ศูนย์การเจริญพันธุ์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ พร้อมช่วยให้คู่สามีภรรยาสามารถเอาชนะอุปสรรคอันเนื่องมาจากปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการมีบุตรยาก โดยทีมแพทย์และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญของศูนย์กว่า 20 ท่านพร้อมจะให้คำแนะนำและการรักษาโดยพิจารณาวิธีที่เหมาะสมที่สุดกับผู้ป่วยแต่ละราย และเน้นการให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
คำถามทั่วไปเกี่ยวกับการรักษาภาวะมีบุตรยาก
- ฉันควรใช้หลักเกณฑ์ใดในการเลือกคลีนิคเพื่อรักษาภาวะมีบุตรยาก
การเลือกคลีนิคที่ถูกต้องอาจเป็นการตัดสินใจที่สำคัญที่สุดของขั้นตอนการรักษาภาวะมีบุตรยาก ถึงแม้ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีเกณฑ์ในการเลือกเฉพาะตน แต่คำถามสำคัญที่ควรพิจารณาเมื่อเลือกคลีนิคมีดังนี้
- คลีนิคมีใบอนุญาตรับรองและมีความน่าเชื่อถือหรือไม่
- คลีนิคตั้งอยู่ในทำเลที่สามารถเดินทางได้ง่าย สะดวกและปลอดภัยหรือไม่
- คุณรู้สึกสบายใจเมื่ออยู่ในคลีนิคหรือไม่
- ถ้าคุณมีประกันสุขภาพ ประกันสุขภาพของคุณครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลในคลีนิคที่คุณเลือกหรือไม่
- ฉันควรพยายายามตั้งครรภ์ตามธรรมชาติเป็นระยะเวลานานเท่าใดก่อนที่จะพบผู้เชี่ยวชาญด้านการเจริญพันธุ์
แพทย์แนะนำให้พยายามตั้งครรภ์ระหว่าง “ช่วงไข่สุก” ซึ่งเป็นเวลาก่อนไข่ตก 5 วันรวมกับวันไข่ตกและภายในช่วงเวลา 12-48 ชั่วโมงที่ไข่ตก
สตรีที่มีอายุเกิน 35 ปีควรพบผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเจริญพันธุ์หลังจากพยายามตั้งครรภ์ตามธรรมชาติเป็นเวลา 6 เดือนหรือมากกว่า สำหรับสตรีที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี ควรพบผู้เชี่ยวชาญด้านการเจริญพันธุ์หากไม่ประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติเป็นเวลา 1 ปีหรือมากกว่า
ในปัจจุบัน สมาร์ทโฟนมีแอพพลิเคชั่นที่ช่วยคำนวณวันไข่ตก ทำให้คุณสามารถดูช่วงเวลาที่มีโอกาสตั้งครรภ์มากที่สุด
- อัตราความสำเร็จของการฉีดเชื้อผสมเทียม (IUI) และเด็กหลอดแก้ว (IVF) มีมากน้อยเท่าใด
อัตราความสำเร็จแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย คู่สมรสบางคู่อาจต้องใช้พยายามถึง 3 ครั้งก่อนที่จะประสบความสำเร็จ คู่สมรสบางคู่ประสบความสำเร็จภายในครั้งแรก ขณะที่บางคู่อาจไม่สามารถตั้งครรภ์ได้
ปัจจัยที่ผลต่อความสำเร็จในการใช้
วิธีการ IUI และ IVF มาจากอายุและสาเหตุของการมีบุตรยาก รวมถึงวิธีการที่คุณเลือกใช้ในการรักษาภาวะมีบุตรยาก มีผลต่อความสำเร็จในการตั้งครรภ์เช่นเดียวกัน
- ฉันควรใช้วิธีการแบบดั้งเดิม เช่น การกำหนดเวลาในการมีเพศสัมพันธ์หรือการฉีดเชื้อผสมเทียม (IUI) ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) เป็นระยะเวลานานเท่าใด
การกำหนดเวลาในการมีเพศสัมพันธ์ช่วยเพิ่มโอกาสในการมีบุตรได้ ดังนั้นค
ู่สมรสควรพยายามใช้วิธีการกำหนดเวลาในการมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือนก่อนที่จะทำการรักษาภาวะมีบุตรยาก
ในปัจจุบัน คู่สมรสใช้การรักษาด้วยวิธีการ IUI โดยเฉลี่ย 3 ครั้งก่อนที่จะใช้วิธีการ IVF ในอดีต คู่สมรสจะพยายามใช้วิธีการ IUI ในการตั้งครรภ์ถึง 6 ครั้ง อย่างไรก็ตาม สถิติได้แสดงให้เห็นว่าหลักจากพยายามตั้งครรภ์ด้วยวิธีการ IUI ถึง 3 ครั้งแล้วแต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ โอกาสในการตั้งครรภ์ด้วยวิธีการนี้ ลดเหลือเพียงครึ่งเดียว
- ฉันจะวางแผนการเงินในการรักษาด้วยวิธีการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) อย่างไร แผนการประกันสุขภาพของฉันจะครอบคลุมการรักษาภาวะมีบุตรยากหรือไม่
คุณสามารถปรึกษาเราได้ที่คลีนิคเด็กหลอดแก้ว (IVF) และขอใบเสนอค่าใช้จ่ายในการรักษา อย่างไรก็ตาม คุณควรคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นหากความพยายามในการตั้งครรภ์ครั้งแรกไม่ประสบความสำเร็จ
คุณควรตรวจสอบกับบริษัทประกันของคุณเพื่อให้แน่ใจว่าประกันของคุณครอบคลุมการรักษาด้วยวิธีการ
IVF รวมถึงครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการรักษาภาวะมีบุตรยากนอกประเทศ
- ประกันสุขภาพของคุณมีข้อตกลงการชำระเงินโดยตรง (Direct Billing Agreement) กับโรงพยาบาลหรือไม่ โปรดคลิกที่ลิงค์ต่อไปนี้เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
- ฉันควรทำอย่างไรหากกังวลว่าความเครียดและอารมณ์ด้านลบจากการรักษาด้วยวิธีการ IVF จะส่งผลกระทบต่อตัวเองและครอบครัว
การทำ IVF อาจทำให้เกิดอารมณ์ขึ้นลงได้จากโอกาสในการเกิดความผิดหวังจากการทำ IVF อย่างไรก็ตาม มีวิธีการที่ช่วยให้คุณลดความเครียดและความวิตกกังวลได้ดังต่อไปนี้
- หาข้อมูลล่วงหน้า เรียนรู้เกี่ยวกับขั้นตอนและสถิติเกี่ยวกับความสำเร็จและความล้มเหลวในการรักษาด้วยวิธีการ IVF
- วางแผนค่าใช้จ่าย หากไม่ประสบความสำเร็จในครั้งแรก คุณจะเตรียมค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาครั้งที่สองหรือครั้งที่สามหรือไม่
- ปรึกษากับคู่สมรสของคุณถึงผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นเพื่อเตรียมตัวสำหรับผลลัพธ์ที่ได้
- ขอความสนับสนุนจากเพื่อนหรือคู่สมรสอื่นที่เคยผ่านการรักษาด้วยวิธีการ IVF มาก่อน
- มองหากำลังใจจากเพื่อนและครอบครัว
- เข้าร่วมกลุ่มสนับสนุนหรือชุมชนคู่สมรสที่ผ่านการทำ IVF
- พยายามกำจัดความเครียดอื่นๆเพื่อไม่ให้คุณมีความเครียดมากจนเกินไป
- หาวิธีการลดความเครียด เช่นออกกำลังกายหรือทำงานอดิเรก
คำถามเกี่ยวกับการรักษาด้วยวิธีการ IVF และ ICSI
- ความแตกต่างระหว่างการรักษาด้วย IVF และ ICSI คืออะไร
การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) และการฉีดอสุจอเข้าไปในเซลล์ไข่ (ICSI) คือการนำไข่และอสุจิจากคู่สมรสออกมาปฏิสนธิภายนอกร่างกาย ความแตกต่างอยู่ที่กระบวนการในการทำให้เกิดการปฏิสนธิ โดยที่การทำ IVF ปล่อยให้อสุจิและไข่ผสมกันเองตาม “ธรรมชาติ” ในขณะที่การทำ ICSI เป็นการคัดเชื้ออสุจิที่แข็งแรงสมบูรณ์เพียงตัวเดียวและใช้เข็มฉีดเข้าไปในไข่โดยตรง เพื่อช่วยเร่งกระบวนการและโอกาสในการปฏิสนธิ
- ฉันควรเลือกไข่รอบสดหรือไข่รอบแช่แข็งในการรักษาด้วย IVF/ICSI ไข่สองประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไร
ข้อดีของไข่รอบสด
- เป็นวิธีการที่ใช้มานานกว่า
- ไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยฮอร์โมนเพิ่มเติมหากประสบความสำเร็จ
- สามารถย้ายตัวอ่อนเข้าไปในมดลูกได้ทันที
ข้อดีของไข่รอบแช่แข็ง
- ร่างกายของคุณมีเวลาในการฟื้นฟูสู่สภาพปกติ
- คุณสามารถนัดเวลาในการใส่ตัวอ่อนได้
- มีผลข้างเคียงน้อยกว่า
- ไข่แช่แข็งสามารถเก็บได้เป็นระยะเวลานาน
- โอกาสประสบความสำเร็จสูงกว่าการใช้ไข่รอบสด
- การรักษาด้วยวิธีการ IVF/ICSI ใช้เวลานานเท่าไรและต้องอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลามากน้อยแค่ไหน
โดยปกติ ขั้นตอนการทำ IVF/ICSI ใช้เวลาประมาณ 3-8 สัปดาห์ (ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการนำไข่ออกมา การปฏิสนธิและการย้ายตัวอ่อน) โดยแต่ละกรณีมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ เช่น อายุ ภาวะเจริญพันธุ์และระดับฮอร์โมน
ระยะเวลาในการทำ IVF/ICSI มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- วงจรของการทำ IVF/ICSI เริ่มขึ้นในวันที่สองของการมีประจำเดือนของคุณในวันที่ใกล้เคียงกับการรักษาด้วยวิธีการ IVF มากที่สุด
- หลังจากนั้นแพทย์จะเริ่มกระบวนการกระตุ้นรังไข่ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 8-13 วัน
- แพทย์จะฉีดฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นให้ไข่ตก และทำการเก็บไข่แบบ OPD ไม่ต้อง admit
- อสุจิของฝ่ายชายจะถูกเก็บวันเดียวกับวันที่เก็บไข่ของฝ่ายหญิง ถ้าต้องมีการทำ TESE หรือการทำ PESA จะต้องทำก่อนวันที่เก็บไข่หรือในวันที่เก็บไข่
- การปฏิสนธิของไข่สดและไข่แช่แข็งใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังจากเก็บไข่ออกมา
- หากประสบความสำเร็จในการปฏิสนธิ การย้ายตัวอ่อนจะทำ 3 - 5 วันหลังจากนั้นหากคุณเลือกรอบสด หากคุณเลือกรอบแช่แข็ง คุณสามารถนัดวันย้ายตัวอ่อนหลังจากนั้นได้
- หลังจากย้ายตัวอ่อนได้ 9-12 วัน แพทย์จะทดสอบว่าคุณตั้งครรภ์หรือไม่
- ถ้าฉันตั้งครรภ์ด้วยวิธีการ IVF/ICSI ฉันต้องดูแลครรภ์ด้วยวิธีการที่แตกต่างจากวิธีการตั้งครรภ์ปกติอย่างไร
เมื่อประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์ด้วยวิธีการ IVF/ICSI สูติแพทย์จะนัดติดตามผลการตั้งครรภ์ ซึ่งรวมถึงการตรวจฮอร์โมนและการตรวจอัลตร้าซาวด์ อย่างไรก็ตามการตั้งครรภ์แต่ละครั้งมีความแตกต่างกันไม่ว่าจะตั้งครรภ์ด้วยวิธีการปกติหรือโดยการทำ IVF/ICSI
สูติแพทย์ของคุณอาจเลือกติดตามผลการตั้งครรภ์ของคุณในสัปดาห์แรกๆ หลังจากนั้นอาจส่งต่อให้สูติแพทย์ท่านอื่นต่อไป บางครั้งสูติแพทย์ของคุณอาจเป็นผู้ดูแลคุณตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์
นอกจากนี้ คุณอาจต้องมาพบแพทย์บ่อยกว่าการตั้งครรภ์โดยวิธีการปกติและอาจต้องได้รับยาหรือฮอร์โมนเพิ่มเติม
คำถามเกี่ยวกับกฎหมายในการรักษาภาวะมีบุตรยากในประเทศไทย
- ฉันจำเป็นต้องมีทะเบียนสมรส เพื่อเข้ารับการรักษาภาวะมีบุตรยากในประเทศไทยหรือไม่
จำเป็น เพราะประเทศไทยมีกฎหมายว่าคู่สมรสต้องจดทะเบียนสมรสจึงจะทำ IUI และ IVF ในประเทศไทยได้ คุณจำเป็นต้องนำทะเบียนสมรสติดตัวมาที่โรงพยาบาลด้วย
อย่างไรก็ตาม กฎหมายอนุญาตให้มีการกระตุ้นรังไข่และใช้ยาเพื่อให้เจริญพันธุ์บางชนิดได้โดยไม่จำเป็นต้องแต่งงาน
หากทะเบียนสมรสของคุณเป็นภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาไทย เราจำเป็นต้องแปลและให้สถานทูตของประเทศคุณที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯทำการรับรอง กรุณาติดต่อเราทางอีเมลล่วงหน้าเพื่อทราบข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมในกรณีของคุณ
- ฉันแต่งงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายกับเพศเดียวกันในประเทศของฉัน ฉันสามารถใช้วิธีการ IUI และ IVF ในประเทศไทยได้หรือไม่
ประเทศไทยไม่อนุญาตให้มีการรักษาเด็กหลอดแก้วกับคู่สมรสเพศเดียวกันที่ต้องการทำ IVF หรือ IUI ไม่สามารถทำในประเทศไทยได้ โดยกฎหมายบังคับใช้กับพลเมืองสัญชาติไทยและคู่สมรสต่างชาติ ถึงแม้จะแต่งงานอย่างถูกกฎหมายในต่างประเทศก็ตาม
- การบริจาคไข่สามารถทำในประเทศไทยได้หรือไม่
การบริจาคไข่ในประเทศไทยเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย แต่การบริจาคไข่เพื่อการค้าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายในประเทศไทยรวมถึงห้ามผู้รับบริจาคไข่รับไข่จากผู้บริจาคเกิน 1 คนในแต่ละรอบการรักษา
ผู้ที่ต้องการรับการบริจาคไข่จำเป็นต้องแสดงหลักฐานทะเบียนสมรสหรือทะเบียนหย่า และสามีของผู้รับบริจาคไข่ต้องลงนามใน “หนังสือแสดงความยินยอมรับไข่บริจาค” สำหรับผู้บริจาคไข่จำเป็นต้องลงนามใน “หนังสือแสดงความยินยอมในการบริจาคไข่”
ผู้บริจาคไข่ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- ต้องมีอายุระหว่าง 20-35 ปี
- ผ่านการตรวจประเมินสุขภาพกายและสุขภาพจิต
- ต้องมีสัญชาติเดียวกันกับผู้รับบริจาคไข่
- คู่สมรสของผู้บริจาคไข่ต้องลงนามใน “หนังสือแสดงความยินยอม”
- ไม่บริจาคไข่เกิน 3 ครั้งในชีวิต
- ข้อมูลผู้บริจาคไข่จะถูกจัดเก็บเป็นเวลา 20 ปี
- การบริจาคอสุจิในประเทศไทยทำได้หรือไม่
การบริจาคออสุจิเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายในประเทศไทย แต่การบริจาคอสุจิเพื่อการค้าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย
ผู้ที่ต้องการรับการบริจาคอสุจิจำเป็นต้องแสดงหลักฐานทะเบียนสมรส และคู่สมรสต้องลงนามใน “หนังสือแสดงความยินยอมรับอสุจิบริจาค” สำหรับผู้บริจาคอสุจิจำเป็นต้องลงนามใน “หนังสือแสดงความยินยอมในการบริจาคอสุจิ” ผู้บริจาคอสุจิสามารถบริจาคอสุจิได้เฉพาะกรณีที่เมื่อบริจาคแล้วมีการตั้งครรภ์จนได้บุตรไม่เกิน 10 ครอบครัว
ผู้บริจาคอสุจิต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- มีอายุระหว่าง 20-45 ปี
- ผ่านการตรวจประเมินสุขภาพกายและสุขภาพจิต
- คู่สมรสของผู้บริจาคอสุจิต้องลงนามใน “หนังสือแสดงความยินยอม”
- ต้องไม่เป็นญาติกับผู้รับอสุจิ
- ไม่มีประวัติการใช้ยาเสพติด
- ไม่มีประวัติการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ไม่มีประวัติการเป็นโรคทางพันธุกรรม
- ไม่มีประวัติเป็นโรคติดต่อ (เช่น HIV/AIDS)
- ผู้บริจาคอสุจิต้องยินยอมให้ตรวจหาเชื้อ HIV/AIDS ก่อนส่งตัวอย่างอสุจิและตรวจซ้ำอีกครั้งหลังจากตรวจครั้งแรก 6 เดือนก่อนใช้อสุจิในขั้นตอนการรักษา
- ข้อบังคับทางกฎหมายเกี่ยวกับการแช่แข็งไข่มีอย่างไรบ้าง
ข้อบังคับทางกฎหมายเกี่ยวกับการแช่แข็งไข่มีดังต่อไปนี้
- ก่อนการแช่แข็งไข่ ผู้ป่วยต้องลงนามใน “หนังสือแสดงความยินยอม”
- ผู้ป่วยต้องตรวจร่างกายเพื่อดูว่าเป็นโรคติดต่อหรือไม่
- ตรวจคัดกรองเพื่อแยกไข่ที่ “ติดเชื้อ” ออกจากไข่ที่ “ไม่ติดเชื้อ” (เช่น มีเชื้อ HIV/ไม่มีเชื้อ HIV)
- อาจไม่สามารถใช้ไข่ของภรรยาที่เสียชีวิตมานานกว่า 5 ปีได้
- สามีที่ต้องการใช้ไข่ของภรรยาที่เสียชีวิตไปแล้วต้องมีเอกสารยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากภรรยาก่อนเสียชีวิต
- ต้องรายงานกระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย) หากต้องการใช้ไข่ของภรรยาที่เสียชีวิตไปแล้ว
- ข้อบังคับทางกฎหมายเกี่ยวกับการแช่แข็งอสุจิมีอย่างไรบ้าง
ข้อบังคับทางกฎหมายเกี่ยวกับการแช่แข็งอสุจิมีดังต่อไปนี้
- ก่อนการแช่แข็งอสุจิ ผู้ป่วยต้องลงนามใน “หนังสือแสดงความยินยอม”
- ผู้ป่วยต้องตรวจร่างกายเพื่อดูว่าเป็นโรคติดต่อหรือไม่
- ตรวจคัดกรองเพื่อแยกอสุจิที่ “ติดเชื้อ” ออกจากอสุจิที่ “ไม่ติดเชื้อ” (เช่น มีเชื้อ HIV/ไม่มีเชื้อ HIV)
- ภรรยาที่ต้องการใช้อสุจิของสามีที่เสียชีวิตไปแล้วต้องมีเอกสารยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากสามีก่อนเสียชีวิต
- อาจไม่สามารถใช้อสุจิของสามีที่เสียชีวิตมานานกว่า 5 ปีได้
- ต้องรายงานต่อกระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย) หากต้องการใชอสุจิแช่แข็งของสามีที่เสียชีวิตไปแล้ว
- ข้อบังคับทางกฎหมายเกี่ยวกับการแช่แข็งตัวอ่อนมีอย่างไรบ้าง
ข้อบังคับทางกฎหมายเกี่ยวกับการแช่แข็งตัวอ่อนมีดังต่อไปนี้
- คู่สมรสที่ต้องการแช่แข็งตัวอ่อนต้องสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
- ก่อนการแช่แข็งตัวอ่อน ทั้งสามีและภรรยาต้องลงนามใน “หนังสือแสดงความยินยอม”
- คู่สมรสต้องตรวจร่างกายเพื่อดูว่าเป็นโรคติดต่อหรือไม่
- ตรวจคัดกรองเพื่อแยกตัวอ่อนที่ “ติดเชื้อ” ออกจากตัวอ่อนที่ “ไม่ติดเชื้อ” (เช่น มีเชื้อ HIV/ไม่มีเชื้อ HIV)
- สามีหรือภรรยาที่ต้องการใช้ตัวอ่อนของคู่สมรสที่เสียชีวิตไปแล้วต้องมีเอกสารยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากคู่สมรสก่อนเสียชีวิต
- ต้องรายงานต่อกระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย) หากต้องการใช้ตัวอ่อนแช่แข็งหลังการเสียชีวิตของคู่สมรส
- อาจไม่สามารถใช้ตัวอ่อนแช่แข็งของคู่สมรสที่เสียชีวิตมานานกว่า 5 ปีได้
- ในประเทศไทย สามารถตรวจคัดกรองความผิดปกติทางกันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนการฝังตัวได้หรือไม่
ประเทศไทยอนุญาตให้มีการตรวจคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนการฝังตัวและสามารถทำในกรณีดังต่อไปนี้
- ฝ่ายหญิงมีอายุเกิน 35 ปี
- ฝ่ายหญิงมีประวัติการแท้งมากกว่า 2 ครั้งในขณะอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ หรือผลการตรวจยืนยันว่า การแท้งครั้งก่อนเกิดจากทารกมีพันธุกรรมผิดปกติ
- มีประวัติตั้งครรภ์ที่ทารกมีความผิดปกติอันเนื่องจากความผิดปกติของโครโมโซม
- ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้หลังจากทำ IVF มาแล้ว 2 ครั้งติดต่อกัน
- เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมที่อาจถ่ายทอดสู่ตัวอ่อน
- เพื่อตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมในตัวอ่อน
- เพื่อรักษาบุตรที่ป่วยเป็นโรคด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดในสายสะดือของทารกแรกคลอดที่มีเนื้อเยื่อเข้ากันได้