bih.button.backtotop.text

ศูนย์เฉพาะทางด้านการทำงานระบบทางเดินอาหาร

ศูนย์เฉพาะทางด้านการทำงานระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์จัดตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการในการดูแลรักษาโรคการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหารที่มีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปีจากปัจจัยต่างๆ เช่น การก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุและโรคกรดไหลย้อนที่เพิ่มมากขึ้น จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของประชากรไทยและทั่วโลก โดยผนึกกำลังกับศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านระบบประสาทและการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ซึ่งมีชื่อเสียงระดับโลกในการให้บริการปรึกษา ตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคการทำงานที่ผิดปกติของระบบทางเดินอาหารตั้งแต่ส่วนบนจนถึงส่วนล่างแบบองค์รวม โดยเฉพาะโรคที่ยากและซับซ้อน โดยมุ่งเน้นในการตรวจวินิจฉัยอย่างแม่นยำ ถูกต้องและพบโรคแต่เนิ่นๆก่อนที่จะมีอาการรุนแรงหรือในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากแล้ว เพื่อเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาด หรือทำให้ผู้ป่วยดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
 
ทีมแพทย์ของเรา
ทีมของเราประกอบด้วยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางซึ่งมีชื่อเสียงระดับนานาชาติ ทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพที่มีประสบการณ์อย่างใกล้ชิด โดยใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูงและการทดสอบที่ละเอียดเพื่อการวินิจฉัยและการรักษา ทีมแพทย์ของศูนย์เป็นนักวิจัยที่ทำการศึกษาวิจัยเพื่อเข้าใจลักษณะของโรคอย่างต่อเนื่องและมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ระดับนานาชาติ สามารถเข้าใจโรคได้อย่างลึกซึ้งทำให้สามารถวินิจฉัย รักษาโรคได้แม่นยำขึ้น รวมถึงสามารถประยุกต์ความก้าวหน้าทางวิชาการล่าสุดมาประกอบการรักษาเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดต่อคนไข้ของศูนย์
 
ทีมแพทย์ของเรา

โรคการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหารเกี่ยวข้องตั้งแต่หลอดอาหารไปจนถึงทวารหนัก ได้แก่

  • อาการกลืนลำบาก
  • โรคกรดไหลย้อน ผู้ป่วยอาจมาด้วยอาการ ทางด้านของ โรคหู คอ จมูก เช่น แสบคอ เจ็บคอเรื้อรัง มีเสมหะเรื้อรัง จุกแน่นคอเรื้อรัง หรืออาการทางโรคปอด เช่น ไอเรื้อรัง ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคล้ายโรคหัวใจ เช่น อาการเจ็บหน้าอกที่หาสาเหตุไม่พบ
  • ภาวะการขับถ่ายผิดปกติ เช่น ท้องผูกเรื้อรัง กลั้นอุจจาระไม่ได้ โดยภาวะท้องผูกเรื้อรังเป็นภาวะที่พบบ่อยในประชาชนทั่วไป และจะมีผู้ที่ท้องผูกจำนวนหนึ่งที่มีอาการรบกวนมากและไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยแพทย์ทั่วไป ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถรักษาให้หายขาดหรือบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้ ถ้าได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาที่เหมาะสม เช่น ถ้าตรวจการทำงานของทวารหนักและหูรูดทวารหนัก (anorectal manometry) แล้วพบว่าเกิดจากภาวะเบ่งไม่เป็น (anorectal dyssynergia) การฝึกเบ่ง (biofeedback therapy) โดยทีมผู้เชี่ยวชาญสามารถทำให้อาการท้องผูกหายขาดได้ถึงร้อยละ 60 ส่วนในกลุ่มที่ไม่หายขาดก็ทำให้อาการดีขึ้นสามารถลดยาระบายได้
  • ภาวะท้องอืดแน่นท้องเรื้อรัง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการทำงานของทางเดินอาหารผิดปกติ การส่องกล้องตรวจไม่สามารถพบความผิดปกติได้ ผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจมีสาหตุที่สามารถรักษาให้หายขาดหรือบรรเทาอาการจนไม่รบกวนคนไข้ได้ ถ้าได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาที่เหมาะสม
เพราะฉะนั้นการวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่ผิดปกติของระบบทางเดินอาหารจึงต้องอาศัยความชำนาญการตรวจพิเศษและประสบการณ์ที่สูงของแพทย์ การบริการของเราจึงครอบคลุมปัญหาทั้งหมดของระบบทางเดินอาหารดังนี้
 

โรคการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหารคืออะไร


ความผิดปกติของการทำงานของระบบทางเดินอาหารส่วนบน
ความผิดปกติของหลอดอาหาร

  • โรคอะคาเลเซีย (Achalasia cardia) เป็นความผิดปกติของการกลืนอาหารที่มีสาเหตุมาจากการสูญเสียการทำงานของหลอดอาหารและหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง
  • ภาวะกลืนลำบากหรือหรือภาวะความผิดปกติของการเคลื่อนไหวของหลอดอาหาร (Dysphagia and esophageal motility disorder)
  • อาการกรดไหลย้อน (GERD) ได้แก่ เรอเปรี้ยว แสบร้อนหน้าอก และอาการในระบบอื่นที่อาจเกิดจากกรดไหลย้อน (atypical GERD) เช่น อาการไอเรื้อรัง เจ็บคอ แสบคอเรื้อรัง จุกแน่นที่คอ และอาการเจ็บหน้าอกที่ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจ


ความผิดปกติของกระเพาะอาหาร 

  • โรคกระเพาะอาหาร (Dyspepsia) ที่ตรวจไม่พบสาเหตุจากการส่องกล้อง
  • กระเพาะอาหารเคลื่อนไหวช้า (Gastroparesis) ซึ่งทำให้เกิดอาการแน่นท้องหลังอาหารหรืออาเจียนเรื้อรัง
  • อาหารระบายออกจากกระเพาะเข้าลำไส้เล็กเร็วเกินไป (Dumping syndrome)
  • อาการอาเจียนเรื้อรังเป็นๆหายๆโดยไม่ทราบสาเหตุ (Cyclic vomiting syndrome)
  • อาการสำรอกอาหารจากกระเพาะอาหารเรื้อรัง (Rumination syndrome)


ความผิดปกติของการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหารส่วนล่าง
ความผิดปกติของลำไส้ใหญ่

  • ภาวะท้องผูกเรื้อรัง (chronic constipation) 
  • โรคลำไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome: IBS)


ความผิดปกติของลำไส้เล็ก

  • ภาวะลำไส้อุดตันเทียม (intestinal pseudo-obstruction) ซึ่งมีอาการเหมือนลำไส้เล็กอุดตันแต่ตรวจด้วยการส่องกล้องหรือรังสีวิทยาแล้วไม่พบการอุดต้น
  • การเคลื่อนไหวของลำไส้ที่ผิดปกติ (intestinal dysmotility)
  • ภาวะมีแบคทีเรียมากกว่าปกติในลำไส้เล็ก (small intestinal bacterial over growth, SIBO)


ความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ ทวารหนักและกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน

  • ภาวะกลั้นอุจจาระลำบาก (fecal incontinence)
  • ภาวะที่ไม่สามารถควบคุมการหดตัวหรือคลายตัวของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานได้ตามที่ต้องการหรือเบ่งไม่เป็น (pelvic floor  dyssynergia) ทำให้เกิดอาการทัองผูก หรือกลั้นอุจจาระไม่ได้ ซึ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการรักษาโดย biofeedback therapy หรือการฝึกการขับถ่ายด้วยเครื่องมือพิเศษ
  • ท้องผูกจากลำไส้ใหญ่เคลื่อนไหวผิดปกติ (delayed colonic transit) คือการที่มีความผิดปกติของการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่ทำให้กากอาหารค้างในลำไส้ใหญ่นานกว่าปกติ ไม่ปวดอยากถ่าย ได้ ซึ่งสามารถตรวจได้โดยตรวจดูว่ากากอาหารเคลื่อนไหวช้าในลำใส้ใหญ่หรือไม่ (colonic transit study) หรือตรวจดูการเคลื่อนไหวหรือการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ (colonic manometry)

ศูนย์เฉพาะทางด้านการทำงานระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal Motility Center) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคดังนี้
 

1. การตรวจการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร (Manometry study) ได้แก่

  • การตรวจวัดการทำงานของหลอดอาหาร (esophageal manometry) ได้แก่ เป็นการตรวจดูการบีบตัวของหลอดอาหาร หูรูดหลอดอาหารทั้งส่วนบนและส่วนล่าง ในผู้ป่วยที่มีอาการกลืนลำบาก เจ็บหน้าอก หรือสงสัยว่าเป็นโรคของการทำงานของหลอดอาหารที่ผิดปกติ รวมถึงตรวจก่อนใส่สารตรวจวัดกรดในหลอดอาหารในผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน
  • การตรวจวัดการทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น (antroduodenal manometry) มักตรวจในผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะมีการทำงานของกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กผิดปกติ เช่น ในผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียน ท้องอืด หรือแน่นท้องมากโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือในผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีลำไส้เล็กอุดตันแต่ตรวจไม่พบว่ามีการอุดตันจากการส่องกล้องหรือเอ็กซเรย์
  • การตรวจวัดการทำงานของทวารหนักและหูรูดทวารหนัก (anorectal manometry) ในผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกเรื้อรังที่สงสัยว่ามีการทำงานที่ผิดปกติของทวารหนักหรือมีสาเหตุจากการทำงานของกล้ามเนื้อกะบังลมส่วนล่างหรือหูรูดทวารหนักที่ผิดปกติ เป็นผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการถ่ายอุจจาระลำบาก และใช้ตรวจผู้ป่วยเด็กที่มีท้องผูกตั้งแต่แรกคลอดที่สงสัยว่าลำไส้ส่วนปลายไม่มีปมประสาทแต่กำเนิด
  • การตรวจวัดการทำงานของลำไส้ใหญ่ (colonic manometry) เป็นการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของลำไส้ใหญ่เคลื่อนไหวช้าหรือไม่สามารถขับกากอาหารในลำไส้ใหญ่มาที่ทวารหนักได้ (delay colonic transit) ทำให้ทราบสาเหตุของความผิดปกติและสามารถประเมินได้ว่าผู้ป่วยสามารถรักษาอาการท้องผูกได้ด้วยยาหรือด้วยการผ่าตัดลำไส้ใหญ่ออก


2. การตรวจวัดความเป็นกรดในหลอดอาหาร 24 ชั่วโมง (24hr Esophageal pH-impedance testing) ทำได้ 2 วิธีคือ

  • ใช้สายวัดสอดผ่านทางจมูกลงในหลอดอาหารและทิ้งค้างไว้ เพื่อเก็บสัญญาณการติดตามวัดค่า 24 ชั่วโมง เมื่อครบกำหนดเวลาแล้วจึงนำมาวิเคราะห์ผลด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถตรวจวัดได้ทั้งน้ำย่อยไหลย้อนทั้งชนิดที่เป็นกรดและไม่เป็นกรด
  • ใช้ตัววัดเป็นแคปซูล โดยนำแคปซูลสอดผ่านกล้องส่องทางเดินอาหาร เพื่อนำไปติดไว้กับผนังหลอดอาหาร แคปซูลจะส่งสัญญาณเป็นคลื่นวิทยุแสดงผลการติดตามวัดค่าความเป็นกรดไปยังเครื่องรับที่อยู่ภายนอกร่างกายของผู้ป่วย และเมื่อเก็บผลการตรวจแล้ว แคปซูลจะหลุดออกและขับถ่ายออกมาเองตามปกติ ซึ่งสามารถตรวจวัดได้เฉพาะการไหลย้อนของน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารที่เป็นกรด


3. การทดสอบไฮโดรเจนทางลมหายใจ (H2 breath tests) เป็นการตรวจหาความผิดปกติของลำไส้เล็กที่สำคัญได้แก่

  • ภาวะมีแบคทีเรียมากกว่าปกติในลำไส้ล็ก (small intestinal bacterial overgrowth) ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการท้องอืดหรืออาการท้องเสียเรื้อรังได้
  • ภาวะการดูดซึมน้ำตาลแลกโตส (lactose malabsorption) หรือ ฟรุกโตส (fructose malabsorption) ผิดปกติ
  • ตรวจดูความเร็วของการเคลื่อนไหวของอาหารผ่านลำไส้เล็ก (Oro-cecal transit time)


