bih.button.backtotop.text

การมีลมหรือแก๊สในกระเพาะอาหาร

ทุกคนมีแก๊สในทางเดินอาหารและกำจัดออกด้วยการเรอหรือผายลม อย่างไรก็ตาม ผู้คนจำนวนมากคิดว่าตัวเองมีแก๊สมากเกินไปทั้งที่มีแก๊สในปริมาณปกติ คนส่วนใหญ่ผลิตแก๊สประมาณ 0.5-2 ลิตรต่อวันและระบายแก๊สออกมาประมาณวันละ 14 ครั้ง

แก๊สแรกเริ่มประกอบด้วยไอที่ไม่มีกลิ่นของคาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน ไนโตรเจน ไฮโดรเจน และมีเทน ในบางครั้งกลิ่นไม่พึงประสงค์ของผายลมหรือแก๊สที่ผ่านออกมาทางทวารหนักมาจากแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ที่ปลดปล่อยแก๊สปริมาณน้อยที่มีส่วนประกอบของกำมะถัน

ถึงแม้การมีแก๊สจะเป็นเรื่องปกติ แต่ก็อาจทำให้รู้สึกไม่สบายและอับอายได้ การเข้าใจถึงสาเหตุ วิธีการเพื่อลดอาการ และการรักษาจะช่วยให้อาการบรรเทาลงได้

อะไรทำให้เกิดแก๊ส
แก๊สในทางเดินอาหาร ตั้งแต่หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ มาจากสองแหล่งด้วยกัน ได้แก่
  • อากาศที่ถูกกลืนเข้าไป เป็นสาเหตุทั่วไปของแก๊สในกระเพาะอาหาร ทุกคนกลืนอากาศปริมาณเล็กน้อยขณะรับประทานอาหารและดื่มน้ำอย่างรวดเร็ว การเคี้ยวหมากฝรั่ง การสูบบุหรี่ หรือการใส่ฟันปลอมที่หลวมอาจทำให้บางคนได้รับอากาศเข้าไปมากขึ้น การเรอเป็นวิธีการที่อากาศส่วนมากที่ถูกกลืนเข้าไปซึ่งประกอบด้วยไนโตรเจน ออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ ถูกระบายออกจากกระเพาะอาหาร
แก๊สที่เหลืออยู่จะเคลื่อนต่อไปยังลำไส้เล็กที่ซึ่งบางส่วนจะถูกดูดซึมไป เหลือเพียงปริมาณเล็กน้อยที่เดินทางเข้าสู่ลำไส้ใหญ่เพื่อปลดปล่อยออกทางทวารหนัก กระเพาะอาหารยังปลดปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเมื่อกรดในกระเพาะอาหารผสมเข้ากับไบคาร์บอเนตในน้ำย่อย แต่แก๊สส่วนใหญ่นี้จะถูกดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือดและไม่ผ่านเข้าสู่ลำไส้ใหญ่
  • การสลายอาหารที่ไม่ถูกย่อย ร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมคาร์โบไฮเดรต (น้ำตาล แป้ง และใยอาหารที่พบในอาหารหลายชนิด) บางชนิดในลำไส้เล็ก เนื่องจากขาดแคลนหรือไม่มีเอนไซม์เฉพาะสำหรับช่วยย่อย อาหารที่ไม่ถูกย่อยเหล่านี้จะผ่านจากลำไส้เล็กเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ที่ซึ่งแบคทีเรียที่ไม่เป็นอันตรายจะย่อยสลายอาหาร ผลิตเป็นแก๊สไฮโดรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และในประชากรประมาณ 1 ใน 3 ที่จะผลิตแก๊สมีเทน
ในที่สุดแล้ว แก๊สเหล่านี้จะผ่านออกทางทวารหนัก ผู้ที่มีแก๊สมีเทนไม่จำเป็นต้องผายลมปล่อยแก๊สออกมามากกว่าปกติหรือมีอาการอื่นที่เฉพาะเจาะจง แต่จะมีอุจจาระที่มีลักษณะลอยอยู่ในน้ำ งานวิจัยไม่ได้แสดงให้เห็นว่าเพราะเหตุใดบางคนจึงผลิตแก๊สมีเทนแต่บางคนไม่ อาหารที่ก่อให้เกิดแก๊สในบางคนอาจไม่ทำให้เกิดแก๊สในอีกคน แบคทีเรียทั่วไปบางชนิดในลำไส้ใหญ่สามารถทำลายแก๊สไฮโดรเจนที่แบคทีเรียอีกชนิดผลิตขึ้นได้ สมดุลระหว่างแบคทีเรียสองชนิดนี้จึงอาจอธิบายว่าทำไมบางคนจึงมีแก๊สมากกว่าคนอื่นๆ
 
  • เรอ
  • ผายลม
  • ท้องอืด
  • ปวดและอึดอัดท้อง
  • การตรวจลมหายใจ เป็นวิธีการที่ไม่รุกล้ำเพื่อช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้หลายสภาวะของโรค การวิเคราะห์ลมหายใจช่วยให้สามารถวัดปริมาณแก๊สบางชนิดได้ ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ
  • การตรวจลมหายใจเพื่อหาการแพ้แลคโตส ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถย่อยแลคโตสซึ่งเป็นน้ำตาลที่พบในนมและผลิตภัณฑ์จากนม วิธีการนี้ทำเพื่อวินิจฉัยการแพ้แลคโตส
  • การตรวจลมหายใจเพื่อหาการแพ้ฟรุคโตส การตรวจนี้ช่วยประเมินว่ามีการดูดซึมฟรุคโตสซึ่งเป็นน้ำตาลที่พบในหัวหอมใหญ่ อาร์ติโชค ลูกแพร์ และข้าวสาลี อย่างไม่สมบูรณ์หรือไม่ นอกจากนี้ฟรุคโตสยังใช้เป็นสารให้ความหวานในเครื่องดื่มบางชนิด หากมีอาการ เช่น ท้องอืด มีแก๊สในกระเพาะอาหาร ปวดเกร็ง และท้องร่วง อาจเกิดจากการดูดซึมฟรุคโตสที่ผิดปกติ
  • ภาวะการเจริญเติบโตมากเกินไปของแบคทีเรียในลำไส้เล็ก (Small Intestinal Bacterial Overgrowth: SIBO) การเจริญเติบโตของแบคทีเรียอย่างควบคุมไม่ได้ในลำไส้เล็กอาจทำให้เกิดภาวะนี้ได้ ซึ่งอาจทำให้มีอาการท้องอืด มีแก๊สมากเกินไป ปวดเกร็ง และท้องร่วง  

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ทางเดินอาหาร-ตับ

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์เฉพาะทางด้านการทำงานระบบทางเดินอาหาร

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 10.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 1 คน

Related Health Blogs