bih.button.backtotop.text

ศูนย์โรคไต

การบริการและการรักษา



ศูนย์โรคไต โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์  ประกอบด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ได้แก่ ทีมอายุรแพทย์โรคไต ศัลยแพทย์ผ่าตัดปลูกถ่ายไต ศัลยแพทย์หลอดเลือด ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ แพทย์เฉพาะทางอายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด อายุรแพทย์โรคทางเดินหายใจ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน ICU ทีมจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินสภาพจิตใจของผู้ป่วยปลูกถ่ายไต ทีมแพทย์เอกซเรย์ที่ชำนาญการวินิจฉัยด้านการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ฯลฯ อีกทั้งแพทย์สาขาอื่นๆ ที่จะดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไต โดยทำงานร่วมกันเป็นทีมสหวิชาชีพ (Multidisciplinary Team) ที่สำคัญอย่างยิ่ง โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มีคณะกรรมการปลูกถ่ายอวัยวะเนื้อเยื่อ (Organ & Tissue Transplant Committee) และมีคณะอนุกรรมการการปลูกถ่ายไต (Subcommittee Kidney) เพื่อกลั่นกรองกระบวนการปลูกถ่ายไตให้เป็นไปตามกฎระเบียบของแพทยสภา ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย และดูแลในการปลูกถ่ายไตให้ถูกต้องตามจริยธรรม

 

นอกจากนี้ ยังมีความพร้อมทางด้านบุคลากร และทีมงานอื่นๆ ที่สนับสนุน เช่น ทีมพยาบาลผู้ประสานงานการปลูกถ่ายอวัยวะ (Transplant Coordinator) ทีมพยาบาลประสานงานโรคไต ทีมพยาบาลที่ให้คำปรึกษาผู้ป่วย ทีมพยาบาลไตเทียมที่มีความเชี่ยวชาญการดูแลผู้ป่วย ก่อนและหลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ทีมพยาบาล ICU ที่จะดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไต และดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไตทุกรูปแบบ ทีมพยาบาลห้องผ่าตัด ทีมผู้เชี่ยวชาญทางห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจหาระดับยากดภูมิต้านทานหลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ทีมเภสัชกร ผู้ชำนาญเรื่องการจัดยากดภูมิต้านทานหลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ทีมนักโภชนากร ผู้แนะนำเรื่องอาหารให้ผู้ป่วยก่อนและหลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ทีมนักกายภาพที่จะฟื้นฟูสภาวะร่างกายหลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไต

 

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มีทีมแพทย์ผ่าตัดที่มีความพร้อมในการเดินทางไปผ่าตัดไตที่บริจาคจากสถานที่ต่าง ๆ นอกโรงพยาบาล และพร้อมจะผ่าตัดปลูกถ่ายไตให้ผู้ป่วยหลังจากไตบริจาคมาถึงโรงพยาบาล นอกจากนี้ยังมีทีมแพทย์ พยาบาลที่พร้อมในการดูแลผู้ป่วยภาวะหลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไต เช่น การติดเชื้อ การต่อต้านเนื้อเยื่อหลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ภาวะแทรกซ้อนด้านหัวใจ, สมอง, ภาวะแทรกซ้อนด้านทางเดินหายใจ, ด้านทางเดินอาหาร ฯลฯ

ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตและผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังควรได้รับการตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่
  1. การตรวจเลือด
    • การตรวจเลือดเพื่อประเมินอัตราการทำงานของไต
      • ตรวจค่าปริมาณยูเรียไนโตรเจนในเลือด (BUN)
      • ตรวจระดับครีเอตินิน (creatinine) และคำนวณอัตรากรองของไตโดยประมาณ [estimated glomerular filtration rate (eGFR)] โดยคำนวณจากระดับครีเอตินิน อายุ และน้ำหนักตัว
    • การตรวจเลือดเพื่อประเมินภาวะแทรกซ้อนของโรคไต
      • ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
      • ตรวจส่วนระดับเกลือแร่ในร่างกาย (โซเดียม โพแทสเซียม คลอไรด์ แคลเซียม ฟอสเฟต)
      • ตรวจปริมาณโปรตีนในเลือด
  2. การตรวจปัสสาวะ
    • การตรวจปัสสาวะและตะกอนในปัสสาวะ (เพื่อตรวจหาโรคไตและชนิดของโรคไต)
    • การตรวจระดับโปรตีนที่รั่วออกมาในปัสสาวะ
  3. การตรวจทางรังสีวิทยา: การอัลตราซาวนด์ไต (renal ultrasound) การตรวจการไหลเวียนของเลือดในไตโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (kidney dopplers) การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance angiography) การตรวจทางนิวเคลียร์ (renal scan)
    • เพื่อตรวจสอบการอุดตันในทางเดินปัสสาวะ (เช่น นิ่วในไต)
    • เพื่อประเมินขนาดของไต
    • เพื่อตรวจสอบโรคถุงน้ำในไต
    • เพื่อตรวจหาสาเหตุของโรคไต อาทิ อาการหลอดเลือดแดงที่ไตตีบหรือตัน
  • การชะลอการเสื่อมของไต โดยการควบคุมสาเหตุของโรคไต เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไตอักเสบ โรคถุงน้ำในไต โรคนิ่วที่ไต และการควบคุมระดับโปรตีนที่รั่วออกมากับปัสสาวะ
  • การรักษาภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะเลือดจาง ระดับเกลือแร่ในเลือดผิดปกติ
  • การบำบัดทดแทนไต มีหลายวิธี เช่น
 

เภสัชกรจะทำหน้าที่ดูแลการใช้ยาของผู้ป่วยโรคไตที่มักจะต้องรับประทานยาหลายขนานพร้อม ๆ กัน โดย:
  • ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวยา เช่น วิธีการรับประทาน ฤทธิ์ของยาที่มีต่อร่างกาย ผลข้างเคียงของยา รวมถึงวิธีการบรรเทาอาการข้างเคียงนั้น ๆ
  • เน้นย้ำให้ผู้ป่วยใช้ยาอย่างถูกต้อง
  • วิเคราะห์และค้นหาปัญหาเกี่ยวกับยา เช่น ปฏิกิริยาระหว่างยา การใช้ยาซ้ำซ้อนโดยไม่จำเป็น อาการแพ้ยา ฯลฯ และร่วมมือกับแพทย์ในการบรรเทาผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น
  • ทำการตรวจทานตัวยาสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจากแพทย์มากกว่าหนึ่งคน หรือมีโรคมากกว่าหนึ่งโรค
DSC_8026-1500.jpg
 
  • โปรแกรมโรคไตเรื้อรัง : แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคไตและสหสาขาวิชาชีพร่วมกันดูแลผู้ป่วย จัดให้มีการให้ความรู้และคำปรึกษาแก่ผู้ป่วย เพื่อชะลอการเสื่อมของโรคไตเรื้อรังและป้องกันอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ
DSC_7832-1500.jpg
 
  • โปรแกรมการผ่าตัดปลูกถ่ายไต : เป็นโปรแกรมที่เกิดจากความร่วมมือของหลากหลายสาขาวิชาชีพ ทั้งคลินิกอายุรกรรม ศัลยกรรม และหน่วยบริการผู้ป่วยภายใน 
  • การให้คำปรึกษาด้านโภชนาการ : เป็นการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่อาจจำเป็นต้องจำกัดปริมาณโปรตีน เกลือ ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อน
DSC_7915-1500.jpg
  • ห้องตรวจที่เป็นส่วนตัว 8 ห้อง
  • ห้องให้การรักษา
  • เครื่องมือสำหรับการวัดชีพจรและการเจาะเลือด
  • ห้องสอนแสดง (education room)
  • สื่อการสอน (คู่มือ คำแนะนำ แผ่นผลิก วีดิทัศน์)

 

อ่านรายละเอียด 
คู่มือเรื่อง “ไต และ การผ่าตัดปลูกถ่ายไต”
คลิก

พล.ร.ต.หญิง พญ. สีวิลา พิพัฒนนันท์

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์ - ไตวิทยา

ดูประวัติ

ผศ.นพ. ไกรฤกษ์ อธิรกุล

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์
อายุรศาสตร์ - ไตวิทยา

ดูประวัติ

ผศ.พญ.ดร. เสาวลักษณ์ ชูศิลป์

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์ - ไตวิทยา

ดูประวัติ

รศ.พญ. ธนันดา ตระการวนิช

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์
อายุรศาสตร์ - ไตวิทยา

ดูประวัติ

ศ.นพ. ขจร ตีรณธนากุล

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์ - ไตวิทยา

ดูประวัติ

พญ. นฤตยา วโรทัย

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์ - เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
อายุรศาสตร์ - ไตวิทยา

ดูประวัติ

พญ. สาวิตรี ทัฬหภัค

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์ - ไตวิทยา

ดูประวัติ

นพ. สุธีธัช สุขุมาลจันทร์

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์ - ไตวิทยา

ดูประวัติ

นพ. ทัตพงศ์ จิตเอื้ออารีย์

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์ - ไตวิทยา

ดูประวัติ

Contact Information

  • บริการพบแพทย์ผ่าน VDO call (Tele-Consultation) คลิก

Service Hours

  • ศูนย์โรคไต
    วันจันทร์-วันศุกร์
    08.00-20.00 น.
    วันเสาร์-วันอาทิตย์
    08.00-17.00 น.

Location

  • ศูนย์โรคไต 
    อาคาร A ชั้น 19
คะแนนโหวต 9.63 of 10, จากจำนวนคนโหวต 162 คน

Related Health Blogs