริเวณขาหนีบ หรือเจาะผ่านผิวหนังส่วนยอดหัวใจ เมื่อสายสวนไปถึงตำแหน่งของลิ้นหัวใจเอออร์ติก แพทย์จะทำการปล่อยลิ้นหัวใจที่ม้วนพันอยู่ออกจากระบบนำส่ง (Delivery system) เพื่อให้กางออกกลายเป็นลิ้นหัวใจใหม่แทนของเดิมที่เสื่อมสภาพ
 
เป็นวิธีที่ลดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งวิธีนี้ใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมงเศษ และผู้ป่วยจะมีแผลเล็กๆ บริเวณที่เจาะผ่านเท่านั้น ทำให้ฟื้นตัวได้เร็ว ใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 5-7 วันก็สามารถกลับบ้านได้
 

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ลิ้นหัวใจ บำรุงราษฎร์

ดูเพิ่มเติม

สถาบันโรคหัวใจ (Heart Institute)

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 10.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 8 คน

Related Health Blogs