เคล็ดลับการดูแลตัวเองเมื่อต้องอยู่ร่วมกับโรคพาร์กินสัน
การใช้ชีวิตอยู่กับ
โรคพาร์กินสันเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับผู้ป่วยและครอบครัว แต่การดูแลตัวเองอย่างเหมาะสมสามารถช่วยให้ผู้ป่วยรับมือกับความท้าทายและนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ช่วยชะลอการลุกลามของอาการโรคพาร์กินสัน โดยเพิ่มความแข็งแรงของสุขภาพกายและสุขภาพสมองของผู้ป่วยโดยรวม ตั้งแต่การเคลื่อนไหว การทรงตัว การนอนหลับและอารมณ์ที่ดีขึ้น ผู้ป่วยควรเลือกการออกกำลังกายที่ตนเองชื่นชอบและเพื่อช่วยชะลอการดำเนินของโรค ด้วยองค์ประกอบต่อไปนี้
- การออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่ช่วยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ เช่น การเดินเร็ว การวิ่ง
- การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เช่น การฝึกยกน้ำหนัก
- การทรงตัว เพื่อช่วยลดความเสี่ยงการหกล้ม เช่น โยคะ ไทชิ
- การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและความคล่องตัว เช่น โยคะ พิลาติส
- การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ช่วยชะลอการดำเนินอาการของโรคพาร์กินสัน ด้วยการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น อาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียน อาหารที่มีกากใยสูง อาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดี เช่น ปลา ถั่ว ธัญพืชเต็มเมล็ด ผลไม้ ผักใบเขียวเข้ม ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ และดื่มน้ำอย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน
- การเข้าสังคม พบปะกับผู้อื่น อาการของโรคพาร์กินสัน เช่น อาการพูดลำบาก อาการสั่น การแสดงออกทางสีหน้าที่ลดลง อาจทำให้ผู้ป่วยพาร์กินสันรู้สึกโดดเดี่ยว ไม่อยากเข้าสังคม แต่การเข้าสังคมกับคนที่ทำให้รู้สึกสบายใจและให้กำลังใจมีประโยชน์ต่อสมอง เพราะช่วยกระตุ้นความสนใจและความจำ ช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น
- การทำงานอดิเรก การได้ทำกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ชื่นชอบทำให้ผู้ป่วยได้คลายเครียด มีอารมณ์ที่ดีและมีความมั่นใจในตัวเองมากยิ่งขึ้น ผู้ป่วยสามารถเลือกทำกิจกรรมที่ตนเองชื่นชอบได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเล่นกีฬา การขับรถ การเต้นรำ งานศิลปะต่างๆ
- การทำกายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัดและการฝึกพูด การเริ่มฟื้นฟูร่างกายตั้งแต่ได้รับการวินิจฉัย ช่วยชะลอการลุกลามของโรคและช่วยให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันได้ดียิ่งขึ้น
- การทำกายภาพบำบัด ช่วยเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหวและควบคุมอาการของโรคพาร์กินสัน ตั้งแต่การเดิน การทรงตัว
- การทำกิจกรรมบำบัด ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตอย่างเป็นอิสระในการทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน
- การบำบัดการพูด ช่วยปรับปรุงการพูด การออกเสียงและการกลืน
- การจัดการกับความเครียด ด้วยเทคนิคผ่อนคลายความเครียด เช่น การฝึกสมาธิ การนวดบำบัด ช่วยลดอาการวิตกกังวล ซึมเศร้าและคลายความเจ็บปวด ทำให้นอนหลับได้ดียิ่งขึ้น
คลินิกโรคพาร์กินสันและการเคลื่อนไหวผิดปกติ ศูนย์ประสาทวิทยา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ประกอบด้วยทีมแพทย์และทีมสหสาขาวิชาชีพผู้ชำนาญเฉพาะทาง เช่น แพทย์ผู้ชำนาญด้านประสาทวิทยา แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู จิตแพทย์ นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักแก้ไขการพูด นักโภชนาการร่วมให้คำปรึกษา วินิจฉัย และวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยแต่ละบุคคล
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 02 พฤษภาคม 2568