bih.button.backtotop.text

โรคหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea)

โรคหยุดหายใจขณะหลับ ที่พบบ่อย คือ ภาวะหยุดหายใจจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea: OSA) ทำให้เกิดการหยุดหายใจเป็นช่วงๆ โดยยังมีการเคลื่อนไหวของผนังทรวงอกและหน้าท้อง

โรคหยุดหายใจขณะหลับ มีกี่ประเภท

โรคหยุดหายใจขณะหลับ มีสามประเภท 3 ได้แก่ 
  1. โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea: OSA) เป็นโรคที่พบได้บ่อยทำให้เกิดการหยุดหายใจเป็นช่วงๆ โดยยังมีการเคลื่อนไหวของผนังทรวงอกและหน้าท้อง
  2. โรคหยุดหายใจขณะหลับจากศูนย์กลาง (Central sleep apnea: CSA) แม้จะพบได้น้อย แต่เกิดขึ้นเมื่อสมองไม่สามารถส่งสัญญาณไปยังกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ
  3. โรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดซับซ้อน ซึ่งเป็นการรวมกันของทั้ง OSA และ CSA อาจทำให้การรักษามีความซับซ้อนและต้องได้รับการดูแลจากแพทย์
  • น้ำหนักเกิน พบว่าผู้ที่มีน้ำหนักมากจะมีทางเดินหายใจส่วนบนแคบกว่าผู้ที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • มีอาการของโรคภูมิแพ้บริเวณจมูก
  • มีสันจมูกเบี้ยวหรือคด รูปหน้าหรือคางผิดปกติ เช่น คางเล็ก คางหลุบ
  • ต่อมทอนซิลโตขวางทางเดินหายใจ
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่เป็นประจำ
  • การรับประทานยาที่ทำให้เกิดอาการง่วง เช่น ยาแก้แพ้ ยานอนหลับ ยาคลายเครียด
  • ผู้ชายมีโอกาสนอนกรนมากกว่าผู้หญิง 6-10 เท่า
  • ผู้หญิงจะมีอาการนอนกรนเพิ่มขึ้นเมื่อเข้าวัยหมดประจำเดือน
  1. เครื่อง CPAP หรือว่าเครื่องอัดอากาศแรงดันบวก: เป็นการรักษาหลักในปัจจุบันของกรนหยุดหายใจ ทำหน้าที่ดันลมเข้าไปเปิดหลอดลมให้กว้างออก ทำให้อากาศสามารถเข้าปอดได้เต็มที่
  2. การผ่าตัดรักษา มีหลายวิธ๊เช่น การตัดลิ้นไก่ เพดานอ่อน ต่อมทอมซิน การตัดโคนลิ้น หรือว่าการผ่าตัดเลื่อนกรามมาด้านหน้า เพื่อเปิดช่องทางเดินหายใจ
  3. การรักษาโดยการใช้เลเซอร์ ใช้รักษาเพื่อหดกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อที่ทำให้เกิดการกรน
  4. การรักษาด้วยเครื่องมือทันตกรรม หรือเรียกว่า MAD เพื่อการดึงกรามล่างมาด้านหน้าขณะหลับ

 

โดย พญ.ดารกุล พรศรีนิยม
แพทย์ชำนาญการด้านประสาทวิทยา และเวชศาสตร์การนอนหลับ

แก้ไขล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2568

Doctors Related

Related Centers

คลินิกคุณภาพการนอนหลับ

ดูเพิ่มเติม

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs