bih.button.backtotop.text

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ คือ โรคที่เกิดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ

สาเหตุ
ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่น่าจะเพิ่มโอกาสการเป็นมะเร็งชนิดนี้มีดังต่อไปนี้
  1. สูบบุหรี่
  2. อายุที่เพิ่มมากขึ้น
  3. กระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรังหรือติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ
  4. ประวัติการเป็นโรคในกระเพาะปัสสาวะ
  5. การใช้ยาเคมีบำบัด
  6. การใช้รังสีรักษาบริเวณกระดูกเชิงกราน
  1. ปัสสาวะมีเลือดปนออกมา
  2. ปัสสาวะบ่อย
  3. รู้สึกเจ็บเวลาปัสสาวะ
  4. ปวดหลังช่วงล่าง
  • ขั้น 0: พบเพียงเชื้อมะเร็งบริเวณผนังกระเพาะปัสสาวะเท่านั้น
  • ขั้น 1: พบเชื้อมะเร็งลึกลงไปในผนังกระเพาะปัสสาวะ
  • ขั้น 2: เชื้อมะเร็งลุกลามไปยังกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ
  • ขั้น 3: เชื้อมะเร็งลุกลามจากกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะไปยังเนื้อเยื่อชั้นต่างๆ และอาจลามไปถึงระบบสืบพันธุ์
  • ขั้น 4: เชื้อมะเร็งลุกลามขยายมาถึงผนังหน้าท้องหรือกระดูกเชิงกราน และอาจลามไปยังต่อมน้ำเหลืองในบริเวณต่างๆ ของร่างกาย

การรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็ง วิธีที่ใช้ทั่วไปในการรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ได้แก่

  1. การผ่าตัด เป็นวิธีหลักในการรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะตามระยะของโรคมะเร็ง ระดับความรุนแรง สาเหตุก่อเกิดโรคมะเร็ง ขนาดและจุดตำแหน่งของมะเร็ง รวมถึงการแพร่กระจายยังอวัยวะรอบข้าง
  2. รังสีรักษา เป็นการรักษาเสริมก่อนการผ่าตัดหรือหลังการผ่าตัด หรือที่ปฏิเสธการผ่าตัด
  3. เคมีบำบัด สามารถทำก่อนการผ่าตัดหรือหลังการผ่าตัด วิธีนี้สามารถส่งเสริมผลการรักษาของการผ่าตัด ช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

ทั้งนี้แพทย์จะพิจารณาทางเลือกในการรักษาที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วยแต่ละรายโดยพิจารณาจากสภาพร่างกายของผู้ป่วยในทุกๆ ด้าน

วิธีต่อไปนี้สามารถลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้
  • หยุดสูบบุหรี่หรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของยาสูบ
  • ปฏิบัติตามข้อกำหนดเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน
  • หลีกเลี่ยงการได้รับสารเคมี
  • ดื่มน้ำมากๆ
  • รับประทานอาหารที่มีกากใย

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดบำรุงราษฎร์

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.65 of 10, จากจำนวนคนโหวต 81 คน

Related Health Blogs