bih.button.backtotop.text

การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา

การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา (corneal transplantation) คือ การผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายกระจกตาของผู้ป่วยที่ขุ่นหรือเป็นโรคออก แล้วปลูกถ่ายด้วยกระจกตาของผู้บริจาค การปลูกถ่ายกระจกตาถือเป็นการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะประเภทหนึ่ง ซึ่งอัตราความสำเร็จของการผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตาอยู่ที่ 70-95% (Le R, et al., 2017) ขึ้นอยู่กับอาการและโรคที่ผู้ป่วยเป็น
 

ภาวะความผิดปกติแบบใด ที่เสี่ยงต้องเข้ารับการปลูกถ่ายกระจกตา
Cornea-Transplant_landing-page-TH-04.jpg

การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา (Corneal Transplantation)
  • การปลูกถ่ายกระจกตาทุกชั้น (Penetrating keratoplasty)
  • การปลูกถ่ายกระจกตาเฉพาะชั้น (Lamellar keratoplasty) เป็นการปลูกถ่ายกระจกตาเฉพาะชั้นที่มีโรคหรือความผิดปกติ ช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดจากการปลูกถ่ายกระจกตาทุกชั้นและทำให้แผลมีขนาดเล็กลง
    • การปลูกถ่ายกระจกตาเฉพาะชั้นหน้า/ชั้นบน โดยเปลี่ยนกระจกตาตั้งแต่ชั้นเนื้อเยื่อบุผิวกระจกตา (corneal epithelium) ชั้น Bowman (Bowman layer) และชั้นโครงกระจกตาหรือ corneal stroma
    • การปลูกถ่ายกระจกตาเฉพาะชั้นใน (Endothelial keratoplasty) ตั้งแต่ชั้นล่างของ stroma ชั้น Descemet’s membrane และชั้นเนื้อเยื่อบุโพรงกระจกตา (corneal endothelium)
การรักษาโรคของกระจกตาด้วยเอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Phototherapeutic Keratectomy: PTK) เป็นวิธีการรักษาโรคกระจกตาหลายชนิด เช่น โรคกระจกตาเสื่อมจากกรรมพันธุ์ แผลเป็นของกระจกตาที่อยู่ในชั้นตื้น การแก้ไขภาวะผิวกระจกตาไม่เรียบ

การฉายแสงอัลตร้าไวโอเลตเอ (Corneal collagen cross-linking) เพื่อเสริมความแข็งแรงเส้นใยคอลลาเจนในกระจกตาทำให้กระจกตาแข็งแรง เป็นการรักษาโรคกระจกตาย้วยโดยช่วยชะลอหรือหยุดการโก่งตัวของกระจกตาไม่ให้เป็นมากขึ้น ทำให้การมองเห็นคงที่หรือดีขึ้น

การผ่าตัดใส่วงแหวน (Intrastromal Corneal Ring Segment) เป็นการรักษาโรคกระจกตาย้วยโดยการสอดวัสดุวงแหวนเข้าไปในเนื้อ ทำให้โครงสร้างของกระจกตาแข็งแรงขึ้น ช่วยชะลอหรือหยุดการโก่งตัวของกระจกตา
เนื่องจากการผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตาเป็นการผ่าตัดใหญ่ทางตา ดังนั้นจึงอาจก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านจิตใจได้กับผู้รับบริจาค โดยอาจเป็นผลมาจากความกังวล ความเครียด ความหดหู่ใจ ความโกรธ หรือความผิดหวัง ปัญหาเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้แต่พบไม่บ่อย ซึ่งแพทย์จะทำการประเมินความพร้อมของผู้ป่วยทั้งด้านสภาพร่างกายและจิตใจ
 
  1. ใช้แก้ไขการมองเห็นของผู้ป่วยให้ดีขึ้น ถือเป็นสาเหตุหลักในการผ่าตัด
  2. เสริมความแข็งแรงของกระจกตา ในกรณีที่ผู้ป่วยมีกระจกตาบางหรือทะลุ
  3. เพื่อควบคุมการติดเชื้อที่กระจกตา ในกรณีที่ผู้ป่วยมีการติดเชื้อที่กระจกตา
  • ในระหว่างผ่าตัด ได้แก่ เกิดบาดแผลโดยอุบัติเหตุที่เยื่อบุชั้นในสุดของกระจกตา ม่านตา เลนส์แก้วตา เลือดออกในน้ำวุ้นตา และภาวะที่ร้ายแรงที่สุดคือมีเลือดออกในชั้นใต้จอประสาทตา
  • ภายหลังการผ่าตัดระยะแรก ได้แก่ แผลผ่าตัดรั่วซึม ช่องหน้าลูกตาแบน ม่านตาโผล่ เกิดฝีบริเวณรอยเย็บ
    เยื่อบุผิวกระจกตามีความผิดปกติอย่างถาวร ภาวะความดันลูกตาสูง และการติดเชื้อในลูกตาที่เป็นอันตรายต่อสายตา
  • ภายหลังการผ่าตัดระยะหลัง ได้แก่ สายตาเอียง แผลผ่าตัดแยกในภายหลัง จุดรับภาพตรงกลางบวม การเกิดโรคเดิมซ้ำที่กระจกตาของผู้บริจาค และต้อหิน
  • ภาวะกระจกตาขุ่นมัวเร็วกว่าปกติ ตั้งแต่วันแรกภายหลังการผ่าตัด ซึ่งมักเกิดจากเยื่อบุชั้นในสุดของกระจกตาที่ได้รับบริจาคมีความผิดปกติ หรือเกิดจากอุบัติเหตุในระหว่างผ่าตัด
  • ภาวะกระจกตาขุ่นมัวในภายหลัง มักเกิดจากร่างกายปฏิเสธกระจกตาที่นำมาปลูกถ่าย เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายรับรู้ว่ากระจกตาที่ได้รับบริจาคเป็นสิ่งแปลกปลอมและพยายามทำลาย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ 2 สัปดาห์จนถึงเวลา 1 ปีภายหลังการผ่าตัด อาการแสดงต่างๆ ได้แก่ การมองเห็นลดลง มีอาการตาแดง อาการระคายเคือง น้ำตาไหล และอาการแพ้แสง การรักษาที่เป็นหลักสำคัญ ได้แก่ การใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์
ก่อนเข้ารับหัตถการ
  • ผู้ป่วยควรอยู่ในประเทศไทยอย่างน้อย 2 สัปดาห์ถึง 1 เดือนตลอดระยะเวลาการรักษา (ไม่รวมระยะเวลาการรอกระจกตา)
  • แนะนำให้พักโรงแรมใกล้โรงพยาบาลเพื่อความสะดวกในการเดินทางมาโรงพยาบาลทั้งก่อนและหลังผ่าตัด
  • ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจร่างกายก่อนผ่าตัดเนื่องจากการผ่าตัดใช้วิธีการดมยาสลบ และต้องงดน้ำและอาหารมาก่อนการตรวจร่างกาย
หลังเข้ารับหัตถการ
  • ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจติดตามอาการอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ก่อนจะสามารถเดินทางบินกลับประเทศได้หรือขึ้นเครื่องบินได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการหลังผ่าตัดและดุลยพินิจแพทย์
ความสำเร็จขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย อาทิ
  1. กระจกตาของผู้ป่วย เช่น เคยได้รับการผ่าตัดมาก่อน ความแข็งแรงของกระจกตา
  2. ส่วนของผู้ป่วย เช่น โรคประจำตัวที่มีอยู่ได้รับการรักษาสม่ำเสมอ การให้ความร่วมมือในการผ่าตัดและการดูแลหลังผ่าตัด
  3. ภาวะโรคแทรกซ้อนทางตาอื่นๆ เช่น โรคต้อหิน โรคจอประสาทตา โรคม่านตาอักเสบ เป็นต้น
ทั้งนี้จักษุแพทย์ทางด้านกระจกตาจะเป็นผู้ประเมินและให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลสำเร็จของการรักษาหลังจากตรวจประเมินสภาพตาของผู้ป่วย
 
จักษุแพทย์ด้านกระจกตาจะตรวจประเมินผู้ป่วยก่อนผ่าตัด และส่งผู้ป่วยตรวจประเมินร่างกายกับอายุรแพทย์เพื่อเตรียมพร้อมก่อนการดมยาสลบ การผ่าตัดผู้ป่วยใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง โดยจักษุแพทย์จะคัดแยกกระจกตาของผู้ป่วยออก ซึ่งมักมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 7-8 มิลลิเมตร ในขณะเดียวกันจักษุแพทย์จะทำการคัดแยกกระจกตาจากผู้บริจาคในขนาดที่ใหญ่กว่าเล็กน้อย แล้วนำไปใส่ในผู้ป่วย แผลผ่าตัดจะเป็นรูปวงกลมรอบกระจกตาโดยมีการเย็บด้วยไหมขนาดเล็กล้อมรอบรอยแผล
 
การเปลี่ยนกระจกตาเป็นบางชั้น การรักษาด้วยวิธีนี้จะเป็นการตัดเอาเฉพาะส่วนผิวด้านหน้าของกระจกตาที่มีพยาธิสภาพออกไปแทนที่จะตัดความหนาทั้งหมดของกระจกตาออก ข้อดีของการไม่ตัดเยื่อบุชั้นในสุดของกระจกตาทิ้งไปคือสามารถลดโอกาสที่ร่างกายจะปฏิเสธกระจกตาที่เกิดจากการปลูกถ่ายได้ แต่การเปลี่ยนกระจกตาเป็นบางชั้นนั้นเป็นวิธีที่ทำได้ค่อนข้างยากกว่า

ผู้ป่วยที่เหมาะสมในการเปลี่ยนกระจกตาเป็นบางชั้น
  • กระจกตาเสียหายจากการผ่าตัดดวงตากรณีอื่นๆ เช่น การผ่าตัดต้อกระจก
  • กระจกตาโค้งผิดรูปหรือกระจกตารูปกรวย
  • กระจกตาเสียหายจากสาเหตุทางพันธุกรรม เช่น ความผิดปกติของเยื่อชั้นในสุดของกระจกตา
  • กระจกตาเกิดแผลเป็นภายหลังจากการบาดเจ็บหรือภายหลังจากการติดเชื้อ
  • ร่างกายปฏิเสธการปลูกถ่ายกระจกตาในครั้งก่อน

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์จักษุ

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์ปลูกถ่ายกระจกตา

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs