bih.button.backtotop.text

ตาเข

โรคตาเข ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของระบบควบคุมทางสมองที่สั่งมายังกล้ามเนื้อตา ทั้งที่ทราบสาเหตุแน่ชัด และที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากความผิดปกติโดยตรงของกล้ามเนื้อตามัดใดมัดหนึ่งหรือหลายมัด

ปัจจัยเสี่ยงของโรคตาเข
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคตาเข
  • ความผิดปกติทางสมอง ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่กำเนิดหรือภายหลังตอนเป็นผู้ใหญ่ เช่น โรคหลอดเลือดในสมอง หรืออุบัติเหตุทางสมอง
  1. ตาดูไม่ตรง หรือ 2 ข้าง ทำงานไม่ประสานกัน อาจเป็น 1 ข้าง หรือ 2 ข้าง อาจเป็นตลอดเวลาหรือบางครั้ง
  2. มีการเปลี่ยนแปลงของระดับการมองเห็น มักเกิดในโรคตาเขในเด็ก โดยเกิดจากการไม่ได้ใช้งานของข้างนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงภาพซ้อน จนมีการลดลงของระดับการมองเห็นอย่างถาวรหรือที่เรียกว่า “ สายตาขี้เกียจ
  3. เห็นภาพซ้อน มักเกิดขึ้นในโรคตาเขที่เป็นมาภายหลัง ไม่ใช่ตั้งแต่เกิด
การตรวจตาแบบละเอียดด้วยเครื่องมือวัดระดับตาเข ตรวจการทำงานประสานกันของ 2 ตา รวมทั้งตรวจตาพื้นฐานอื่นๆ ได้แก่ ระดับการมองเห็น จอประสาทตา เพื่อตรวจหาอาการหรือสาเหตุแทรกซ้อนอื่น นอกจากนี้ อาจต้องตรวจความผิดปกติทางร่างกายส่วนอื่นที่อาจเกี่ยวข้องกับตาเข เช่น การทำงานของระบบประสาท
  • แบ่งตามทิศทางของตาที่ผิดปกติ เช่น ตาเขเข้าใน ตาเขออกนอก ตาเขในแนวขึ้นลง
  • แบ่งตามสาเหตุ เช่น ตาเขจากเส้นประสาทตาอ่อนแรง ได้แก่ เส้นประสาทสมองคู่ที่3, 4 หรือ 6 อ่อนแรง
  • แบ่งตามลักษณะเฉพาะโรค เช่น Brown Syndrome, Duane Syndrome

เป้าหมายคือการทำให้ตาตรงขึ้น เพื่อทำงานประสานกันมากขึ้น อาจโดยการ บริหารกล้ามเนื้อตา ใส่แว่น ใส่แว่นprism หรือร่วมด้วยกับการผ่าตัดกล้ามเนื้อตา ขึ้นกับชนิดของตาเข


นอกจากนี้ จะต้องทำการรักษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโรคตาเข ได้แก่ สายตาขี้เกียจ หรือสาเหตุที่ทำให้ตามองเห็นไม่ดี เช่น หนังตาตก ต้อกระจก เป็นต้น ซึ่งต้องแก้ไขปัญหาเหล่านี้ก่อนการผ่าตัดแก้ไขตาเข

การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์จักษุ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.43 of 10, จากจำนวนคนโหวต 7 คน

Related Health Blogs