โรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease) เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของสมองอย่างช้าๆ ในบริเวณส่วนลึกเบซอลแกงเกลีย และก้านสมองมิดเบรน ในส่วนสับสแตนเชียในกรามีความผิดปกติ ซึ่งเซลล์สมอง ส่วนนี้มีความสําคัญในการสร้างสารสื่อประสาทที่เรียกว่า โดพามีน ซึ่งช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องทําให้ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมีปัญหา เรื่องการเคลื่อนไหวผิดปกติซึ่งเป็นอาการที่สำคัญของโรค
สาเหตุของโรคพาร์กินสัน
ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน อย่างแน่ชัด แต่เชื่อว่ามีปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดโรค พาร์กินสันได้ ได้แก่
- ปัจจัยทางพันธุกรรม ในรายที่มียืนผิดปกติ อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคพาร์กินสันได้
- ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น การได้รับสาร บางอย่างเป็นเวลานานๆ ไม่ว่าจะโดยการสูดดม หรือการรับประทาน
อาการเสี่ยงของโรคพาร์กินสัน
- สั่น
- เขียนตัวหนังสือเล็กลง
- เคลื่อนไหวช้า
- ตะโกนร้อง หรือมีการขยับแขนขา อย่างรุนแรงในขณะหลับ
- กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง
- ท้องผูก
- การทรงตัวไม่ดี
- การรับกลิ่น ลดลง
- เสียงค่อย และเบาลง
- หลังค่อม ตัวอุ้มลง
- สีหน้าไร้อารมณ์
การรักษาโรคพาร์กินสัน
ในปัจจุบันยังไม่มี
การรักษาโรคพาร์กินสัน ให้หายขาดหรือหยุดยั้งการดำเนินของโรคได้ ซึ่งวิธีการรักษาที่ใช้โดยทั่วไปมีดังนี้
การรักษาด้วยยา ในระยะเริ่มต้นและระยะกลางของโรค ยังเป็นการรักษาด้วยการใช้ยาเป็นหลัก เนื่องจากโรคพาร์กินสันเป็นโรคที่มี ความผิดปกติของสารสื่อประสาทใน สมองหลายระบบได้แก่ โดพามีน อะซิติลโคลีน อะดรีนาลีน ซีโรโทนิน และอื่นๆ ดังนั้นยาที่ใช้ในปัจจุบันจึงถูกคิดค้นให้ ออกฤทธิ์ต่อสารสื่อประสาทต่างๆ เหล่านี้
หากอาการของโรคไม่ค่อยตอบสนองต่อยา หรือมีการเคลื่อนไหวยุกยิกผิดปกติ เมื่อถึงระยะท้ายๆของโรค แพทย์อาจต้อง พิจารณาการรักษาอื่นๆ ตามความเหมาะสม ให้กับผู้ป่วยแต่ละราย เช่น
- การผ่าตัดฝังตัวกระตุ้นสมองส่วนลึก (Deep Brain Stimulation)
- การให้ยากระตุ้นตัวรับโดพามีน อย่างต่อเนื่องทางผิวหนัง (Subcutaneous Apomorphine Pump)
- การให้สารโดพามีนอย่างต่อเนื่องทางลำาไส้เล็ก (Intrajejunal Duodopa Infusion)
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 04 กรกฎาคม 2568