bih.button.backtotop.text

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (pacemaker implantation) เป็นหัตถการเพื่อฝังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้าไปในผนังหน้าอกใต้ผิวหนังของผู้ป่วยเพื่อกระตุ้นจังหวะการเต้นของหัวใจ โดยทั่วไปเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจจะช่วยแก้ไขจังหวะการเต้นของหัวใจที่เต้นช้ากว่าที่ควรโดยส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังหัวใจห้องที่ทำงานผิดปกติ สัญญาณไฟฟ้าจะช่วยให้หัวใจเต้นเร็วพอที่จะสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายและอวัยวะส่วนอื่นๆ ได้มากเพียงพอ เนื่องจากหัวใจที่เต้นด้วยจังหวะที่ช้ากว่าปกติจะไม่สามารถสูบฉีดโลหิตเป็นปริมาณมากเพียงพอสำหรับเลี้ยงอวัยวะส่วนอื่นได้ทั้งร่างกาย เป็นผลให้ผู้ป่วยรู้สึกอ่อนเพลียไม่มีแรง หากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอจะทำให้วิงเวียนและมึนศีรษะจนหมดสติได้

วิธีการใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจทำได้ 2 วิธี ซึ่งแพทย์จะพิจารณาจากอายุ สุขภาพ และรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย

  • การฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจแบบใส่สายสื่อสัญญาณที่เยื่อบุหัวใจ (endocardial lead placement)
  • การฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจแบบติดสายสื่อสัญญาณที่เยื่อบุหัวใจ (epicardial lead placement)
  • แบตเตอรี
  • ตัวส่งสัญญาณไปกระตุ้นหัวใจ
  • สายสื่อสัญญาณไฟฟ้า
เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจทำงานโดยตัวส่งสัญญาณจะส่งสัญญาณไฟฟ้าไปปรับให้หัวใจเต้นในจังหวะที่เร็วขึ้น ส่วนสายสื่อสัญญาณไฟฟ้าเป็นตัวรับและส่งสัญญาณระหว่างเครื่องกับหัวใจห้องต่างๆ
  • งดอาหารและเครื่องดื่ม 8 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการรักษา
  • ปรึกษาแพทย์ว่าจำเป็นต้องงดยาชนิดใดหรือไม่
  • การฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจแบบใส่สายสื่อสัญญาณที่เยื่อบุหัวใจ แพทย์จะใส่สายสื่อสัญญาณไฟฟ้าซึ่งเป็นสายไฟที่มีฉนวนหุ้มเข้าไปยังหัวใจผู้ป่วยผ่านทางหลอดเลือดดำ เมื่อสายสื่อสัญญาณเข้าไปถึงหัวใจแล้ว แพทย์จะวางปลายอีกด้านหนึ่งของสายสื่อบนกล้ามเนื้อหัวใจโดยอาศัยภาพจากเอกซเรย์ช่วยให้วางตำแหน่งที่ถูกต้อง หลังจากนั้นแพทย์จะฝังเครื่องส่งสัญญาณไว้ใต้ผิวหนังบริเวณหน้าอกของผู้ป่วยใต้กระดูกไหปลาร้าด้านซ้ายหรือขวาตามความเหมาะสม แล้วทำการต่อเครื่องส่งสัญญาณและสายสื่อเข้าด้วยกัน ระหว่างที่ทำผู้ป่วยอาจรู้สึกว่ามีแรงกดเล็กน้อยระหว่างที่แพทย์ใส่สายสื่อสัญญาณและตัวเครื่องส่งสัญญาณเข้าไปในร่างกาย เมื่อใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะตรวจสอบภาพเอกซเรย์หัวใจเพื่อดูให้มั่นใจว่าเครื่องและสายสื่ออยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
  • การฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจแบบติดสายสื่อสัญญาณที่เยื่อบุหัวใจ วิธีนี้แพทย์จะวางยาสลบผู้ป่วยแล้วผ่าเปิดช่องอกเพื่อติดสายสื่อสัญญาณที่เยื่อหุ้มหัวใจโดยตรง และใส่เครื่องส่งสัญญาณไว้ใต้ผิวหนังบริเวณหน้าท้องหรืออาจฝังไว้ที่หน้าอกก็ได้ แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้วิธีนี้
  • มีเลือดออกหรือมีก้อนเลือดที่เกิดจากการมีเลือดออกและคั่งอยู่ใต้ผิวหนัง หรือติดเชื้อบริเวณที่ใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ
  • มีอาการแพ้ยาที่ได้รับระหว่างการใส่เครื่อง
  • หลอดเลือดได้รับความเสียหาย
  • สายสื่อสัญญาณไฟฟ้าหลุดเลื่อนจากตำแหน่งเดิม
  • เนื้อปอดหรือหัวใจเกิดรูรั่ว
  • เกิดลิ่มเลือดอุดตันทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดในสมองตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือภาวะอื่นซึ่งพบได้น้อยมาก
  • เสียชีวิต (โอกาสเกิดน้อยมาก)
  • เมื่อใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจเข้าไปในร่างกายเรียบร้อยแล้ว ผู้ป่วยต้องพักในหออภิบาลผู้ป่วยเพื่อเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด
  • ผู้ป่วยต้องพักอยู่ที่โรงพยาบาล 1-2 วันเพื่อให้แพทย์ดูแลว่าเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจทำงานเรียบร้อยดีและหัวใจผู้ป่วยเต้นถูกจังหวะ
  • ไม่ควรยกแขนด้านเดียวกับที่ใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจขึ้นสูงเหนือไหล่
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ใช้แรงมาก
  • ห้ามยกของหนักเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน
  • พบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามผลการรักษาตามระยะ โดยแพทย์จะตรวจสอบการทำงานของเครื่องว่าเป็นปกติหรือไม่ โดยปกติแบตเตอรีของเครื่องสามารถให้พลังงานได้ถึง 10 ปี

ภายหลังจากใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจแล้ว หากมีอาการต่อไปนี้ควรปรึกษาแพทย์

  • มีเลือดออก บวม หรือปวดบริเวณที่ใส่เครื่อง
  • มีไข้
  • เจ็บหน้าอก
  • หายใจติดขัด

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

สถาบันโรคหัวใจ (Heart Institute)

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.94 of 10, จากจำนวนคนโหวต 66 คน

บทความที่เกี่ยวข้อง