bih.button.backtotop.text

เคมีบำบัด

การรักษาด้วยเคมีบำบัด หมายถึง การให้ยาซึ่งมีฤทธิ์ทำลายหรือหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้อร้าย บางครั้งอาจมีผลทำให้เซลล์ปกติของร่างกายถูกทำลาย ส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปากอักเสบ เบื่ออาหาร ภูมิต้านทานต่ำ ท้องเสีย ผมร่วง ซึ่งอาการเหล่านี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของยา สภาวะความแข็งแรงของร่างกาย รวมถึงความพร้อมทางด้านจิตใจของผู้ป่วย

วิธีการให้เคมีบำบัดแบ่งเป็น 2 วิธี
ยาเคมีบำบัดสามารถบริหารเข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วยได้หลายวิธี ได้แก่
  • เคมีบำบัดชนิดรับประทาน
  • เคมีบำบัดชนิดฉีดเข้าเส้นเลือด
ระยะเวลาในการรักษาด้วยเคมีบำบัดขึ้นอยู่กับชนิดของโรค ระยะของโรค และการตอบสนองต่อยา โดยปกติยาเคมีบำบัดจะให้เป็นชุด ใช้เวลา 1-5 วันต่อชุด แต่ละชุดห่างกัน 3-4 สัปดาห์ ซึ่งผู้ป่วยอาจได้รับเคมีบำบัดเฉลี่ย 6-8 ชุด (ขึ้นกับแผนการรักษาของแพทย์) โดยผู้ป่วยควรมารับยาตามนัดทุกครั้งเพื่อผลการรักษาที่ดี
  • ด้านร่างกาย
    • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
    • พักผ่อนให้เพียงพอและเพิ่มการนอนพักในช่วงกลางวันอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงต่อวัน
    • หากมีโรคประจำตัว เช่น หัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคที่ต้องรับประทานยาเป็นประจำ ต้องแจ้งให้แพทย์ผู้รักษาทราบ
  • ด้านจิตใจ
    • ควรทำอารมณ์และจิตใจให้พร้อมรับการรักษา
    • ลดความกลัวและความวิตกกังวลลง
    • มั่นใจในวิทยาการสมัยใหม่ ซึ่งสามารถลดอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้
    • ถ้าท่านรู้สึกไม่สบายใจเกี่ยวกับโรค การรักษา การดูแลตนเอง ควรปรึกษาแพทย์และพยาบาล
  • สังเกตผิวหนังบริเวณที่ฉีดยา ถ้ารู้สึกปวด บวม แดง หรือสงสัยมียารั่วซึมออกนอกหลอดเลือด ต้องแจ้งพยาบาลทันที
  • ดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยขับสารเคมีที่อาจตกค้างในร่างกายออกทางปัสสาวะ
  • ถ้ามีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ให้แจ้งพยาบาลทันที  
  • เบื่ออาหาร
    • รับประทานอาหารทีละน้อยๆ แต่แบ่งเป็นหลายๆ มื้อ
    • ดูแลความสะอาดของช่องปากและฟัน
    • ควรออกกำลังกายเบาๆ ก่อนมื้ออาหาร 5-10 นาที
  • ท้องเสีย
    • งดอาหารประเภทหมักดอง
    • รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย ไม่มีกาก
    • ดื่มน้ำเกลือแร่เสริม
    • ถ้าอาการไม่ทุเลากรุณาแจ้งให้พยาบาลทราบเพื่อดำเนินการแก้ไข
  • อ่อนเพลีย ภาวะซีด
    • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น แป้ง เนื้อสัตว์ นม ไข่ ผัก ผลไม้
    • พักผ่อนให้เพียงพอ เพิ่มการนอนพักกลางวัน วันละ 1-2 ชั่วโมง
  • เยื่อบุช่องปากอักเสบ
    • รักษาความสะอาดในช่องปาก แปรงฟันด้วยแปรงสีฟันขนนุ่มๆ บ้วนปากด้วยน้ำหรือน้ำเกลือบ่อยๆ และหลังรับประทานอาหาร
    • รับประทานอาหารอ่อนและดื่มน้ำมากๆ หลีกเลี่ยงอาหารร้อนจัด รสจัด
    • งดบุหรี่ เหล้า
  • ภูมิต้านทานต่ำ ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
    • ดูแลรักษาความสะอาดทั่วไป
    • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชน เช่น โรงภาพยนตร์ ศูนย์การค้า
    • หลีกเลี่ยงกับการใกล้ชิดกับบุคคลที่เป็นโรคติดต่อ เช่น ไข้หวัด วัณโรค
    • รับประทานอาหารที่สุก สะอาด งดผักสด
    • สังเกตการติดเชื้อ เช่น มีไข้สูง เจ็บคอ ปัสสาวะแสบขัด หากมีอาการให้แจ้งแพทย์หรือพยาบาลทราบ
  • ผมร่วง เคมีบำบัดบางชนิดทำให้ผมร่วงหมดศีรษะ แนะนำให้ซื้อวิกผมมาใส่ช่วงที่ได้รับยาเคมีบำบัด เมื่อจบการรักษาผมจะงอกขึ้นมาเป็นปกติ
 
โปรดระลึกไว้เสมอว่า อาการข้างเคียงเหล่านี้อาจเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้ ถ้าเกิดขึ้นจะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อหยุดการรักษาอาการต่างๆ ก็จะหายไป
 
  • ท่านควรปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปอีกประมาณ 1 เดือนเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
  • กรณีมีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียนมาก ท้องเสียรุนแรง มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง หรือมีเลือดออกจากอวัยวะต่างๆ ก่อนถึงวันนัดครั้งต่อไปให้ติดต่อเพื่อนัดพบแพทย์ก่อนวันนัดเดิม
  • กรณีไม่มีอาการผิดปกติควรมาตรวจสม่ำเสมอตามวันนัด

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.13 of 10, จากจำนวนคนโหวต 236 คน

บทความที่เกี่ยวข้อง