bih.button.backtotop.text

ภาวะการมีบุตรยากในเพศหญิง

ภาวะมีบุตรยาก คือ การที่คู่สมรส ที่ฝ่ายหญิงอายุน้อยกว่า 35ปี ไม่สามารถมีบุตรได้ หลังจากการมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอโดยไม่ได้คุมกำเนิดอย่างน้อยเป็นเวลา 12 เดือน หรือคู่สมรส ที่ฝ่ายหญิงอายุตั้งแต่ 35ปีไม่สามารถมีบุตรได้ ภายในเวลา 6 เดือน ภายหลังจากการมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอโดยไม่ได้คุมกำเนิด

สาเหตุที่พบได้บ่อยของภาวะมีบุตรยากในผู้หญิง
1.ความผิดปกติของฮอร์โมน ซึ่งส่งผลต่อการตกไข่ เช่น 
  • ภาวะระดับโปรแลคตินในเลือดสูง (Hyperprolactinemia) 
  • ถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ PCOS ( Polycystic ovarian syndrome)
  • ภาวะไม่ตกไข่เรื้อรัง (chronic anovulation)

2.มีความผิดปกติของท่อนำไข่ เช่น 
  • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ 
  • โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
  • พังผืดในอุ้งเชิงกราน
  • ภาวะท่อนำไข่บวมน้ำ (hydrosalpinx)
3.ความผิดปกติของมดลูก เช่น 
  • มีติ่งเนื้อในโพรงมดลูก
  • พังผืดในโพรงมดลูก (Uterine synechiae)
  • เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก (leiomyoma หรือ fibromyoma หรือ fibroid หรือ myoma uteri)

4.การลดลงของสมรรถภาพของรังไข่ (Ovarian Reserve)
  • โรคทางพันธุกรรม เช่น กลุ่มอาการโครโมโซม เอกซ์ เปราะ หรือ fragile X 
  • โรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดหรือการฉายรังสี

5.อายุและการลดลงของเซลล์ไข่


 
การวินิจฉัยภาวะการมีบุตรยากเริ่มด้วยการสืบประวัติการรักษาและตรวจร่างกายของผู้ป่วย อาจมีการตรวจเลือดเพื่อดูความผิดปกติของฮอร์โมนและโรคอื่นๆ เช่น
  • การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง
  • การตรวจ Ovarian reserve 
  • การฉีดสีตรวจท่อนำไข่ (Hysterosalpingography)
  • ส่องกล้องโพรงมดลูก (Hysteroscope)
  • การส่องกล้องตรวจช่องท้อง (Laparoscopy)
การรักษาภาวะมีบุตรยากนั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ตรวจพบ โดยแพทย์จะให้การรักษาเพื่อให้ตั้งครรภ์ตามธรรมชาติมากที่สุด อย่างไรก็ตามแม้จะรักษาตามสาเหตุแล้ว คู่สมรสบางคู่ก็ยังไม่สามารถมีบุตรได้และต้องใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเจริญพันธุ์ 
  • การให้ยา
  • การผ่าตัดเพื่อรักษาปัญหาทางด้านนรีเวช เช่น การตัดติ่งเนื้อในโพรงมดลูก, ผ่าตัดเนื้องอกมดลูก การผ่าตัดท่อนำไข่ตีบตัน  เป็นต้น
  • การใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์
  • การปฏิสนธิภายนอกร่างกายหรือเด็กหลอดแก้ว (IVF)
  • การผสมเทียมโดยการฉีดอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง (IUI)
  • การใช้ยาเพื่อกระตุ้นการทำงานของรังไข่ (ovarian stimulation)


 




Doctors Related

Related Centers

ศูนย์การเจริญพันธุ์

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs