bih.button.backtotop.text

ปรับชีวิต แก้ปัญหานอน

04 สิงหาคม 2565
ปัญหาการนอนหลับเป็นปัญหาที่พบได้ทุกช่วงวัยและมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก เช่น รู้สึกง่วงหรืออ่อนเพลียในเวลากลางวันทำให้มีผลกระทบในการทำงาน การเรียน และอาการหลงลืมอีกด้วย โดยการนอนที่ดีต้องมีทั้งคุณภาพและปริมาณที่เหมาะสม รวมถึงเวลาที่เหมาะสมด้วย

ปัญหาการนอนที่พบได้บ่อย
  1. นอนไม่พอ คือนอนหลับไม่ถึง 8 ชั่วโมงต่อวัน นอนหลับไม่มีคุณภาพ หรือนอนน้อยเนื่องจากกิจกรรมต่างๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคอดนอนเรื้อรังได้
  2. นอนไม่หลับ อาจเกิดจากโรคที่เกิดขณะหลับ โรคทางกาย โรคทางสมอง หรือภาวะทางจิตใจ เช่น อัลไซเมอร์ อาการปวดหลัง ปวดขา โรคซึมเศร้า หรือการนอนไม่หลับที่มาจากสถานที่นอนไม่เหมาะสม เช่น แสง เสียง อุณหภูมิ ดูโทรทัศน์ โทรศัพท์ก่อนนอน  การเปลี่ยนสถานที่นอน หรือเดินทางข้าม time zone
  3. นอนกรน เกิดจากการหย่อนตัวของทางเดินหายใจส่วนต้น ทำให้การนอนไม่มีคุณภาพ ขาดออกซิเจนขณะหลับ นำไปสู่โรคนอนกรนหยุดหายใจ
  4. โรคอื่นๆ เช่น ละเมอพูด ละเมอเดิน โรคง่วงนอนมากเกินไป โรคขากระตุกขณะหลับ

ปรับพฤติกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาการนอนด้วยตัวเอง
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ เครื่องดื่มคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ก่อนนอน
  • เข้านอนและตื่นนอนในเวลาเดิมทุกวัน
  • ไม่ดูทีวี ใช้โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์อย่างน้อยครึ่งชั่วโมงก่อนนอน
  • สร้างสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้มืด เงียบสงบด้วยอุณหภูมิที่เย็นพอเหมาะ
  • งดทำกิจกรรมทางกาย เช่น ออกกำลังกายใกล้เวลานอนเกินไป
  • นอนในท่าที่เหมาะสม สำหรับผู้ที่นอนไม่หลับ คือ นอนตะแคงงอเข่าขึ้นไปทางหน้าอกเล็กน้อย ช่วยลดแรงกดบนเนื้อเยื่อกระดูกสันหลังและช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
  • นอนหลับบนที่นอนสำหรับการนอนเท่านั้น ไม่นอนหลับบนโซฟา หรือเก้าอี้

เมื่อไหร่ควรมาพบแพทย์

โดยส่วนมากโรคที่เกิดขณะหลับเป็นโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยมักจะชินกับอาการที่เป็นมานานจนละเลยไป ผู้ป่วยควรสำรวจตัวเองและถามคนข้างๆ ว่าตัวผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้หรือไม่

  • นอนกรนดังผิดปรกติ
  • มีอาการหายใจลำบาก สะดุด หรือเห็นว่ามีการหยุดหายใจขณะหลับ
  • ปัสสาวะบ่อยกลางคืน
  • นอนไม่หลับ ตื่นบ่อย ตื่นมาไม่สดชื่น
  • มีอาการง่วงนอนกลางวันมากผิดปกติ ทั้งที่ได้นอนอย่างเพียงพอแล้ว
  • ปวดหัวกลางคืนหรือหลังตื่นนอน
  • มีพฤติกรรมการนอนผิดปกติอื่น ๆ เช่น นอนแขนขากระตุก นอนกัดฟัน หรือ นอนละเมอ นอนฝันร้ายบ่อยๆ
  • มีปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
  • มีโรคประจำตัวบางอย่าง ที่มีโอกาสจะเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับสูง 50-90 เปอเซนต์ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะคนที่กินยาความดันหลายตัว
    โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคสมองเสื่อม


ที่มา พญ. ดารกุล พรศรีนิยม แพทย์ชำนาญการด้านประสาทวิทยาและเวชศาสตร์การนอนหลับ


 

รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs