bih.button.backtotop.text

ภาวะการหย่อนตัวของอวัยวะในอุ้งเชิงกราน

ภาวะอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อน หมายถึง การที่มดลูก กระเพาะปัสสาวะ หรือทวารหนัก เกิดการเคลื่อนตัวจากตำแหน่งเดิม

สาเหตุ
ปกติมดลูก กระเพาะปัสสาวะ และทวารหนัก จะได้รับการพยุงตัวโดยเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานในตำแหน่งที่ถูกต้อง หากเนื้อเยื่อหรือกล้ามเนื้อเหล่านั้นอ่อนแรงจะส่งผลให้มดลูกเกิดการหย่อนคล้อยลงมาต่ำลงจากตำแหน่งเดิมได้
  • รู้สึกอึดอัดเหมือนถูกกดทับบริเวณอวัยวะเพศ
  • รู้สึกหน่วงๆ เหมือนถูกดึงบริเวณเชิงกราน
  • รู้สึกปวดบริเวณช่องคลอด หลังส่วนล่าง หรือหน้าท้องส่วนล่าง
  • มีตกขาว (โดยเฉพาะในสตรีก่อนวัยหมดประจำเดือน)
  • ปัสสาวะเล็ดราด ปัสสาวะไหลช้า ปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะบ่อย
  • เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะบ่อยๆ
  • มีก้อนเนื้อโผล่มาตุงที่ปากช่องคลอดหรือหลุดออกมานอกช่องคลอด ทำให้มีอาการเจ็บ แสบ มีแผล
  • รู้สึกอึดอัดระหว่างการร่วมเพศ
การซักประวัติอาการ การตรวจร่างกาย และการตรวจทางนรีเวชวิทยา คือ การตรวจภายใน
  1. การฝึกขมิบช่องคลอด ในกรณีที่มดลูกหย่อนคล้อยยังไม่รุนแรงมากนักทำได้โดยการบริหารกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานโดยการขมิบช่องคลอด เป็นวิธีที่ง่ายและสามารถทำได้ทุกที่ ทุกเวลา การขมิบสามารถทำได้โดย
    • เกร็งกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานเหมือนเวลาที่กลั้นปัสสาวะ
    • เกร็งไว้เช่นนั้นและนับ 1-10 จากนั้นค่อยๆ คลายออกช้าๆ
    • ทำซ้ำ 10 ครั้ง และควรทำเช่นนี้ 3 ครั้งใน 1 วัน อย่างน้อย 4 วันใน 1 สัปดาห์
  2. การใส่ห่วงพยุงช่องคลอด (Pessary) คืออุปกรณ์ที่ทำจากยางมีลักษณะเหมือนโดนัท แพทย์จะทำการใส่อุปกรณ์ชนิดนี้เข้าไปทางช่องคลอดและดันขึ้นไปข้างบนเพื่อทำให้มดลูกและกระเพาะปัสสาวะอยู่ในตำแหน่งเดิม วิธีนี้จะช่วยป้องกันการหย่อนคล้อยได้ชั่วคราว แต่จำเป็นต้องถอดออกเพื่อทำความสะอาดเป็นประจำ และควรถอดออกก่อนการมีเพศสัมพันธ์
  3. การผ่าตัด จะทำในรายที่มีการหย่อนของผนังช่องคลอดหรือมดลูก กระเพาะปัสสาวะ และทวารหนักค่อนข้างมาก เช่น การทำรีแพร์ การตัดมดลูก การผ่าตัดแก้ไขภาวะปัสสาวะเล็ด เป็นต้น โดยผู้ป่วยและแพทย์ต้องมีการพูดคุยกันถึงเรื่องความเสี่ยงและประโยชน์ที่จะได้รับจากทางเลือกการผ่าตัดชนิดต่างๆ
  • ฝึกขมิบเป็นประจำ โดยเฉพาะก่อนและหลังการคลอดบุตร
  • หลีกเลี่ยงอาการท้องผูก เนื่องจากการเบ่งอุจจาระเมื่อท้องผูกทำให้กล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานเกร็งไปด้วย
  • ควบคุมน้ำหนักโดยการเลือกรับประทานอาหารและออกกำลังกาย
  • งดสูบบุหรี่ หากท่านเป็นผู้ที่สูบบุหรี่อยู่ควรหยุดทันที การสูบบุหรี่ก่อให้เกิดอาการไอเรื้อรัง ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานอ่อนแรงลงได้
  • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
  • ปรึกษาแพทย์เรื่องการบำบัดโดยการใช้ฮอร์โมนทดแทน (Hormone Replacement Therapy: HRT) ในสตรีวัยหมดประจำเดือน ซึ่งอาจช่วยทำให้กล้ามเนื้อไม่อ่อนแรงและป้องกันภาวะมดลูกหย่อนคล้อยได้ อย่างไรก็ตาม การใช้ฮอร์โมนทดแทนอาจมีความเสี่ยงบางประการ ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ให้ชัดเจนเกี่ยวกับประโยชน์และความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการมีบุตรที่มากเกินไป

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์สูติ-นรีเวช

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs