bih.button.backtotop.text

คลินิกสายตาสั้น

ทำไมบำรุงราษฎร์จัดตั้งคลินิกสายตาสั้น
ถึงแม้โลกยุค 4.0 หรือยุคดิจิทัลจะทำให้เรามีความสะดวกสบาย สามารถสื่อสาร เรียนหรือทำงานร่วมกันได้เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส แต่การพึ่งพาเทคโนโลยีที่มากขึ้นก็มีผลเสียเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและวัยรุ่นที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ มือถือหรือแท็บเล็ตทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน ไม่ว่าจะเพื่อการเรียนรู้หรือเพื่อความเพลิดเพลิน การใช้ชีวิตอยู่กับหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ทำให้เด็กทั่วโลกมีปัญหาสายตาสั้นเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่เด็กใช้เวลาอยู่กับหน้าจอมากขึ้นเพื่อเรียนรู้ทางออนไลน์ ส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านสายตา โดยเฉพาะสายตาสั้นก่อนวัย

ผลงานวิจัยพบว่า การใช้อุปกรณ์ดิจิตอลที่พุ่งสูงขึ้นเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้เด็กมีภาวะสายตาสั้นมากขึ้น ภายใน เวลาเพียง 4 ทศวรรษ เด็กอเมริกันที่มีภาวะสายตาสั้นมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 25% เป็น 42% ผลงานวิจัยในเด็กที่อาศัยในแคลิฟอร์เนียใต้ จำนวน 60,800 คน ในปี 2018 พบว่าวัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 17-19 ปี จำนวน 59% มีภาวะสายตาสั้น นอกจากนี้ยังคาดว่าในอีก 3 ทศวรรษข้างหน้า ทั่วโลกจะมีประชากรที่สายตาสั้นถึง 52%

Graph-of-Mypoia.jpg

นอกจากนี้ในโซนเอเชีย ยังพบว่าเด็กที่มีภาวะสายตาสั้นมีจำนวนมากกว่าโซนอื่นๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศจีนและประเทศฮ่องกง จะมีประชากรที่สายตาสั้นตั้งแต่เด็กถึง 80% เท่ากับว่าเด็ก 8 ใน 10 คนมีสายตาสั้น 

Myopia-banner_7.jpg

ยังพบว่าในช่วงการระบาดของโควิด-19 ยังมีความเชื่อมโยงกับการเกิดสายตาสั้นในเด็ก ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารของสมาคมจักษุแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกาเมื่อเร็ว ๆ นี้ (The Journal of the American Medical Association Ophthalmology) พบว่า การกักตัวที่บ้านในช่วงระบาดของโควิด-19 มีความเชื่อมโยงกับการเกิดภาวะสายตาสั้นของเด็กที่มีอายุระหว่าง 6-8 ขวบ นักวิจัยของประเทศจีนได้เปรียบเทียบการตรวจสายตาของเด็กอายุ 6 -13 ปีจำนวน 123,535 คน ระหว่างปี 2015-2020 พบว่าในช่วง 6 เดือนแรกของการล็อกดาวน์ เด็กมีภาวะสายตาสั้นในอัตราที่สูงขึ้นจนน่าตกใจ โดยมีเด็กที่ต้องใช้เลนส์แก้ไขภาวะสายตา (corrective lens) สูงมากขึ้นถึง 1.4 ถึง 3 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับห้าปีที่ผ่านมาก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19
 
ภาวะที่ทำให้มองไกลไม่ชัดแต่มองใกล้ยังชัดอยู่เนื่องจากการโฟกัสของภาพไปตกอยู่ที่หน้าจอประสาทตา ทำให้เห็นภาพไม่ชัด แก้ไขได้ด้วยการใส่เลนส์เว้าเข้าไป โดย WHO ให้คำจำกัดความของภาวะสายตาสั้น คือ การมีสายตาสั้นตั้งแต่ -0.50 ขึ้นไป
ความกลัวของผู้ปกครองและของแพทย์มีความแตกต่างกัน 
ในมุมมองของผู้ปกครอง กลัวว่าลูกจะต้องใส่แว่นเพราะผู้ปกครองกว่า 50% คิดว่าสายตาสั้นมากไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เมื่อโตขึ้นสามารถทำเลสิก (Lasik) เพื่อแก้ไขได้ผู้ปกครองไม่ทราบถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นเมื่อลูกมีอายุมากขึ้น เช่น โรคต้อหิน โรคต้อกระจกที่จะเป็นเร็วกว่าคนสายตาปกติ รวมถึงโรคจอประสาทตาเสื่อมและโรคจอประสาทตาหลุดลอก ซึ่งหากสายตาสั้นมากเกิน 500 จะทำให้มีโอกาส 5-10% ที่จะสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรเมื่อมีอายุมากและการทำเลสิก (Lasik) ไม่สามารถแก้ไขโรคเหล่านี้ได้ 