4. วัดอัตราการไหลของน้ำลาย (Saliva flow rate test) เพื่อตรวจหาว่าผู้ป่วยมีภาวะน้ำลายน้อยซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะเจ็บคอหรือ แสบคอเรื้อรังที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการคล้ายกรดไหลย้อนได้


5. การรักษาโดยการฝึกขับถ่ายให้เป็นธรรมชาติ (biofeedback therapy​) สำหรับผู้ที่มีภาวะท้องผูกและผู้ที่กลั้นอุจจาระไม่ได้

  • ภาวะท้องผูก สาเหตุประมาณร้อยละ 40 ของภาวะท้องผูกเกิดจากการเบ่งถ่ายที่ผิดวิธีด้วยการออกแรงเบ่งพร้อมขมิบหูรุดทวารหนัก ทำให้แรงเบ่งไม่มากพอ อุจจาระไม่สามารถเคลื่อนออกมาได้ แพทย์หรือพยาบาลจะช่วยสอนให้ผู้ป่วยเรียนรู้ที่จะเบ่งและคลายให้ถูกวิธีด้วยเครื่องมือและเทคนิคที่ทันสมัย
  • ภาวะกลั้นอุจจาระไม่ได้ มักพบในผู้สูงอายุ ซึ่งผู้ป่วยบางคนเมื่อรู้สึกว่าอุจจาระมาอาจไม่รู้สึก หรือเมื่อต้องการขมิบหูรูดทวารหนักเพื่อกลั้นอุจจาระผู้ป่วยกลับกลั้นไม่เป็นกลายเป็นเบ่งอุจจาระแทน  ซึ่งทีมแพทย์และพยาบาลจะสอนให้ผู้ป่วยตอบสนองต่อความรู้สึกเวลามีอุจจาระมาที่ทวารหนัก และขมิบหูรูดทวารหนักให้ถูกวิธีโดยใช้เครื่องมือและเทคนิคที่ทันสมัย
ทีมแพทย์ผู้ชำนาญหลากหลายสาขาและสหสาขาวิชาชีพทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อดูแลรักษาผู้ป่วย ทีมงานของเราประกอบด้วย

การดูแลรักษาร่วมกันของทีมแพทย์และทีมสหสาขาวิชาชีพ
 
  • แพทย์ผู้ชำนาญด้านการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร
  • ศัลยแพทย์
  • รังสีแพทย์
  • แพทย์พยาธิวิทยา
  • แพทย์กายภาพบำบัด
  • นักกายภาพบำบัด
  • นักโภชนาการ
  • เภสัชกรชำนาญด้านยารักษาโรคของระบบทางเดินอาหาร
  • พยาบาลผู้ได้รับการอบรมและมีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยโรคของระบบทางเดินอาหาร

นัดหมายแพทย์โทร +66 63 190 3152

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ศูนย์เฉพาะทางด้านการทำงานระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal Motility Center)
ชั้น 2 อาคาร บี  (DDC Center)

ศ.นพ. สุเทพ กลชาญวิทย์

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

โรคตับ

ดูประวัติ

ผศ.พญ. ฐนิสา พัชรตระกูล

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

โรคตับ

ดูประวัติ

พญ. ปัญญวีร์ ปิติสุทธิธรรม

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

โรคตับ

ดูประวัติ

นพ. จรงกร ศิริมงคลเกษม

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

โรคตับ

ดูประวัติ

นพ. ภัคพล รัตนชัยสิทธิ์

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

โรคตับ

ดูประวัติ
    Scroll for more

Contact Number

  • บริการพบแพทย์ผ่าน VDO call (Tele-Consultation) คลิก

Service Hours

  • ศูนย์เฉพาะทางด้านการทำงานระบบทางเดินอาหาร
    วันอาทิตย์-ศุกร์
    8.00-20.00 น.
    วันเสาร์ 
    8.00-19.00 น.
  • เนื่องจากสถานการณ์และมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทางโรงพยาบาลฯ อาจมีการปรับเปลี่ยนเวลาในการให้บริการของแต่ละคลินิกตามความเหมาะสมของสถานการณ์ จึงขอความกรุณาทำการนัดหมายแพทย์ล่วงหน้า หรือสอบถามเวลาการให้บริการได้ที่ 1378

Location

  • ศูนย์เฉพาะทางด้านการทำงานระบบทางเดินอาหาร
    ชั้น 2 อาคาร บี  (DDC Center)
คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs