bih.button.backtotop.text

การรักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ด้วยวิธีกระตุ้นเส้นประสาทใต้ลิ้น

โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea: OSA) เป็นโรคที่พบได้บ่อยทำให้เกิดการหยุดหายใจเป็นช่วงๆ โดยยังมีการเคลื่อนไหวของผนังทรวงอกและหน้าท้อง อาการนี้ส่งผลต่อคุณาพชีวิตอย่างมาก การรักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea: OSA) มีหลายวิธีด้วยกัน ซึ่ง ด้วยวิธีกระตุ้นเส้นประสาทใต้ลิ้น (Hypoglossal Nerve Stimulation: HNS) โดยการกระตุ้นเส้นประสาทสมองคู่ที่ 12 (Hypoglossal Nerve)  เป็นวิธีการที่ได้รับการรับรองทางการแพทย์ มีงานวิจัยรองรับถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศไทย (TFDA)

วิธีกระตุ้นเส้นประสาทใต้ลิ้น (Hypoglossal Nerve Stimulation) คืออะไร

วิธีกระตุ้นเส้นประสาทใต้ลิ้น (Hypoglossal Nerve Stimulation: HNS) เป็นทางเลือกในการรักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea: OSA) โดยการกระตุ้นเส้นประสาทไฮโปกลอสซัล (hypoglossal nerve) ซึ่งควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อลิ้น ทำให้ลิ้นตึงตัวและยื่นออกมาด้านหน้า เพื่อเพิ่มขนาดทางเดินหายใจ รวมถึงป้องกันการยุบตัวของทางเดินหายใจ ช่วยลดการอุดกั้นในขณะนอนหลับ ซึ่งเป็นวิธีที่ปลอดภัย ไม่ซับซ้อน โดยแพทย์จะทำการผ่าตัดเพื่อฝังอุปกรณ์ (Inspire®) ในร่างกาย ซึ่งเป็นการผ่าตัดเล็กใช้เวลาไม่เกิน 4 ชั่วโมง
  • อายุ 18 ปีขึ้นไป
  • ไม่สามารถใช้ CPAP ได้ หรือไม่ประสงค์ใช้ CPAP
  • เป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นระดับปานกลางถึงรุนแรง (AHI 15-100)
  • ดัชนีมวลกาย (BMI) น้อยกว่า 40 กิโลกรัม/ตารางเมตร
  • ไม่มีโรคร่วมที่สำคัญ เช่น โรคระบบประสาทและกล้ามเนื้อ โรคหัวใจและปอดรุนแรงหรือโรคทางจิตเวชที่ยังดำเนินอยู่
  • มีกายวิภาคทางเดินหายใจที่เหมาะสมและมีการอุดกั้นทางเดินหายใจจากความผิดปกติของสมองส่วนกลางหรือหยุดหายใจแบบผสมน้อยกว่า 25%
  • สะดวกสบาย ใช้งานง่าย เปิด-ปิดด้วยรีโมทคอนโทรลขนาดเล็ก ควบคุมการทำงานได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริม ไม่มีหน้ากาก ไม่มีสาย
  • ปลอดภัยและไม่ซับซ้อน ใช้การผ่าตัดเล็กเพื่อฝังอุปกรณ์ (Inspire®)ในร่างกาย กระแสไฟฟ้าอยู่ในระดับที่ปลอดภัยใช้แบตเตอรี่ภายในอุปกรณ์ (อายุการใช้งาน 7-11 ปี) สามารถปรับความถี่ได้ตามการรักษาของแต่ละบุคคล
  • ได้รับการรับรองทางการแพทย์ มีงานวิจัยรองรับถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศไทย (TFDA)
หากคุณสงสัยว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดอาจมีโรคหยุดหายใจขณะหลับ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต คลินิกคุณภาพการนอนหลับ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มีทีมแพทย์ผู้ชำนาญการด้านคุณภาพการนอนหลับ พร้อมให้คำปรึกษา วินิจฉัยและรักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น
แก้ไขล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2568

Doctors Related

Related Centers

คลินิกคุณภาพการนอนหลับ

ดูเพิ่มเติม

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs