bih.button.backtotop.text

ศูนย์ปลูกถ่ายกระจกตา

จากการสำรวจภาวะตาบอดและสายตาเลือนรางในปี 2557 พบว่าคนไทยมีปัญหาตาบอดร้อยละ 0.6 และสายตาเลือนรางถึงร้อยละ 12.6 ซึ่งภาวะตาบอดป้องกันได้กว่าละร้อยละ 92 และรักษาได้กว่าร้อยละ 76.8 ดังนั้นหากมีอาการที่แสดงว่ากระจกตามีปัญหา เช่น มองไม่ชัด ดวงตาไม่สู้แสง ค่าสายตาเปลี่ยนบ่อยหรือกระจกตาขุ่นมัว ควรมาพบแพทย์ก่อนที่อาการจะรุนแรงขึ้นจนเกิดภาวะตาบอด การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตาเป็นวิธีการหนึ่งในการรักษาอาการของโรคหรือบาดแผลที่กระจกตา ทำให้การมองเห็นดีขึ้น

ศูนย์ปลูกถ่ายกระจกตา ให้บริการดูแลรักษาโรคและอาการต่างๆเกี่ยวกับกระจกตาโดยเฉพาะโรคที่ซับซ้อนอย่างครอบคลุมเป็นแห่งแรกของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย ประกอบทีมจักษุแพทย์ผู้มีประสบการณ์และความชำนาญการขั้นสูงในการผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตาและการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาเฉพาะชั้นที่มีปัญหาโดยเก็บกระจกตาชั้นที่ดีไว้ได้ ด้วยเทคโนโลยีและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยในการตรวจวินิจฉัย รักษาและติดตามผลการรักษา
การบริการของศูนย์ปลูกถ่ายกระจกตา
Cornea-Transplant_landing-page-TH-01.jpg

บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคกระจกตาดังนี้

การตรวจวินิจฉัย
  • การตรวจประเมินความสามารถในการมองเห็นของสายตา
  • การวัดค่าสายตา
  • การวัดความโค้งกระจกตา
  • การวัดความดันลูกตา
  • ทดสอบการทำงานของกล้ามเนื้อตา
  • ตรวจสุขภาพตาส่วนหน้า ได้แก่ กระจกตา เยื่อบุตา ม่านตา รูม่านตา
  • ตรวจสุขภาพตาส่วนหลัง ได้แก่ จอประสาทตา น้ำวุ้นตา ขั้วประสาทตา

Cornea-Transplant_landing-page-TH-02.jpgCornea-Transplant_landing-page-TH-03.jpg
Cornea-Transplant_landing-page-TH-04.jpg

การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา (Corneal Transplantation)
  • การปลูกถ่ายกระจกตาทุกชั้น (Penetrating keratoplasty)
  • การปลูกถ่ายกระจกตาเฉพาะชั้น (Lamellar keratoplasty) เป็นการปลูกถ่ายกระจกตาเฉพาะชั้นที่มีโรคหรือความผิดปกติ ช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดจากการปลูกถ่ายกระจกตาทุกชั้นและทำให้แผลมีขนาดเล็กลง
    • การปลูกถ่ายกระจกตาเฉพาะชั้นหน้า/ชั้นบน โดยเปลี่ยนกระจกตาตั้งแต่ชั้นเนื้อเยื่อบุผิวกระจกตา (corneal epithelium) ชั้น Bowman (Bowman layer) และชั้นโครงกระจกตาหรือ corneal stroma
    • การปลูกถ่ายกระจกตาเฉพาะชั้นใน (Endothelial keratoplasty) ตั้งแต่ชั้นล่างของ stroma ชั้น Descemet’s membrane และชั้นเนื้อเยื่อบุโพรงกระจกตา (corneal endothelium)
การรักษาโรคของกระจกตาด้วยเอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Phototherapeutic Keratectomy: PTK) เป็นวิธีการรักษาโรคกระจกตาหลายชนิด เช่น โรคกระจกตาเสื่อมจากกรรมพันธุ์ แผลเป็นของกระจกตาที่อยู่ในชั้นตื้น การแก้ไขภาวะผิวกระจกตาไม่เรียบ

การฉายแสงอัลตร้าไวโอเลตเอ (Corneal collagen cross-linking) เพื่อเสริมความแข็งแรงเส้นใยคอลลาเจนในกระจกตาทำให้กระจกตาแข็งแรง เป็นการรักษาโรคกระจกตาย้วยโดยช่วยชะลอหรือหยุดการโก่งตัวของกระจกตาไม่ให้เป็นมากขึ้น ทำให้การมองเห็นคงที่หรือดีขึ้น

การผ่าตัดใส่วงแหวน (Intrastromal Corneal Ring Segment) เป็นการรักษาโรคกระจกตาย้วยโดยการสอดวัสดุวงแหวนเข้าไปในเนื้อ ทำให้โครงสร้างของกระจกตาแข็งแรงขึ้น ช่วยชะลอหรือหยุดการโก่งตัวของกระจกตา
Cornea-Transplant_landing-page-TH-05.jpg
 
  • โรคกระจกตารูปร่างผิดปกติ
อาการที่กระจกตาบางส่วนมีการนูนตัวขึ้นมา ทำให้กระจกตามีความผิดปกติ แบ่งได้หลายประเภท เช่น กระจกตาย้วย กระจกตาโป่งพอง กระจกตาโก่ง เกิดจากบางส่วนของกระจกตาเกิดการบางตัวลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ ทำให้ความดันภายในลูกตา ดันกระจกตาส่วนที่บางให้นูนขึ้นมา ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการผิดปกติเกี่ยวกับการมองเห็น เช่น มองเห็นภาพเบลอ บิดเบี้ยว ดวงตาไวต่อแสง และอาจต้องเปลี่ยนแว่นสายตาอยู่บ่อย ๆ มักจะค่อย ๆ รุนแรงขึ้น จนแย่ลงภายในระยะเวลาประมาณ 10–20 ปี  
 
  • โรคกระจกตาอักเสบ
เป็นการอักเสบที่เนื้อเยื่อกระจกตา มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือการบาดเจ็บของกระจกตา ซึ่งทำให้มีอาการตาแดง เจ็บตา มีขี้ตา ตามัว สู้แสงไม่ได้ มีน้ำตาไหลมากตลอดเวลา เกิดขึ้นบ่อยกับผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์เป็นประจำ โดยอาการและความเร็วของการดำเนินโรคจะขึ้นกับความรุนแรงของเชื้อ นอกจากนี้ยังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้เช่น กระจกตาทะลุ การอักเสบลุกลามเข้าไปในน้ำวุ้นตา ต้อหินแทรกซ้อน ต้อกระจกแทรกซ้อน
 
  • โรคกระจกตาเสื่อม
มักเกิดจากพันธุกรรม ทำให้เซลล์ของกระจกตาทำงานน้อยลงหรือไม่ทำงานตามปกติทำให้มองภาพได้ไม่ชัด  

 
  • โรคกระจกตาเป็นแผล
การเกิดรอยถลอกบริเวณกระจกตาและอาจเกิดการอักเสบติดเชื้อตามมาได้ ถ้าแผลเล็กและตื้นจะหายได้ภายใน 2 – 3 วัน แต่ถ้าแผลลึกมากอาจจะเกิดเป็นแผลเป็น ทำให้กระจกตาบริเวณที่มีแผลเป็นนั้นทึบแสงหรือแสงผ่านได้น้อย ส่งผลให้ตามัวมองเห็นไม่ชัด
 
  • โรคกระจกตาบวม
เกิดจากเซลล์ชั้นที่ 5 Endothelial cell ของกระจกตาด้านในสุด มีปริมาณเซลล์น้อยลงจนไม่สามารถทำงานได้ปกติ ทำให้การดูดน้ำออกจากกระจกตาแย่ลง กระจกตาจึงไม่สามารถคงความใสได้ เนื่องจากน้ำเข้าไปแทรกด้านในมีปริมาณมากกว่าปกติ ทำให้เกิดการกระจายแสง ทำให้กระจกตาบวมน้ำ สาเหตุมาจากโรคทางพันธุกรรมกระจกตาเสื่อมที่ถ่ายทอดจากยีนเด่น , โรคต้อหิน , การติดเชื้อเริมหรืองูสวัด หรืออุบัติเหตุ
 
  • ภาวะปฏิเสธกระจกตาที่ปลูกถ่าย
เกิดจากร่างกายปฏิเสธกระจกตาที่นำมาปลูกถ่าย เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายรับรู้ว่ากระจกตาที่ได้รับบริจาคเป็นสิ่งแปลกปลอมและพยายามทำลาย ทำให้มีอาการต่างๆ เช่น การมองเห็นลดลง มีอาการตาแดง อาการระคายเคือง น้ำตาไหล และอาการแพ้แสง 
 
ทีมแพทย์ของเราประกอบจักษุแพทย์ผู้ชำนาญด้านผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา (การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา) และแพทย์สาขาต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น จิตแพทย์ผู้ให้คำปรึกษาก่อนการผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา แพทย์ผู้ชำนาญในสาขาต่างๆ เช่น โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน วิสัญญีแพทย์และทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยโรคตาโดยเฉพาะ
 
  • Corneal Topographer เครื่องมือถ่ายภาพพื้นผิวกระจกตาและวัดความหนากระจกตา
  • เครื่องถ่ายภาพจอประสาทตาชนิดมุมกว้าง (CLARUS)
  • เครื่อง eye screening: Anterior Segment
  • เครื่องนับเซลล์เนื้อเยื่อตา

พญ. งามจิตต์ เกษตรสุวรรณ

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

กระจกตา
การผ่าตัดแก้ไขสายตา
จักษุวิทยา
ต้อกระจก

ดูประวัติ

ผศ.พญ. ลลิดา ปริยกนก

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

กระจกตา
การผ่าตัดแก้ไขสายตา
จักษุวิทยา
ต้อกระจก

ดูประวัติ

นพ. ธีรวีร์ หงษ์หยก

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

กระจกตา
การผ่าตัดแก้ไขสายตา
จักษุวิทยา
ต้อกระจก

ดูประวัติ

พญ. อุษณีย์ เหรียญประยูร

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

กระจกตา
การผ่าตัดแก้ไขสายตา
จักษุวิทยา

ดูประวัติ

พญ. วธูกานต์ รุ่งภูวภัทร

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

กระจกตา

ดูประวัติ
    Scroll for more

Contact Number

  • บริการพบแพทย์ผ่าน VDO call (Tele-Consultation) คลิก

Service Hours

  • ศูนย์ปลูกถ่ายกระจกตา
    Service Hours: 8.00-20.00 (BKK Time)
    นอกเวลาทำการ ติดต่อแผนกฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง 
  • เนื่องจากสถานการณ์และมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทางโรงพยาบาลฯ อาจมีการปรับเปลี่ยนเวลาในการให้บริการของแต่ละคลินิกตามความเหมาะสมของสถานการณ์ จึงขอความกรุณาทำการนัดหมายแพทย์ล่วงหน้า หรือสอบถามเวลาการให้บริการได้ที่ 1378

Location

  • ศูนย์ปลูกถ่ายกระจกตา
    อาคาร A ชั้น 18 
คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs