bih.button.backtotop.text

โรคกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease: GERD) เป็นโรคที่เกิดจากการไหลย้อนของสารคัดหลั่งในกระเพาะอาหารไม่ว่าจะเป็นกรดหรือแก๊สกลับไปที่หลอดอาหาร ซึ่งโดยปกติร่างกายคนเราจะมีการไหลย้อนของกรดในกระเพาะอาหารขึ้นไปในหลอดอาหารอยู่บ้างโดยเฉพาะหลังรับประทานอาหาร แต่ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีปริมาณกรดที่ย้อนมากขึ้นหรือย้อนบ่อยกว่าผู้ที่ไม่เป็นโรค หรือหลอดอาหารมีความไวต่อกรดมากขึ้นแม้ว่าจะมีปริมาณกรดที่ย้อนขึ้นไปไม่มากกว่าปกติ

อาการของโรคกรดไหลย้อน

อาการสำคัญที่พบบ่อยในโรคกรดไหลย้อน ได้แก่

  • ความรู้สึกแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ กลางหน้าอก ซึ่งมักเกิดหลังรับประทานอาหารเสร็จใหม่ๆ
  • ความรู้สึกเปรี้ยวหรือขมในปากและคอ
  • มีอาหารย้อนขึ้นมาในปากและคอ
  • จุกเสียด แน่นท้องบริเวณลิ้นปี่


นอกจากอาการเหล่านี้แล้ว โรคกรดไหลย้อนยังก่อให้เกิดอาการอื่นๆ ได้อีก เช่น

  • อาการเจ็บหน้าอกที่ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจ
  • เสียงแหบเรื้อรัง เสียงเปลี่ยน
  • ไอเรื้อรังโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน
  • กลืนติดขัดเหมือนมีก้อนจุกในคอ
  • อาการทางช่องปาก เช่น ฟันผุ มีกลิ่นปาก
  • โรคหืดที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาตามปกติ
  • ความผิดปกติของหูรูดส่วนปลายหลอดอาหารที่ทำหน้าที่ป้องกันกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมีความดันของหูรูดต่ำหรือเปิดบ่อยกว่าคนปกติ ความผิดปกติเหล่านี้อาจเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ กาแฟ ชา เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และ ยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคหอบหืดบางตัว
  • ความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหาร ทำให้อาหารที่รับประทานเคลื่อนตัวลงช้าหรืออาหารที่ไหลย้อนขึ้นมาจากกระเพาะอาหารค้างอยู่ในหลอดอาหารนานกว่าปกติ
  • ความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่าปกติ ทำให้เพิ่มโอกาสการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหารสู่หลอดอาหารมากขึ้น อาหารประเภทไขมันสูงและช็อกโกแลตจะทำให้กระเพาะอาหารบีบตัวลดลง
  • พฤติกรรมในการดำเนินชีวิต เช่น เข้านอนทันทีหลังรับประทานอาหาร รับประทานอาหารปริมาณมากในหนึ่งมื้อ สูบบุหรี่ ดื่มน้ำอัดลมหรือแอลกอฮอล์ ความเครียด
  • โรคอ้วน ทำให้เพิ่มแรงกดต่อกระเพาะอาหารและทำให้กรดไหลย้อนกลับ
  • การตั้งครรภ์ เนื่องจากฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ทำให้หูรูดหลอดอาหารอ่อนแอลง รวมถึงมดลูกที่ขยายตัวจะเพิ่มแรงกดต่อกระเพาะอาหาร
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่เพิ่มการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร เช่น อาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด แอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน น้ำอัดลม กระเทียม หัวหอม เป็นต้น รวมถึงหลีกเลี่ยงการทานอาหารมื้อใหญ่ ควรแบ่งเป็นมื้อเล็กๆ แต่บ่อยครั้ง
  • ผ่อนคลายความเครียด เช่น นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกกำลังกาย นั่งสมาธิ สวดมนต์
  • ควบคุมน้ำหนัก โดยเฉพาะในคนอ้วน หรือคนที่น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน เมื่อน้ำหนักลด ความดันในกระเพาะอาหารก็จะลดลง ทำให้อาหารและกรดในกระเพาะอาหารดันหูรูดหลอดอาหารน้อยลง อาการกรดไหลย้อนก็จะลดลงตามไปด้วย นอกจากนั้นยังส่งผลดีต่อสุขภาพด้านอื่นๆ และทำให้มีสุขภาพที่แข็งแรง
  • หลีกเลี่ยงการนอนราบทันทีหลังรับประทานอาหาร ควรรออย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง หรือหากนอนควรนอนหนุนหมอนสูง และไม่ควรออกกำลังกายหลังรับประทานอาหารเสร็จทันที
  • การซักประวัติและการตรวจร่างกายทั่วไป โดยทั่วไปแพทย์จะวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อนโดยใช้อาการของผู้ป่วยเป็นหลัก หากผู้ป่วยมีอาการทางหลอดอาหารเข้าได้กับภาวะกรดไหลย้อนสามารถวินิจฉัยโรคได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติม
  • การตรวจเพิ่มเติม หากผู้ป่วยปฏิบัติตามคำแนะนำหรือรับการรักษาเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการเตือนอื่นๆ เช่น กลืนลำบาก กลืนเจ็บ อาเจียนบ่อยๆ หรือมีประวัติอาเจียนเป็นเลือด ปวดท้องรุนแรง ถ่ายอุจจาระดำ มีอาการซีด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาจจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยพิเศษเพิ่มเติม เช่น
    • การส่องกล้องทางเดินอาหาร
    • การเอกซเรย์กลืนสารทึบแสง
    • การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์
    • การตรวจการบีบตัวของหลอดอาหาร
    • การตรวจวัดความเป็นกรด-ด่างในหลอดอาหาร
  • การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการทานอาหาร
  • ทานยาตามแพทย์สั่ง
  • การเย็บหูรูดหลอดอาหารโดยไม่ต้องผ่าตัดด้วยเทคนิค TIF
  • การตัดเย็บหูดรูดหลอดอาหาร
โรคกรดไหลย้อนอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากฤทธิ์ของกรดทำให้หลอดอาหารระคายเคืองจนอาจเกิดการอักเสบ เป็นแผลรุนแรงจนตีบ ทำให้กลืนอาหารได้ลำบาก รู้สึกเจ็บ นอกจากนี้อาจทำให้เกิดโอกาสเสี่ยงในการเป็นมะเร็งหลอดอาหาร แต่ในปัจจุบันยังพบได้น้อยมาก

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์ทางเดินอาหาร-ตับ

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์เฉพาะทางด้านการทำงานระบบทางเดินอาหาร

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 8.84 of 10, จากจำนวนคนโหวต 313 คน

Related Health Blogs