You're been inactive for a while. For security reason, we'll automatically sign you out from our website. Please Click "Login" to extend your session
ตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วย ผลการตรวจ กำหนดการนัด และอื่นๆ
ยังไม่มีบัญชี? Create Account
ติดตามข่าวสารล่าสุด และ นัดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกได้ทันที
มีบัญชีอยู่แล้ว? Log In
โรคหลอดเลือดหัวใจ
ค้นหาแพทย์
ติดต่อสอบถาม
นัดหมายแพทย์
โรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery disease) หมายถึง โรคที่เกิดจากหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ (coronary artery) ตีบหรือตัน
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
การป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจที่ดีที่สุดคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ดังนี้
กลุ่มอายุ
พลังงานที่ต้องการต่อวัน (กิโลแคลอรี)
เด็กอายุ 6-13 ปี
หญิงวัยทำงานอายุ 25-60 ปี
ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
1,600
วัยรุ่นหญิง-ชาย อายุ 14- 25 ปี
ชายวัยทำงานอายุ 25- 60 ปี
2,000
หญิง-ชายที่ต้องการใช้พลังงานมาก เช่น เกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน นักกีฬา
2,400
ทั้งนี้ควรรับประทานอาหารที่มีไขมันและแคลอรีต่ำ หลีกเลี่ยงไขมันจากสัตว์ ไขมันอิ่มตัวและไขมันไม่อิ่มตัวชนิดทรานส์ ลดเครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาล เน้นการบริโภคผักและผลไม้หลากสีให้มากขึ้น โดยองค์การอนามัยโลกแนะนำให้บริโภคผักและผลไม้ในปริมาณไม่ต่ำกว่า 600 กรัมต่อวัน หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเค็มจัด (ปริมาณเกลือโซเดียมที่ควรได้รับไม่ควรเกินวันละ 2,400 มิลลิกรัม นั่นคือเกลือแกงไม่เกิน 1 ช้อนชา หรือน้ำปลา ซีอิ๊ว ซอสถั่วเหลืองไม่เกิน 1½-2 ช้อนโต๊ะ) อาหารขยะ อาหารจานด่วน และอาหารสำเร็จรูป
การรักษาที่เกี่ยวข้อง
แพทย์ที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง
โทรเพื่อทำการนัดหมาย
โรคเส้นเลือดหัวใจตีบเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยปกติเลือดจะสามารถไหลผ่านเส้นเลือดได้อย่างราบรื่นเหมือนน้ำไหลผ่านท่อประปา แต่เมื่อใช้งานเป็นเวลานาน เส้นเลือดหัวใจจะเสื่อมสภาพจากการสะสมของไขมันและหินปูนในผนังเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดตีบและแข็งตัว ถ้าตีบแคบมากจะขวางการไหลของเลือดที่ไปสู่กล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอต่อความต้องการของหัวใจ ส่งผลให้เกิดอาการหัวใจวายได้ การรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบแคบทำได้หลายวิธีและการผ่าตัดบายพาสเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ในการรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบที่มีประสิทธิภาพ การผ่าตัดนี้เหมาะกับใคร มีความเสี่ยงไหม ทำไมต้องผ่าตัด หาคำตอบได้ที่นี่
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นโรคที่มีอันตรายถึงชีวิต โดยเฉพาะถ้าหากปล่อยทิ้งไว้หรือรู้ตัวช้า ทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมตามเวลา เพราะอาการบางอย่างของโรคนี้มีความคล้ายคลึงกับโรคอื่น ประสบการณ์ความชำนาญของแพทย์จึงเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญ โดยแพทย์จะซักประวัติอย่างละเอียดเพื่อวินิจฉัยแยกโรค ร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม ในการรักษาแพทย์จะเลือกวิธีการรักษาโดยพิจารณาตามลักษณะการตีบ กายภาพของการตีบของเส้นเลือดหัวใจว่าตีบทั้งหมดกี่เส้นและปัจจัยที่สำคัญอื่นๆ จะมีวิธีการรักษาอย่างไรบ้างหาคำตอบได้ที่นี่
โรคเส้นเลือดหัวใจตีบเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยปกติเลือดจะสามารถไหลผ่านเส้นเลือดได้อย่างราบรื่นเหมือนน้ำไหลผ่านท่อประปา แต่เมื่อใช้งานเป็นเวลานาน เส้นเลือดหัวใจจะเสื่อมสภาพจากการสะสมของไขมันและหินปูนในผนังเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดตีบและแข็งตัว ถ้าตีบแคบมากจะขวางการไหลของเลือดที่ไปสู่กล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอต่อความต้องการของหัวใจ ส่งผลให้เกิดอาการหัวใจวายได้ การรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบแคบทำได้หลายวิธีและการผ่าตัดบายพาสเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ในการรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ แล้วการผ่าตัดบายพาสคืออะไร เมื่อไรที่ต้องรักษาด้วยวิธีนี้ ผ่าตัดแล้วต้องใช้เวลาพักฟื้นนานแค่ไหน บทความนี้มีคำตอบติดตามได้เลย