bih.button.backtotop.text

การฝากไข่ เรื่องต้องรู้สำหรับคนอยากมีลูก

การฝากไข่ เรื่องต้องรู้สำหรับคนอยากมีลูก
ปัจจุบันคู่สมรสมักแต่งงานเมื่อมีอายุมากขึ้น ทำให้มีแนวโน้มในการมีบุตรช้าลง แต่เมื่อฝ่ายหญิงมีอายุมากขึ้น ปริมาณและคุณภาพของเซลล์ไข่จะลดลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อมีอายุมากกว่า 35 ปี ดังนั้นหากมีแผนว่าอยากมีบุตรในอนาคต สามารถเก็บรักษาเซลล์ไข่หรือฝากไข่เพื่อเพิ่มโอกาสการมีบุตรและโอกาสในการได้บุตรที่ปกติสูงขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้น

 
เซลล์ไข่คืออะไร
เซลล์ไข่คือเซลล์สืบพันธุ์เพศหญิงซึ่งเมื่อนำมาร่วมปฏิสนธิกับเซลล์สืบพันธุ์เพศชายหรืออสุจิ จะกลายเป็นตัวอ่อนและนำไปสู่การตั้งครรภ์

   
การฝากไข่คืออะไร
การฝากไข่คือการเก็บรักษาเซลล์ไข่ในอุณหภูมิที่ต่ำเพื่อประโยชน์ในการวางแผนการตั้งครรภ์ในอนาคต

 
การฝากไข่เหมาะสำหรับใครบ้าง
การฝากไข่เหมาะกับบุคคลหลายกลุ่ม เช่น
  • คนที่วางแผนอยากจะมีบุตรในอนาคตแต่ยังไม่พร้อมมีบุตรในปัจจุบัน
  • คนที่มีโรคที่ทำให้เกิดความเสื่อมของเซลล์สืบพันธุ์ได้ง่ายขึ้น เช่น โรคระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ เช่น เอสแอลอีหรือภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
  • คนที่ต้องได้รับการรักษาที่มีผลต่อเซลล์สืบพันธุ์ เช่น การใช้เคมีบำบัด การฉายรังสีหรือการผ่าตัดที่เกี่ยวข้องกับรังไข่หรือระบบสืบพันธุ์เพศหญิง
 
ต้องเตรียมตัวก่อนฝากไข่อย่างไรบ้าง
  1. รักษาดูแลสุขภาพให้แข็งแรง
  2. หากิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ช่วยให้ผ่อนคลาย
  3. ทานอาหาร แร่ธาตุ หรือวิตามินเสริมที่ดีต่อระบบสืบพันธุ์ อาทิเช่น สารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ เช่น วิตามิน D กรดโฟลิก
  4. พบแพทย์เพื่อประเมินสุขภาพ
 
การฝากไข่มีกระบวนการทั้งหมด 5 ขั้นตอนด้วยกัน ดังนี้
  1. พบแพทย์เพื่อซักประวัติและตรวจร่างกายในการเตรียมพร้อมสำหรับการฝากไข่
  2. กระตุ้นไข่โดยฉีดยาบริเวณหน้าท้องซึ่งมักเริ่มประมาณวันที่ 2 หรือ 3 ของรอบเดือน
  3. ตรวจติดตามปริมาณ จำนวนไข่และขนาดของไข่กับแพทย์ประมาณ 3-4 ครั้ง
  4. เก็บไข่ที่สุกแล้ว ใช้เวลาทำประมาณ 30 นาที โดยไม่ทำให้รู้สึกเจ็บปวด
  5. เก็บรักษาไข่แช่แข็งในห้องปฏิบัติการเพื่อรอเวลามาใช้ไข่เพื่อการตั้งครรภ์


ศูนย์การเจริญพันธุ์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มีทีมแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทางและเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการช่วยประเมินและคัดเลือกตัวอ่อนที่สมบูรณ์ที่สุด รวมถึงวิธีการเก็บถนอมเซลล์ไข่ที่ปลอดภัย เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้สำเร็จ
 


เรียบเรียงโดย ผศ.พญ. ชนัญญา ตันติธรรม


 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs