bih.button.backtotop.text

ความดันโลหิตต่ำ

ความดันโลหิตต่ำ คือ ภาวะที่ความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งความดันโลหิตต่ำอาจต่ำเพียงความดันซิสโตลิกหรือไดแอสโตลิกตัวใดตัวหนึ่ง หรือต่ำทั้งสองตัวก็ได้ ซึ่งโดยทั่วไปแพทย์ไม่จัดความดันโลหิตต่ำเป็นโรค แต่จัดเป็นภาวะ

ภาวะความดันโลหิตต่ำพบเกิดได้ทั้งสองเพศใกล้เคียงกัน และพบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กอ่อนไปจนถึงผู้สูงอายุ ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุ

ประเภทของความดันโลหิตต่ำ
  1. ความดันโลหิตต่ำจากการลุกขึ้นยืนหรือเปลี่ยนอิริยาบถกะทันหัน (ความดันโลหิตต่ำกะทันหันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงท่าทาง) คือ ความดันโลหิตที่ลดลงทันทีเมื่อยืนขึ้นจากท่านั่งหรือหลังการนอนหลับ อาการแสดงประมาณ 5-10 นาทีหลังการเปลี่ยนอิริยาบถ นำไปสู่อาการวิงเวียนศีรษะ ตาพร่ามัว และเป็นลม
  2. ความดันโลหิตต่ำหลังรับประทานอาหาร ความดันโลหิตลดลงอย่างฉับพลันหลังรับประทานอาหารส่วนใหญ่จะมีผลกระทบต่อผู้สูงอายุ การรับประทานอาหารมากเกินไปทำให้เลือดไหลไปยังระบบทางเดินอาหารในปริมาณมากกว่าปกติ ในบางรายอาจมีอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืดและเป็นลมได้
  3. ความดันโลหิตต่ำจากความผิดปกติของสมอง ความผิดปกตินี้เป็นสาเหตุให้ความดันโลหิตต่ำลงหลังจากยืนเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่จะเกิดในเด็กและผู้ใหญ่ เป็นผลมาจากความผิดพลาดระหว่างหัวใจและสมอง
  4. ความดันโลหิตต่ำเนื่องจากความเสียหายของระบบประสาท เป็นโรคที่พบได้น้อย อาการของโรคทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งจะควบคุมการทำงานของระบบที่ควบคุมไม่ได้ เช่น ความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ การหายใจ และการย่อยอาหาร ซึ่งทำให้มีความดันโลหิตสูงมากในขณะที่นอนและต่ำมากเมื่อลุกขึ้นยืน

ความดันโลหิตต่ำเกิดได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่พฤติกรรมการใช้ชีวิต การรับประทานยา ไปจนถึงเป็นผลพวงมาจากความผิดปกติของปัญหาสุขภาพอื่นๆ ซึ่งสาเหตุของภาวะความดันโลหิตต่ำที่พบได้บ่อยอาจมาจาก

  • สาเหตุส่วนใหญ่ของภาวะความดันโลหิตต่ำ คือ ภาวะขาดสารอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีน วิตามินซี วิตามินบี ทำให้เนื้อเยื่อรอบๆ ผนังหลอดเลือดแดงไม่แข็งแรงและคลายตัวมากเกินไป
  • การสูญเสียโลหิตแบบกะทันหัน เช่นอุบัติเหตุ หรือการสูญเสียโลหิตแบบเรื้อรัง เช่น บาดแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้ หรือที่ไต
  • การสูญเสียน้ำ เช่น เหงื่อ ท้องเสีย
  • การติดเชื้อรุนแรง
  • โรคหัวใจ
  • การตั้งครรภ์
  • ภาวะซึมเศร้า
  • วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม ทรงตัวไม่อยู่
  • มองเห็นภาพไม่ชัด
  • ใจสั่น ใจเต้นแรง
  • อาการมึนงง สับสน
  • คลื่นไส้
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • หายใจตื้นและถี่
  • กระหายน้ำ
  • ตัวเย็น ผิวซีด หนาวสั่น

โดยปกติแพทย์จะสอบถามประวัติทางการแพทย์ อาการผิดปกติที่เกิดขึ้น การตรวจร่างกายทั่วไป จากนั้นจะมีการตรวจวัดความดันโลหิตของผู้ป่วยว่าอยู่ในระดับปกติหรือไม่ และตรวจหาภาวะช็อก ซึ่งเป็นภาวะที่ค่อนข้างอันตราย

  • การตรวจเลือด (blood tests) ขั้นตอนการตรวจใช้เวลาไม่นานและไม่ซับซ้อน ผู้ป่วยสามารถนอนหรือนั่งเพื่อเก็บตัวอย่างเลือดไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งทำให้ทราบข้อมูลหลายส่วนในเลือด รวมไปถึงโรคโลหิตจางหรือระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ
  • การตรวจระบบประสาทอัตโนมัติหัวใจด้วยเตียงปรับระดับ (tilt table test) แพทย์จะให้ผู้ป่วยนอนลงบนโต๊ะตรวจเฉพาะที่ออกแบบให้สามารถปรับระดับความลาดเอียงได้ เพื่อตรวจดูค่าความดันโลหิตของผู้ป่วยในขณะที่เปลี่ยนแปลงท่าทาง
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram: EKG) การทดสอบสัญญาณไฟฟ้าของหัวใจในแต่ละจังหวะการเต้นของหัวใจว่ามีความสม่ำเสมอหรือผิดปกติไป
  • การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง (Holter and event monitors) เป็นการบันทึกการทำงานของหัวใจตลอดระยะเวลา 24 ชั่วโมงด้วยเครื่องบันทึกการทำงานของหัวใจขนาดเล็กและพกพาได้ง่าย จึงทำให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมอื่นๆ ได้เป็นปกติ ทำให้ตรวจพบความผิดปกติได้ง่าย
  • การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (stress test) เป็นการตรวจดูการทำงานของหัวใจขณะออกกำลังกาย เนื่องจากความผิดปกติของหัวใจบางอย่างสามารถตรวจพบได้ง่ายเมื่อหัวใจทำงานหนักและมีการสูบฉีดมากขึ้น ซึ่งโดนกระตุ้นจากการออกกำลังกาย
  • การตรวจระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system) เป็นการตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงจังหวะการเต้นของหัวใจในขณะทำกิจกรรมบางอย่าง เพื่อวัดค่าความดันโลหิตที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ในขณะผู้ป่วยหายใจเข้าลึกๆ หรือจุ่มมือลงในน้ำเย็นจัด
  • การตรวจปัสสาวะใน 24 ชั่วโมง (24-hour urine test) แพทย์จะให้ผู้ป่วยเก็บปัสสาวะตลอดในช่วงระยะเวลา 24 ชั่วโมงลงในบรรจุภัณฑ์ที่เตรียมไว้ให้ก่อนนำกลับมาส่งคืนให้แพทย์ เพื่อนำไปตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ในระหว่างนี้ควรเก็บปัสสาวะไว้ในที่เย็น

จุดประสงค์ของการรักษาเป็นการมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมความดันโลหิตให้กลับมาสู่ภาวะปกติและบรรเทาอาการอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำระดับไม่รุนแรงและมีสุขภาพแข็งแรงสามารถควบคุมภาวะความดันโลหิตต่ำได้ด้วยการปฏิบัติตนตามคำแนะนำทั่วไป ดังนี้

  • การให้น้ำเกลือ (intravenous fluids) ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำจากภาวะการขาดน้ำและเกลือแร่ สูญเสียเลือด หรือเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด อาจได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำเพื่อช่วยเพิ่มความดันโลหิตให้สูงขึ้น
  • รักษาต้นเหตุของภาวะความดันโลหิตต่ำ หากแพทย์สงสัยว่าภาวะความดันโลหิตต่ำมาจากความผิดปกติหรือโรคประจำตัว ผู้ป่วยอาจต้องมีการตรวจด้านอื่นเพิ่มเติมและการรักษาเฉพาะโรคนั้นๆ เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำจากฮอร์โมนผิดปกติ อาจต้องได้รับการตรวจจากผู้เชี่ยวชาญด้านฮอร์โมนโดยเฉพาะและรักษาด้วยการให้ฮอร์โมนทดแทน
  • การรักษาด้วยยา หากการรักษาด้วยการปรับพฤติกรรมตามคำแนะนำและการให้สารน้ำทางเส้นเลือดไม่สามารถบรรเทาอาการ แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยว่าควรใช้ยาในกลุ่มใดที่เหมาะกับผู้ป่วยตามสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยยาหลายกลุ่ม เช่น แอลฟาอะดรีเนอร์จิกรีเซพเตอร์อะโกนิสต์ (alpha adrenergic receptor agonists) ช่วยเพิ่มความดันโลหิตและลดอาการจากภาวะความดันโลหิตต่ำ สเตียรอยด์ (steroid) ช่วยป้องกันการสูญเสียเกลือแร่ในร่างกาย เพิ่มปริมาณของเหลวและความดันโลหิตให้สูงขึ้น ยาเพิ่มความดันโลหิต (vasopressors)
  • พักผ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากความเหน็ดเหนื่อย การนอนหลับไม่เพียงพอทำให้ความดันโลหิตต่ำลง ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการตรากตรำทำงานเกินควร หลีกเลี่ยงการนอนดึก และเวลานอนหลับไม่ควรนอนหนุนหมอนที่ต่ำเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการยืนนานๆ หรือการเปลี่ยนอิริยาบถอย่างรวดเร็วเกินไป
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยให้ระบบประสาทเกิดความสมดุล หลอดเลือดหัวใจแข็งแรง และช่วยรักษาความดันโลหิตต่ำให้ดีขึ้น
  • รับประทานอาหารที่มีคุณค่าให้ครบทั้ง 5 หมู่ เพราะหากผู้ที่มีแนวโน้มเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะทำให้ความดันโลหิตยิ่งต่ำลงไปอีก
  • ความดันโลหิตต่ำ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ส่งผลให้ความดันโลหิตลดต่ำลงไปอีก
ภาวะความดันโลหิตต่ำอาจนำไปสู่อุบัติเหตุเล็กน้อยจนถึงปัญหาทางการแพทย์ที่ร้ายแรง ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุบางอย่างได้ง่าย เช่น การหกล้มเนื่องจากอาการวิงเวียนศีรษะ อ่อนแรง และเป็นลม ภาวะความดันโลหิตต่ำที่รุนแรงอาจทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนจนทำให้หัวใจ สมอง หรืออวัยวะต่างๆ เกิดความเสียหาย และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้หากได้รับการรักษาไม่ทัน
 

ภาวะความดันโลหิตต่ำแต่ละชนิดมีสาเหตุการเกิดที่แตกต่างกัน การป้องกันอาจไม่สามารถทำได้เต็มที่ แต่สามารถช่วยลดความเสี่ยงด้วยการการปฏิบัติตนตามคำแนะนำ ดังนี้

  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอในแต่ละวัน เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ เกลือแร่ และเพิ่มปริมาณเลือดให้สูงขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากขึ้น
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสารอาหารครบถ้วน เน้นอาหารประเภทผัก ผลไม้ ธัญพืช เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
  • การลุกหรือนั่งไม่ควรเปลี่ยนท่าทางอย่างรวดเร็วมากเกินไป
  • ตรวจความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละมื้อ โดยแบ่งรับประทานเป็นมื้อย่อยๆ หลายมื้อ และควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น มันฝรั่ง ข้าว พาสต้า และขนมปัง ในปริมาณมาก เพื่อป้องกันความดันโลหิตลดต่ำลงอย่างรวดเร็วหลังรับประทานอาหาร

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

สถาบันโรคหัวใจ (Heart Institute)

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 2.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 10 คน

Related Health Blogs