bih.button.backtotop.text

สถาบันโรคหัวใจ (Heart Institute)

Heart-Institute-TH-(2).png Coronary-artery-disease-TH-(2).png Cardiac-arrhythmia-TH-(2).png Cardiomyopathy-TH-(3).png
Structural-heart-TH-(3).png Cardiogenetic-TH-(3).png Congenital-heart-disease-TH-(2).png Preventive-cardiolog-TH-(3).png
 

ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สุงอายุ (Aging society) อย่างเต็มตัวในปี พ..2565 การเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุทำให้ปัญหาด้านสุขภาพของผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย วัยที่สูงมากขึ้นทำให้ร่างกายเสื่อมถอย ส่งผลให้เกิดโรคต่างๆได้ง่าย โดยเฉพาะกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Noncommunicable Diseases; NCDs) เช่น โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวานและโรคอ้วน  ซึ่งจะมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุ (More NCDs prevalence)

โรคเรื้อรังเหล่านี้ ทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติเหมือนเดิม ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากผู้อื่น ทั้งๆที่ผู้สูงอายุทุกคนย่อมอยากพึ่งพาตัวเองได้และมีความสุขกับการใช้ชีวิต เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพชีวิต (Quality of Life) ที่ดีอย่างยาวนาน สถาบันโรคหัวใจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จึงไม่เคยหยุดยั้งในการพัฒนาวิธีการป้องกันและรักษาโรค เพื่อส่งมอบการบริบาลทางการแพทย์ในขั้นตติยภูมิที่ให้ผลลัพธ์และประสบการณ์การรักษาเชิงบวก
 
จากข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขของไทยในปี 2561 พบว่าคนไทยมีอัตราการตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นและจะยิ่งมีความซับซ้อนมากขึ้นในอนาคต เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัยที่มีภาวะหัวใจเสื่อมลง

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้ตระหนักถึงความสำคัญในความต้องการการดูแลรักษาโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือดที่เพิ่มมากขึ้นและมีความซับซ้อนมากขึ้น ประกอบกับความพยายามของเราในการยกระดับคุณภาพการรักษาและการบริการอยู่ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ป่วยทุกรายได้เข้าถึงการรักษาที่ปลอดภัยและมีคุณภาพได้มาตรฐานระดับโลก



สถาบันโรคหัวใจ (Heart Institute) ก่อตั้งขึ้นได้จากการที่เรามีบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทางที่พรั่งพร้อม สามารถรักษาผู้ป่วยที่มีอาการซับซ้อน ต้องการการรักษาขั้นสูง รวมถึงการทำงานร่วมมือกันอย่างแข็งแกร่งทีมแพทย์และทีมสหสาขาวิชาชีพหลากหลายสาขาที่มีเป้าหมายเดียวกัน คือ ความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วยและการทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ดีที่สุดและมีคุณภาพมากที่สุด

องค์ประกอบสำคัญ 3 ประการที่ทำให้เราประสบความสำเร็จในการจัดตั้งสถาบันโรคหัวใจ (Heart Institute) คือ

 

  • การทำงานร่วมกันของแพทย์ผู้ชำนาญการในหลากหลายสาขา (Many subspecialties)
  • การทำงานที่สอดประสานกันระหว่างทีมแพทย์และสหสาขาวิชาชีพ (Team approach is needed)
  • การทำงานที่ใกล้ชิดแบบไร้รอยต่อระหว่างแพทย์สาขาต่างๆ (Multiorgan involvement) เนื่องจากหัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญ หากหัวใจทำงานได้ไม่ดี จะมีผลกระทบต่ออวัยวะอื่นๆ ตามมา ทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น ไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมองหรือมีเส้นเลือดอุดตันบริเวณต่างๆของร่างกาย ดังนั้นการดูแลรักษาที่มีประสิทธิภาพต้องอาศัยการทำงานที่ใกล้ชิดและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

เรามุ่งมั่นที่จะทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างดีที่สุดโดยการ

  • ส่งมอบการดูแลรักษาที่มีคุณภาพดีที่สุดให้แก่ผู้ป่วย
  • ทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ติดตามดูแลผู้ป่วยเป็นรายบุคคลไปจนตลอดอายุขัย
 
 

โรคหัวใจขาดเลือด (Coronary artery disease)

โรคคุ้นหูที่พบได้บ่อย คือ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน ที่มาจากการรักษาโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ไม่ดีหรืออายุที่มากขึ้น รักษาได้โดยการเปิดหลอดเลือด (revascilarization) การรักษานี้ทำได้ด้วยการใส่ขดลวด (stent) ผ่านสายสวน หรือการผ่าตัดบายพาสโดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการและการดูแลจากทีมพยาบาลเฉพาะทางด้านการบำบัดโรคหัวใจ

 

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ(Cardiac arrhythmia)

เป็นภาวะความผิดปกติที่พบได้มากขึ้นเรื่อย ๆในผู้สูงอายุ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรงที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ทันที (Ventricular tachycardia, ventricular fibrillation) หรือโรคหัวใจห้องบนเต้นพริ้ว (Atrial fibrillation)  ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคอัมพฤกษ์อัมพาต แนวทางการรักษาที่มีประสิทธิภาพคือการศึกษาและการจี้ไฟฟ้าหัวใจ โดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการและมีประสบการณ์ในการรักษา

 

ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart failure)

คือภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจทำงานลดลง ส่งผลกระทบต่อการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆของร่างกาย พบได้มากขึ้นเรื่อยๆ ตามการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมผู้สูงอายุ แนวทางการรักษาคนไข้กลุ่มนี้เปลี่ยนแปลงไปมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การใช้ยาหรือการใช้เครื่องพยุงหัวใจในแบบต่าง ๆ ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้ชำนาญการด้านภาวะหัวใจล้มเหลว ผู้ป่วยสามารถเพิ่มคุณภาพชีวิต และลดอาการลงไปได้แม้ในรายที่มีภาวะรุนแรง

 

โครงสร้างของหัวใจผิดปกติ (structural heart disease)

นอกจากระบบหลอดเลือดหัวใจและระบบไฟฟ้าหัวใจแล้ว หัวใจยังประกอบด้วยโครงสร้างอื่น ๆ เช่น ลิ้นหัวใจและเยื่อบุเยื่อหุ้มหัวใจ  ซึ่งอาจเกิดความผิดปกติขึ้นได้จากสภาวะความเสื่อมของร่างกาย การติดเชื้อหรือสาเหตุอื่น ๆ คนไข้กลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการตรวจติดตามผลอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาหรือผ่าตัดแก้ไขให้ทันถ่วงทีในช่วงเวลาที่เหมาะสม ที่บำรุงราษฎร์เรามีทีมแพทย์ผ่าตัดผู้ชำนาญการ และทีมแพทย์อายุรกรรมหัวใจให้คำแนะนำแนวทางการรักษาในกรณีที่ไม่จำเป็นต้องทำการผ่าตัดแบบเปิดหน้าอก

 

โรคหัวใจที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม (Cardiogenetics)

ในปัจจุบัน  ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและความรู้ทางพันธุศาสตร์ ทำให้สามารถระบุและตรวจหายีนที่มีโอกาสส่งผ่านโรคหัวใจในครอบครัวได้มากขึ้น เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคไหลตาย โรคไขมันในเลือดสูงและโรคอื่น ๆ การระบุยีนก่อโรคเหล่านี้ สามารถช่วยชีวิตผู้ที่ยังไม่แสดงอาการของโรคหรือช่วยในการวางแผนครอบครัวได้ดี การพบแพทย์โรคหัวใจที่มีความรู้เฉพาะทางด้านพันธุศาสตร์จึงเป็นประโยชน์อย่างมากในการช่วยวางแผนและป้องกันการเกิดโรคหัวใจที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรรมนี้

 

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital heart disease)

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดจำเป็นต้องได้รับการรักษา และดูแลอย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต ดังนั้นเป้าหมายของการรักษานอกจากการผ่าตัดแก้ไข (total correction) โดยแพทย์ผ่าตัดผู้ชำนาญการแล้ว เรายังมีความพร้อมให้การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ไปตลอดชีวิตโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล เภสัชกร และทีมสนับสนุนอื่น

 

การคัดกรองและการส่งเสริมสุขภาวะของหัวใจ (Cardiac Preventive and enhancing)

ที่บำรุงราษฎร์เรามีบริการตรวจคัดกรองโรคหัวใจที่เฉพาะเจาะจงสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจ รวมถึงผู้ที่ต้องการเสริมสมรรถภาพการออกกำลังกาย เรามีทีมแพทย์โรคหัวใจที่มีความชำนาญด้านเวชศาสตร์การกีฬา (sport cardiology) โดยเฉพาะ เพื่อช่วยประเมินสุขภาพหัวใจ วางแผนการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสม อีกทั้งทีมแพทย์โรคหัวใจ และเวชพันธุศาสตร์ ที่มีความชำนาญในการถอดรหัสดีเอ็นเอและแปลผลได้อย่างแม่นยำ

ทีมแพทย์และทีมสหสาขาวิชาชีพของเรามีความชำนาญในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ โดยเฉพาะในรายที่ต้องการการดูแลรักษาโรคที่ยากและซับซ้อน ทีมของเราประกอบด้วย

  • อายุรแพทย์หัวใจ (Medicine, Cardiology)
  • ศัลยแพทย์ทรวงอก (Cardio-thoracic surgeon)
  • แพทย์กายภาพบำบัด (Cardiac rehabilitation) ผู้ชำนาญด้านการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหัวใจและกลุ่มนักกีฬา
  • การดูแลป่วยหนักระบบหัวใจและหลอดเลือด (Clinical care service) สามารถดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีความซับซ้อนได้อย่างครอบคลุม
  • เภสัชกร (Clinical Pharmacist) ผู้ชำนาญด้านยารักษาโรคหัวใจโดยเฉพาะ
  • พยาบาล (Special nurse) ผู้ได้รับการอบรมและมีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ
  • สหสาขาวิชาชีพอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น นักโภชนาการ นักกายภาพบำบัด

 
 

 

 

1.    ทำบอลลูน > 350 ราย/ปี

2.    ฉีดสีเพื่อดูเส้นเลือดหัวใจ > 600 ราย/ปี

3.    การเกิดหลอดเลือดตีบ และแตกขณะทำบอลลูน 0%  (สถิติประเทศไทย 0.22%)

4.    ใส่ห้องไฟฟ้าหัวใจ > 30 ราย/ปี ตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ > 80 ราย/ปี

5.    อัตราการเสียชีวิตจากการจี้ไฟฟ้าหัวใจ (AF & VT) = 0

6.    อัตราการเสียชีวิตจากเปลี่ยนลิ้นหัวใจเออร์ติกด้วยเทคโนโลยี TAVI ตั้งแต่ปี 2559 = 0

7.    ผ่าตัดหัวใจแบบเปิด > 70 ราย/ปี



 
  • ให้การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่มีอาการซับซ้อน ด้วยการใส่ขดลวด (Stent) 8 ชิ้นในการทำหัตถการครั้งเดียวสำเร็จ
  • วินิจฉัยและรักษาชีวิตผู้มีประวัติครอบครัวเป็นภาวะคลื่นไฟฟ้าหัวใจทำงานผิดปกติ (Brugada syndrome) จากกรรมพันธุ์มาก่อน
 
 

 
รับฟังประสบการณ์คนไข้หัวใจเต้นผิดจังหวะกับการรักษาที่เปลี่ยนชีวิต
 
 



เรื่องราวของผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชาวอเมริกันที่เดินทางมาเปลี่ยนเครื่องกระตุ้นหัวใจ
 




เพราะหัวใจมีแค่ดวงเดียว... การดูแลรักษาจึงต้อง "ใส่ใจ" ทุกขั้นตอน
 

พญ. ธัญลักษณ์ ชัยเสรี

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์โรคหัวใจ

ดูประวัติ

นพ. นเรนทร์ มัลโฮตรา

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์
อายุรศาสตร์โรคหัวใจ

ดูประวัติ

นพ. พิษณุ เกิดสินธ์ชัย

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์โรคหัวใจ
อายุรศาสตร์โรคหัวใจ - มัณฑนากรหัวใจและหลอดเลือด

ดูประวัติ

น.อ.นพ. สุกิตติ ปาณปุณณัง ร.น.

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์
อายุรศาสตร์โรคหัวใจ

ดูประวัติ

นพ. วิสุทธิ์ วิเวกาภิรัต

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์โรคหัวใจ
อายุรศาสตร์โรคหัวใจ - มัณฑนากรหัวใจและหลอดเลือด

ดูประวัติ

นพ. อร่าม จูสวย

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์โรคหัวใจ
อายุรศาสตร์โรคหัวใจ - มัณฑนากรหัวใจและหลอดเลือด

ดูประวัติ

นอ.พิเศษ นพ. เกรียงไกร จิรสิริโรจนากร

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์โรคหัวใจ
อายุรศาสตร์โรคหัวใจ - สรีระไฟฟ้าหัวใจ

ดูประวัติ

นพ. พิพัฒน์ วงศ์สิริศักดิ์

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์โรคหัวใจ

ดูประวัติ

นพ. วัธนพล พิพัฒนนันท์

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์โรคหัวใจ
อายุรศาสตร์โรคหัวใจ - มัณฑนากรหัวใจและหลอดเลือด

ดูประวัติ

Related Package

    Scroll for more

Contact Number

065-509-9198 
(ระหว่างเวลา 8.00-20.00 น. )

02-066-8888
(ระหว่างเวลา 20.00-8.00 น. )

Email
[email protected]
 
  • บริการพบแพทย์ผ่าน VDO call (Tele-Consultation) คลิก

Service Hours

  • เนื่องจากสถานการณ์และมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทางโรงพยาบาลฯ อาจมีการปรับเปลี่ยนเวลาในการให้บริการของแต่ละคลินิกตามความเหมาะสมของสถานการณ์ จึงขอความกรุณาทำการนัดหมายแพทย์ล่วงหน้า หรือสอบถามเวลาการให้บริการได้ที่ 1378

Location

  • สถาบันโรคหัวใจ
ชั้น 14 A อาคารบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล คลินิก (อาคาร A)
คะแนนโหวต 4.75 of 10, จากจำนวนคนโหวต 8 คน

Related Health Blogs