bih.button.backtotop.text

การแช่แข็งเซลล์ไข่ (Egg Freezing)

ผู้หญิงในยุคปัจจุบันแต่งงานช้าลงกว่าเดิม ทำให้มีบุตรยากหรือหมดโอกาสมีบุตร รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงทารกจะมีความผิดปกติจากรังไข่ที่เสื่อมสภาพตามอายุ การเก็บรักษาไข่โดยวิธีการแช่แข็งช่วยเก็บรักษาไข่ที่มีสภาพสมบูรณ์ไว้จนกว่าจะถึงเวลาพร้อมใช้

การแช่แข็งเซลล์ไข่ (Egg Freezing) คืออะไร
การฝากไข่คือการเก็บรักษาเซลล์ไข่ในอุณหภูมิที่ต่ำเพื่อประโยชน์ในการวางแผนการตั้งครรภ์ในอนาคต



การฝากไข่เหมาะกับบุคคลหลายกลุ่ม เช่น
  1. คนที่วางแผนอยากจะมีบุตรในอนาคตแต่ยังไม่พร้อมมีบุตรในปัจจุบัน
  2. คนที่มีโรคที่ทำให้เกิดความเสื่อมของเซลล์สืบพันธุ์ได้ง่ายขึ้น เช่น โรคระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ เช่น เอสแอลอีหรือภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
  3. คนที่ต้องได้รับการรักษาที่มีผลต่อเซลล์สืบพันธุ์ เช่น การใช้เคมีบำบัด การฉายรังสีหรือการผ่าตัดที่เกี่ยวข้องกับรังไข่หรือระบบสืบพันธุ์เพศหญิง



  1. รักษาดูแลสุขภาพให้แข็งแรง
  2. หากิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ช่วยให้ผ่อนคลาย
  3. ทานอาหาร แร่ธาตุ หรือวิตามินเสริมที่ดีต่อระบบสืบพันธุ์ตามที่แพทย์แนะนำ อาทิเช่น สารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ เช่น วิตามิน D กรดโฟลิก
  4. พบแพทย์เพื่อประเมินสุขภาพ



 
  1. พบแพทย์เพื่อซักประวัติและตรวจร่างกายในการเตรียมพร้อมสำหรับการฝากไข่
  2. กระตุ้นไข่โดยฉีดยาบริเวณหน้าท้องซึ่งมักเริ่มประมาณวันที่ 2 หรือ 3 ของรอบเดือน
  3. ตรวจติดตามปริมาณ จำนวนไข่และขนาดของไข่กับแพทย์ประมาณ 3-4 ครั้ง
  4. เก็บไข่ที่สุกแล้ว ใช้เวลาทำประมาณ 30 นาที โดยไม่ทำให้รู้สึกเจ็บปวด
  5. เก็บรักษาไข่แช่แข็งในห้องปฏิบัติการเพื่อรอเวลามาใช้ไข่เพื่อการตั้งครรภ์



อัตราการอยู่รอดของไข่ที่แช่แข็งและละลายออกมาใช้อยู่ที่ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ ปฏิสนธิประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์และโอกาสในการตั้งครรภ์สำเร็จอยู่ที่ประมาณ 30-65 เปอร์เซ็นต์



 
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ใช้วิธีการใหม่ล่าสุดในการแช่แข็งที่เรียกว่า vitrification เป็นวิธีการเก็บถนอมเซลล์ไข่ที่อุณหภูมิ -196 °C ซึ่งตามทฤษฎีสามารถเก็บไข่ไว้ได้ตลอดไป แต่แนะนำให้นำออกมาใช้ภายใน 10 ปี โดยแพทย์จะนำเซลล์ไข่ไปผสมกับอสุจิของคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อผสมเรียบร้อยและกลายเป็นตัวอ่อน แพทย์จะย้ายตัวอ่อนกลับเข้าไปสู่โพรงมดลูกเพื่อนำไปสู่การตั้งครรภ์ต่อไป


การแช่แข็งไข่โดยทั่วไปแล้วค่อนข้างปลอดภัย แต่ก็อาจมีภาวะแทรกซ้อนได้ เช่นภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากจนเกินไป หรือ Ovarian hyperstimulation syndrome (OHSS)  ซึ่งบำรุงราษฎร์มีอัตราการเกิดน้อยมากเพียง 0.1% เท่านั้น 

ผลข้างเคียงหลังการฝากไข่
อาจมีผลข้างเคียงประการ เช่น มีอาการปวดท้องน้อย มีเลือดออกทางช่องคลอดปริมาณเล็กน้อย



Doctors Related

Related Centers

ศูนย์การเจริญพันธุ์

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 10.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 5 คน

Related Health Blogs