bih.button.backtotop.text

เนื้องอกมดลูก

มดลูกของผู้หญิงมีลักษณะคล้ายลูกแพร์วางอยู่ระหว่างกระเพาะปัสสาวะที่อยู่ติดผนังท้องน้อยกับลำไส้ใหญ่ซึ่งอยู่ด้านหลังติดกระดูกก้นกบ (ปากมดลูกเป็นอีกส่วนประกอบหนึ่งที่ต่อเชื่อมกับช่องคลอด ส่วนปีกมดลูกเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างรังไข่กับมดลูก)
 
เนื้องอกที่มดลูก
เป็นก้อนเนื้อที่ไม่ใช่มะเร็งเกิดขึ้นในชั้นกล้ามเนื้อของมดลูก มีขนาดเล็กตั้งแต่เท่าหัวไม้ขีดไฟจนใหญ่ถึงขนาดลูกแตงโม

ชนิด
แบ่งตามตำแหน่งของชั้นกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นได้ 3 แบบ คือ
  1. ชนิดที่เกิดขึ้นในชั้นกล้ามเนื้อหนาของมดลูก (intramural)
  2. ชนิดที่เกิดตรงชั้นผิวนอกของมดลูก (subserosal)
  3. ชนิดที่เกิดตรงชั้นในสุดตรงโพรงของมดลูกหรือตรงภายใต้เยื่อบุของโพรงมดลูก (submucosal)
ยังไม่พบว่าอะไรเป็นสาเหตุโดยตรงให้เกิดโรคนี้ แต่เชื่อว่ากรรมพันธุ์อาจมีส่วน โรคนี้พบในผู้หญิงผิวดำมากกว่าผิวขาวหรือชาวเอเชีย พบในผู้หญิงวัย 30-50 ปีซึ่งยังมีประจำเดือน ผู้หญิงมีประจำเดือนตั้งแต่เด็กมาก เช่น ก่อนอายุ 12 ปีก็พบว่ามีโอกาสเป็นโรคนี้สูงกว่าคนทั่วไป ส่วนประเภทของยาคุมกำเนิดยังไม่พบว่ามีส่วนสัมพันธ์กับการเกิดโรคแต่อย่างใด รวมถึงการได้รับฮอร์โมนทดแทนเพื่อรักษาโรควัยทองยังไม่พบว่าจะทำให้ก้อนเนื้อชนิดนี้เติบโตแต่อย่างใด โรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคความดันโลหิตสูง อาจสัมพันธ์ทำให้เกิดเป็นโรคนี้ได้สูงกว่าคนทั่วไป 24%
ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดและตำแหน่งที่เนื้องอกเจริญเติบโตขึ้น เนื้องอกขนาดใหญ่ก่อให้เกิดอาการดังต่อไปนี้
  1. อาการที่พบบ่อยที่สุดคือ ประจำเดือนมามากและนานกว่าปกติ ในบางคนอาจจะมีเลือดออกนานถึง 2 สัปดาห์
  2. อาการปวดหน่วงตรงท้องน้อยหรือบริเวณหลัง หรือปวดเหมือนการปวดประจำเดือนที่มากหรือนานกว่าปกติ
  3. อาจคลำได้หรือรู้สึกได้ว่ามีก้อนเกิดขึ้นตรงบริเวณท้องน้อย หากก้อนโตมากๆ อาจดูเหมือนมีการตั้งครรภ์ในขณะที่ประจำเดือนยังมาตามปกติ
  4. เนื่องจากมดลูกอยู่ด้านหลังกระเพาะปัสสาวะ ดังนั้นก้อนเนื้อของมดลูกอาจทำให้เกิดการปัสสาวะเล็ด ปัสสาวะบ่อยขึ้น กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ โดยเฉพาะเวลาที่นอนราบลง
  5. อาจมีอาการหน่วงท้องและมีอาการท้องผูก หากก้อนเนื้อกดลงบนลำไส้ใหญ่
  6. อาการแน่นท้องจากก้อนที่โตเร็ว สงสัยการเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็ง โดยทั่วๆ ไปเป็นมะเร็งกล้ามเนื้อมดลูก แต่พบน้อยมาก
  7. อาการที่พบแต่ไม่บ่อย เช่น เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์
  8. ภาวะมีบุตรยาก
  9. แท้งบุตรง่าย
  1. กรณีเนื้องอกมดลูกขนาดเล็ก ควรเฝ้าติดตามอาการ การใช้ยา การอัลตราซาวนด์ติดตามขนาดของก้อนเป็นระยะ การวัดปริมาณเลือดที่ออก การรักษาอาการโลหิตจาง โดยสูตินรีแพทย์อาจทำการนัดตรวจเป็นระยะ ทุก 3-6 เดือน
  2. กรณีเนื้องอกในมดลูกส่งผลให้ผู้ป่วยเสียเลือดมาก จะใช้ยาเพื่อลดปริมาณการเสียเลือดและทำให้อาการทุเลาลง
  3. การผ่าตัดเฉพาะเนื้องอกมดลูกออก (myomectomy)
  4. การผ่าตัดนำมดลูกออก (hysterectomy) เฉพาะกรณีร้ายแรงและผู้ป่วยไม่ประสงค์จะตั้งครรภ์มีบุตรอีกต่อไป
การเลือกวิธีการรักษา ผู้ป่วยควรพิจารณาถึงความเสี่ยงและประโยชน์ที่จะได้รับก่อนตัดสินใจรับการรักษา เช่น การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต การใช้ยา การผ่าตัด และรักษาด้วยวิธีอื่นๆ
 
  1. การตรวจคัดกรอง โดยการตรวจร่างกายประจำปี สามารถตรวจได้กับผู้ป่วยทุกรายแม้จะยังไม่มีอาการก็ตาม
  2. การป้องกันมะเร็ง เช่น การหยุดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การหยุดสูบบุหรี่ และเข้ารับการตรวจร่างกายตั้งแต่เนิ่นๆ เป็นประจำ
  3. ปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อทำการตรวจและวินิจฉัยโรคเมื่อมีประจำเดือนมากผิดปกติ มีอาการปวดประจำเดือนมากกว่าปกติ มีอาการปวดร้าวไปที่ตำแหน่งอื่น หรือคลำได้ก้อนในบริเวณท้อง ท้องอืด หรือท้องโตผิดปกติ
  4. รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ เพราะไขมันเป็นแหล่งในการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งการรับประทานอาหารที่มีไขมันมากๆ จะทำให้ปริมาณของฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น
  5. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่พบได้สูงขึ้นในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน
  6. ออกกำลังกายเป็นประจำ ประมาณสัปดาห์ละ 4-5 ครั้ง เนื่องจากการออกกำลังกายจะช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนได้

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์สูติ-นรีเวช

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 10.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 4 คน

Related Health Blogs