bih.button.backtotop.text

โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง Inflammatory Bowel Disease (IBD)

Inflammatory Bowel Disease (IBD) เป็นกลุ่มโรคที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร ซึ่งสามารถจำแนกโรคออกได้ 2 โรค คือ Ulcerative Colitis (UC) และ Crohn’s disease (CD)

กลุ่มอาการของโรค IBD
อาการของโรค Ulcerative Colitis (UC) และโรคโครห์น (Crohn’s disease) มีลักษณะของอาการบางอย่างคล้ายกัน เช่น การถ่ายอุจจาระผิดปกติ ถ่ายบ่อย อุจจาระปนมูกเลือด ท้องเสียอย่างรุนแรง ปวดท้อง บางครั้งมีอาการอื่น ได้แก่ เหนื่อยล้า ไม่สบายตัว เบื่ออาหาร และมีไข้ร่วมด้วย ระดับความรุนแรงและอาการแสดงในระบบทางเดินอาหารของโรค IBD ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคที่มีการอักเสบ ตำแหน่งของทางเดินอาหารที่มีการอักเสบ ถึงอย่างไรก็ตามร้อยละ 25 ในกลุ่ม IBD อาจมีอาการที่เกิดจากการอักเสบของโรคที่นอกเหนือจากระบบทางเดินอาหาร เช่น การเกิดข้ออักเสบบริเวณกระดูกสันหลังหรือกระดูกเชิงกราน ทำให้เกิดอาการบวม ปวด และมีการเคลื่อนไหวร่างกายได้จำกัด มีลักษณะทางผิวหนังที่หยาบกร้าน แข็งกระด้าง โดยเฉพาะบริเวณแขนและขา ผิวพรรณมีสีม่วงอมแดง บริเวณปุ่มข้อศอก ตาตุ่ม นูนแข็ง หนาเป็นปื้น อาการผิดปกติที่บริเวณดวงตาโดยเฉพาะม่านตาและเยื่อตา มีอาการตับอักเสบร่วมด้วย
เป็นโรคที่เกิดเฉพาะบริเวณลำไส้ใหญ่เท่านั้น ในระยะเฉียบพลันของโรคผู้ป่วยจะมีอาการท้องเสียอย่างรุนแรง ถ่ายปนมูกหรือเลือดสด อาการแสดงขึ้นอยู่กับการอักเสบว่ามีความรุนแรงของโรคส่วนของลำไส้ใหญ่ที่มีการอักเสบมีบริเวณมากน้อยเพียงใด และตำแหน่งของลำไส้ใหญ่ หากมีอาการที่บริเวณลำไส้ส่วนปลายสุดจะพบว่ามีอาการปวดถ่ายตลอดเวลา
เป็นโรคที่พบได้ในทุกส่วนของระบบทางเดินอาหารซึ่งเริ่มจากช่องปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และทวาร ถึงอย่างไรก็ตามส่วนมากที่มักพบคือส่วนปลายของลำไส้เล็กและส่วนต้นของลำไส้ใหญ่ ในช่วงเริ่มต้นของโรคนั้นผู้ป่วยจะมีอาการแสดงเพียงไม่กี่อย่างหรือไม่มีเลย โดยเฉพาะในรายที่ลำไส้ใหญ่มีพยาธิสภาพเพียงบางส่วน กรณีนี้ผู้ป่วยจะไม่มีอาการท้องเสียแต่อาจรู้สึกปวดท้อง โรคโครห์นมักจะพบร่วมกับภาวะทุพโภชนาการ ภาวะซีด น้ำหนักตัวลดลง ประมาณร้อยละ 30 ของผู้ป่วยโรคโครห์นที่บริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลายและทวารหนักอาจเกิดเป็นแผลชอนทะลุจากการอักเสบของฝีกับอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ช่องคลอด กระเพาะปัสสาวะ หรือบริเวณผิวหนังรอบทวาร
สาเหตุที่แท้จริงของ IBD นั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด สันนิษฐานว่าอาจเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร หรือการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนวัตถุกันเสีย หรือแม้กระทั่งความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายผู้ป่วยเอง
หากคุณสงสัยในอาการที่มี ควรได้รับการตรวจแบบเฉพาะ ดังนี้
  • การตรวจร่างกาย: เน้นเป็นพิเศษในการตรวจบริเวณช่องท้องและทวารหนัก
  • การตรวจในห้องปฏิบัติการ: การส่งตรวจตัวอย่างเลือดและอุจจาระ
  • การทำอัลตราซาวนด์: เป็นการอัลตราซาวนด์บริเวณช่องท้อง เพื่อตรวจดูความผิดปกติเบื้องต้น และใช้ในการคัดกรองจากโรคอื่นๆ
  • การส่องกล้อง: แพทย์สามารถมองเห็นผนังลำไส้ได้โดยตรงด้วยวิธีนี้ นอกจากนี้แพทย์สามารถนำเนื้อเยื่อออกมาจากบริเวณที่มีการอักเสบเพื่อส่งตรวจทางพยาธิ
  • การตรวจทางรังสีวิทยา: การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การใช้สารแบเรียมร่วมกับเอกซเรย์ เช่น Barium Enema, Small Bowel Series
  • การศึกษาโดยใช้กล้องแคปซูลเพื่อตรวจดูลำไส้เล็ก
การรักษา IBD มีอยู่ 4 กลุ่มทางเลือกด้วยกัน คือ
  • การใช้ยา
  • การจัดการด้านอาหาร
  • การดูแลให้คำแนะนำ การประคับประคองทางอารมณ์       
  • การผ่าตัด
 
เป้าหมายหลักที่สำคัญของการรักษาคือการบรรเทาอาการของโรค (เช่น ท้องเสีย ปวดท้อง การเสียเลือดทางอุจจาระ) อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น (เช่น ฝี ฝีคัณฑสูตร) และป้องกันการกลับเป็นซ้ำได้
 
สิ่งสำคัญของผู้ป่วยโรคโครห์นคือ การงดสูบบุหรี่ ผู้ป่วยที่งดสูบบุหรี่ได้จะทำให้การเกิดกลับเป็นซ้ำของโรคลดลงร้อยละ 60 ภายในช่วงเวลา 2 ปี
แม้ว่า IBD จะเป็นโรคเรื้อรังที่มีช่วงอาการสงบและช่วงอาการกำเริบ แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ด้วยการทราบวิธีการปฏิบัติตนไว้ในเรื่องต่อไปนี้
  • เรียนรู้และเข้าใจในร่างกายตนเองว่าโรค IBD จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายอย่างไร
  • เรียนรู้การดูแลตัวเอง
  • เสริมสร้างกำลังใจและความมั่นคงทางจิตใจจากครอบครัว เพื่อน หรือกลุ่มผู้ป่วยด้วยกันเอง
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของทีมแพทย์อย่างเคร่งครัด

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์ทางเดินอาหาร-ตับ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.52 of 10, จากจำนวนคนโหวต 50 คน

Related Health Blogs