การใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (Robotic Surgery)
การใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ทำให้กระบวนการผ่าตัดที่มีความสลับซับซ้อนหรืออยู่ในตำแหน่งที่เข้าถึงยากทำได้อย่างแม่นยำ ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก เสียเลือดน้อย ฟื้นตัวได้เร็ว และช่วยลดภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัด
- ตัวหุ่นยนต์อยู่ข้างคนไข้ ทำการผ่าตัดเลียนแบบการเคลื่อนไหวของมือศัลยแพทย์ที่ควบคุมสั่งการอยู่ที่ console หุ่นยนต์นี้ประกอบด้วยแขนกล 4 แขน แขนที่1 ใช้ในการถือกล้องเพื่อส่งภาพอวัยวะภายในของผู้ป่วยออกมายังจอภาพของเครื่องสั่งการ (console)ให้ศัลยแพทย์เห็นเป็นภาพขยาย 3 มิติที่มีความลึกและคมชัด สามารถมองเห็นรายละเอียดต่างๆ ของอวัยวะภายในร่างกาย รวมถึงเนื้อเยื่อและเส้นประสาทได้อย่างชัดเจน แขนที่เหลืออีก 3 แขนก็ใช้ในการถือเครื่องมือหุ่นยนต์ที่มีข้อมือกล (wristed instruments) ที่สามารถหมุนและโค้งงอเครื่องมือได้ถึงเจ็ดทิศทาง จึงให้การเคลื่อนไหวของเครื่องมือหุ่นยนต์ทำได้เหมือนมือมนุษย์ แต่จะละเอียดและราบรื่นกว่าด้วยการช่วยเหลือปรับปรุงสัญญานโดยคอมพิวเตอร์
- ชุดควบคุมหรือสั่งการ (console) เป็นตำแหน่งที่ศัลยแพทย์นั่งควบคุมการผ่าตัดผ่านจอภาพ 3 มิติ ระหว่างการผ่าตัด ศัลยแพทย์จะนั่งประจำที่ console ทำการผ่าตัดโดยใช้ทั้งสองมือควบคุมเคลื่อนไหวก้านกลเหมือนผ่าตัดปกติ ระบบจะถ่ายทอดสัญญาณการเคลื่อนไหวจากมือศัลยแพทย์ไปยังแขนกลของหุ่นยนต์ที่ทำการผ่าตัดภายในร่างกายของผู้ป่วยเลียนแบบการเคลื่อนไหวของศัลยแพทย์
- คอมพิวเตอร์คอนโทรลทาวเวอร์ (Computer Control Tower) เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยควบคุม วิเคราะห์ และกรองข้อมูลสัญญานไปมาระหว่างหุ่นยนต์กับศัลยแพทย์
แพทย์ใช้หุ่นยนต์ดาวินชีในการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยหลายระบบอวัยวะ ตัวอย่างโรคในแต่ระบบที่เหมาะสมในการใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด เช่น
ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินสภาพร่างกายก่อนผ่าตัด โดยแพทย์จะประมวลข้อมูลจากการซักประวัติ การตรวจร่างกาย และการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเช่นเดียวกับการผ่าตัดด้วยวิธีอื่นๆ เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยมีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างแท้จริง
สำหรับการเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด จะประกอบไปด้วยการให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการให้ยาระงับความรู้สึก การดูแลหลังผ่าตัด และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น จากนั้นจึงเป็นการเตรียมสภาพร่างกายผู้ป่วย การให้ผู้ป่วยงดน้ำและอาหารก่อนผ่าตัด และการให้ยาต้านจุลชีพเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
การใช้หุ่นยนต์ดาวินช่วยในการผ่าตัดมีความเสี่ยงและอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเช่นเดียวกับการผ่าตัดแบบอื่นๆ ส่วนภาวะแทรกซ้อนนั้นขึ้นอยู่กับสภาพของผู้ป่วย โรค และระดับความรุนแรงของโรค
ทั้งนี้ การใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดไม่ได้เหมาะกับผู้ป่วยทุกราย แพทย์จะพิจารณาถึงความเหมาะสมและอธิบายถึงความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยเป็นรายบุคคล
Related conditions
แพทย์ที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง
โทรเพื่อทำการนัดหมาย
ติดต่อสอบถาม
นัดหมายแพทย์