ความกลัวของจักษุแพทย์ คือ โรคเหล่านี้ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเด็กมีอายุมากขึ้น ดังนั้นจักษุแพทย์จึงต้องอธิบายเหตุผลให้ผู้ปกครองเข้าใจว่ามีวิธีการรักษาที่สามารถช่วยชะลอภาวะสายตาสั้นเพื่อป้องกันโรคเหล่านี้และเด็กอาจจำเป็นต้องใส่แว่นเพื่อรักษาภาวะสายตาสั้น


ความเสี่ยงในการเกิดสายตาสั้นแต่เด็ก
  • เกิดจากกรรมพันธุ์ หากคุณพ่อคุณแม่สายตาสั้น ลูกมีโอกาสสายตาสั้นได้
  • พฤติกรรมการใช้ชีวิต มีงานวิจัยที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของการเพิ่มขึ้นสายตาสั้นเร็วกับปริมาณกิจกรรมที่ใช้สายตาจ้องมองที่ใกล้ เช่น  การเรียน อ่านหนังสือ ใช้อุปกรณ์ต่างๆ การใช้สายตามากเกินไป เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ 
  • การทำกิจกรรมกลางแจ้งน้อย (outdoor activity) เช่น การเล่นกีฬา 

Screen-Shot-2021-12-02-at-11-57-30-AM.png


ความเสี่ยงของสายตาสั้นต่อการเกิดโรคต่างๆ
  • โรคต้อหิน  ภาวะสายตาสั้นปานกลางถึงมากทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดโรคต้อหินเพิ่มขึ้นกว่าผู้ที่สายตาสั้นน้อยถึงเกือบ 50%
  • โรคต้อกระจก ผู้ที่มีสายตาสั้นมากมีแนวโน้มที่จะต้องผ่าตัดรักษาต้อกระจกมากกว่าผู้ที่มีสายตาสั้นปานกลาง 17%
  • โรคจอประสาทตาหลุดลอก ผู้ที่มีสายตาสั้นมากมีความเสี่ยงในการเป็นโรคจอประสาทตาหลุดลอกมากกว่าผู้ที่สายตาสั้นน้อย 5-6 เท่า
  • โรคจอประสาทตาเสื่อม  ผลงานวิจัยหลายชิ้นพบว่าผู้ที่มีสายตาสั้นมากมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมเพิ่มขึ้นอย่างเป็นนัยสำคัญ ผลงานวิจัยของประเทศสิงคโปร์พบว่าผู้ที่มีสายตาสั้นน้อยถึงปานกลาง 7.7% เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมในขณะที่ผู้ที่มีสายตาสั้นมาก 28.7% เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม

 

จำนวนประชากรเด็กที่มีปัญหาสายตาสั้นเพิ่มขึ้นมากเป็นเรื่องท้าทายทางจักษุสาธารณสุขทั่วโลก เพราะสายตาสั้นไม่ใช่เรื่องเล็กๆ อย่างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกัน สายตาสั้น นอกจากจะทำให้เด็กมองเห็นไม่ชัดแล้ว สายตาสั้นที่มาก ยังนำไปสู่โรคที่ร้ายแรงมากขึ้นเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ เช่น โรคต้อกระจก โรคต้อหิน จอประสาทตาเสื่อมและจอประสาทตาหลุดลอกและอาจสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้ในที่สุด 

การควบคุมสายตาสั้นในเด็กตั้งแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะในช่วงวัย 5 ขวบถึง 18 ปี (โดยเฉพาะในเด็กที่มีอายุไม่เกิน 13) จะช่วยชะลอภาวะสายตาสั้นที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคตาอื่นๆ ที่มีความรุนแรงมากขึ้น ผลงานวิจัยได้บ่งบอกว่าหากไม่มีการควบคุมภาวะสายตาสั้นในเด็ก เด็กอาจมีสายตาที่สั้นมากเมื่อเป็นผู้ใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น หากเด็กสายตาสั้นเมื่ออายุ 8 ขวบแล้วไม่มีการควบคุม เด็กอาจสายตาสั้นได้ถึง 800-900 เมื่อมีอายุ 20 ปี แต่หากมีการควบคุมสายตาสั้น เด็กอาจสายตาสั้นเพียง 500 เมื่อมีอายุ 20 ปี

Why-the-myopia-control-are-implrtant.png

  • อาการ เด็กจะบอกว่ามองไกลไม่ชัด เช่น มีหยีตา เอียงศีรษะ เวลาอ่านหนังสือจะเอาหนังสือหรือจอเข้ามาใกล้มากๆ ปวดศีรษะ บางคนอาจไม่มีอาการ แต่ตรวจพบโดยบังเอิญ ดังนั้นสมาคมโรคตาเด็กแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาจึงแนะนำให้ตรวจตาทุกปีหรือทุก 2 ปีหลังเด็กอายุ 6 ปี ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี อาจยังไม่มีภาวะสายตาสั้น แต่เด็ก 3% อาจมีภาวะตาขี้เกียจ (Lazy Eye) ซึ่งบางทีสังเกตไม่ได้เพราะส่วนใหญ่เป็นที่ตาข้างเดียวเกิดจากค่าสายตาที่ไม่เท่ากันเหรือเกิดจากภาวะที่ทำให้ตาข้างหนึ่งมองเห็นไม่เท่ากับตาอีกข้างหนึ่ง เช่น ตาเหล่ ตาเข หนังตาตกหรือค่าสายตาที่ไม่เท่ากัน สมาคมโรคตาเด็กแห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำให้ตรวจตั้งแต่เด็กอายุ 3-4 ปี ทุก 1 ปี จนถึงอายุ 6 ปี เพราะเป็นวัยที่รักษาตาขี้เกียจได้ดี ค่าสายตาไม่เปลี่ยนแปลงเร็วเหมือนช่วง 1-3 ปี และในวัยนี้เด็กจะเริ่มให้ความร่วมมือในการตรวจ ทำให้ได้ข้อมูลชัดเจนว่ามีความเสี่ยงเป็นภาวะตาขี้เกียจหรือไม่
 
  • การตรวจด้วยกล้อง retinoscope เป็นเครื่องมือมาตรฐานในการวัดค่าสายตา โดยการใช้กล้องฉายแสงผ่านรูม่านตาในขณะที่เด็กมองไกลในระยะ 6 เมตร และประเมินค่าสายตาจากแสงที่สะท้อนกลับมา การตรวจนี้ต้องใช้ประสบการณ์และความชำนาญจึงจะสามารถอ่านค่าสายตาได้อย่างแม่นยำ โดยธรรมชาติเด็กมักชอบเพ่งจ้อง จึงทำให้วัดค่าสายตาสั้นได้ไม่ตรงความเป็นจริงหรือเกิดภาวะสายตาสั้นหลอก หมายถึงการที่เด็กเพ่งจ้องจนตาเกร็งค้าง ทำให้เหมือนมีภาวะสายตาสั้นมากกว่าความเป็นจริง แต่จริงๆ แล้วเด็กไม่ได้สายตาสั้นขนาดนั้น แพทย์จึงต้องระงับการหยุดเพ่งของเด็กก่อนวัดสายตาในบางคน และในบางช่วงอายุด้วยการหยอดยาขยายม่านตาเพื่อให้ทราบค่าสายตาที่แท้จริง
 
  • หลังจากได้ค่าสายตาแล้ว จะทดลองใส่เลนส์เพื่อทดสอบการมองเห็นอีกครั้ง

นักวิจัยได้ทำการศึกษาเพื่อหาวิธีชะลอสายตาสั้นในเด็ก คลินิกสายตาสั้น โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ใช้วิธีการรักษาที่มีผลงานวิจัยรองรับเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติว่าสามารถชะลอภาวะสายตาสั้นในเด็กได้ และมีความปลอดภัยโดยใช้วิธีการรักษาดังนี้ 

  • Low-dose atropine eye drops เป็นยาหยอดตาชนิดเดียวกันกับยาหยอดขยายม่านตาที่ใช้กันมานาน แต่ใช้ปริมาณน้อยมาก ตามที่มีการศึกษาวิจัย ไม่พบผลข้างเคียงในระยะยาว มีฤทธิ์ขยายม่านตาบ้างตามแต่ความเข้มข้นของยา ยามีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการสร้างสารสื่อประสาทที่จอประสาทตา ที่มีชื่อว่า โดปามีน (Dopamine)   ซึ่งมีส่วนในการยับยั้งการขยายของลูกตา ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้สายตาสั้น โดยฝ่ายเภสัชกรของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เป็นผู้เตรียมยา ตามมาตรฐานสากล  เพื่อให้ผู้ป่วยมั่นใจในความปลอดภัย คุณภาพและประสิทธิภาพของยา นอกจากนี้แพทย์ยังปรับขนาดยาให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละราย Low-dose atropine eye drops ส่วนใหญ่เริ่มใช้เมื่อเด็กมีอายุประมาณ 5 ปี ยกเว้นในบางรายที่อายุน้อยกว่า 5 ปี และมีภาวะสายตาสั้นตั้งแต่อายุ แพทย์อาจพิจารณาให้ใช้โดยพูดคุยถึงความเสี่ยงและประโยชน์ที่จะได้กับผู้ปกครอง Low-dose atropine มีความเข้มข้นของยาอยู่ที่ 0.01%, 0.025%และ 0.05% โดยแพทย์จะเริ่มด้วยการใช้ยาที่มีความเข้มข้นต่ำก่อนและติดตามผลการรักษาภายใน 3-4 เดือน  ประสิทธิภาพ การใช้หยอดตา atropine ทำให้สามารถชะลอสายตาสั้นได้ 30-60% โดยต้องใช้ยาติดต่อกันเป็นปี ผลข้างเคียง ที่ประเทศสิงคโปร์มีการใช้ low-dose atropine เพื่อรักษาสายตาสั้นในเด็กมานานกว่า 10 ปีและที่บำรุงราษฎร์ได้ใช้มานานกว่า 5 ปี ยามีความปลอดภัยสูง ไม่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์และไม่มีรายงานที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนในตาร้ายแรงเช่น โรคต้อต่างๆ มีผลข้างเคียงน้อย เช่น อาจมีอาการแสบตา รูม่านตาขยายขึ้นประมาณ 1-3 มิลลิเมตร ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะสายตาไม่สู้แสงหรือมองใกล้ไม่ชัดในบางรายแต่พบน้อย และขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของยา นอกจากนี้ยา low-dose atropine ของบำรุงราษฎร์ยังผสมในห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาล โดยผสมในตู้ปลอดเชื้อ lamina flow ทำให้มั่นใจได้ในประสิทธิภาพและความสะอาด ปราศจากการปนเปื้อนใดๆ
  • การใช้แว่นตา progressive หรือ bifocal สายตาสั้นเกิดจากความสามารถในการเพ่งมองวัตถุระยะใกล้ลดลง ทำให้มองใกล้ไม่ชัด (Accommodative lag) การใช้แว่นตา progressive หรือ bifocal ช่วยลดการเพ่งและชะลอสายตาสั้นได้  ประสิทธิภาพ สามารถชะลอสายตาสั้นได้ 10-20%
  • การใช้แว่นตาที่ปรับการโฟกัสภาพที่จอตาส่วนรอบนอก (Peripheral defocus glasses with high plus power at outer ring) โดยการฝังเลนส์บวกเล็กๆที่เลนส์แว่นตา ทำให้เกิดภาพไม่ชัดที่ด้านข้างของจอประสาทตา ทำให้ลูกตาไม่โตขึ้น (การที่ลูกตาโตขึ้นหมายถึงสายตาสั้นเพิ่มขึ้นอย่างถาวร) ประสิทธิภาพ สามารถชะลอสายตาสั้นได้ 50%
  • การใช้คอนแทคเลนส์ Multifocal contact lens เป็นคอนแทคเลนส์ที่ทำให้สามารถมองได้หลายระยะในเลนส์เดียว สามารถชะลอการสายตาสั้นในเด็กโดยทำให้ลูกตาไม่โตขึ้น
  • การเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อลดปัจจัยเสี่ยง โดยลดกิจกรรมที่ใช้สายตาระยะใกล้ (near work activity) และเพิ่มกิจกรรมกลางแจ้ง (outdoor activity) ควรให้เด็กเล่นกีฬา หรือมีกิจกรรมภายนอกอาคารอย่างน้อย  2 ชั่วโมงต่อวันเพื่อให้เด็กสายตาสั้นช้าและน้อยกว่า
  • การชะลอภาวะสายตาสั้น ไม่ได้เป็นการป้องกันสายตาสั้นแต่เป็นการป้องกันไม่ให้สายตาสั้นเพิ่มขึ้นเร็ว ซึ่งทำได้ด้วยการใช้ยา low dose atropine แว่นตาพิเศษและคอนแทคเลนส์

Layout-BI-Myopia-Clinic-Package-Header-03.jpg
จักษุแพทย์จะทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับเภสัชกรและกุมารแพทย์เพื่อให้ดูแลเด็กได้รอบด้าน เช่น ในช่วงที่เด็กเติบโตเร็ว (Growth spurt) คือช่วง 8- 13 ปี จักษุแพทย์สามารถประสานและใช้ข้อมูลร่วมกับกุมารแพทย์ที่ชำนาญการด้านพัฒนาการเด็กได้  เนื่องจากในช่วงที่เด็กเติบโตเร็ว นอกจากเด็กจะสูงเร็วแล้ว สายตายังสั้นขึ้นเร็วด้วย นอกจากนี้เรายังสามารถแนะนำร้านแว่นตาที่มีประสบการณ์และความชำนาญในการตัดเลนส์แว่นตามที่แพทย์สั่ง

คลินิกสายตาสั้น (Myopia clinic) ให้บริการดูแลรักษาภาวะสายตาสั้นในเด็กอย่างครบวงจร ทีมแพทย์และสหสาขาวิชาชีพของเราทำงานร่วมกันเป็นทีม ตั้งแต่กุมารแพทย์และจักษุแพทย์ผู้ชำนาญด้านจักษุวิทยาเด็ก เภสัชกรที่มีความชำนาญในการเตรียมยา atropine โดยเฉพาะและทีมพยาบาลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยเด็ก นอกจากนี้ฝ่ายเภสัชกรรมของเรายังได้รับการรับรองจาก Joint Commission เป็นการยืนยันถึงคุณภาพ ความถูกต้องแม่นยำและความสะอาดของยาทุกเม็ด ทุกขวดที่จ่ายออกไป

 
จักษุแพทย์ของศูนย์สายตาสั้นในเด็กให้เวลาเต็มที่กับคุณพ่อคุณแม่และเด็ก โดยเริ่มจากซักประวัติ ตรวจตา วัดค่าสายตา หากพบว่าเด็กมีสายตาสั้นหรือมีแนวโน้มว่าจะสายตาสั้นในอนาคต แพทย์จะให้คำปรึกษาที่ละเอียดถึงความสำคัญของการป้องกันการเพิ่มของสายตาสั้น แนวทางการป้องกันการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้น พร้อมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเพื่อเลือกวิธีการที่เหมาะสมทที่สุดสำหรับเด็ก ข้อดีและข้อเสียของแต่ละทางเลือก เช่น ระยะเวลาที่ต้องใช้ ค่าใช้จ่าย ผลที่จะได้รับและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงทำการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอทุก 3-6 เดือน


Myopia-banner_5.jpg

พญ. ณัฐธิดา วงศ์วีระวัฒน์

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

จักษุวิทยาทั่วไป
จักษุวิทยา - จักษุวิทยาเด็กและแก้ไขตาเขตาเหล่ในเด็กและผู้ใหญ่
จักษุวิทยา - ต้อกระจก

ดูประวัติ

น.อ.นพ. ปกป้อง ปราณีประชาชน

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

จักษุวิทยาทั่วไป
จักษุวิทยา - จักษุวิทยาเด็กและแก้ไขตาเขตาเหล่ในเด็กและผู้ใหญ่

ดูประวัติ

รศ.พญ. สุดารัตน์ ใหญ่สว่าง

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

จักษุวิทยาทั่วไป
จักษุวิทยา - จักษุวิทยาเด็กและแก้ไขตาเขตาเหล่ในเด็กและผู้ใหญ่

ดูประวัติ

รศ.พญ. โสฬส วุฒิพันธุ์

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

จักษุวิทยาทั่วไป
จักษุวิทยา - จักษุวิทยาเด็กและแก้ไขตาเขตาเหล่ในเด็กและผู้ใหญ่

ดูประวัติ

พญ. เตือนใจ วงศ์วรเศรษฐ์

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

จักษุวิทยาทั่วไป
จักษุวิทยา - คอนแทคเลนส์

ดูประวัติ

นพ. วรัศช์ภรณ์ พลอยประสิทธิ์

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

จักษุวิทยาทั่วไป
จักษุวิทยา - จักษุวิทยาเด็กและแก้ไขตาเขตาเหล่ในเด็กและผู้ใหญ่
จักษุวิทยา - ต้อกระจก

ดูประวัติ
    Scroll for more

Contact Number

  • บริการพบแพทย์ผ่าน VDO call (Tele-Consultation) คลิก

Service Hours

Location

คะแนนโหวต 8.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 1 คน

Related Health Blogs