สาเหตุการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
ส่วนใหญ่เกิดจากไขมันและเนื้อเยื่อสะสมในผนังของหลอดเลือดแดง ทําให้เยื่อบุผนังหลอดเลือดชั้นในตำแหน่งนั้นหนาตัวขึ้น ส่งผลให้
หลอดเลือดมีการตีบแคบลง ทําให้เลือดซึ่งนำออกซิเจนไหลผ่านได้น้อยลง จึงอาจทําให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ไม่เพียงพอจนเกิดภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและหากหลอดเลือดตีบถึงระดับหนึ่ง ไขมันที่สะสม อยู่ที่หลอดเลือดอาจแตกและกลายเป็นลิ่มเลือดมาอุดตันหัวใจส่งผลให้เกิดภาวะ
กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Heart attack) ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน หรือเสียชีวิตกะทันหันได้
ปัจจัยเสี่ยง โรคหลอดเลือดหัวใจ
1. ปัจจัยที่ไม่สามารถเปลี่ยนได้
- มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็น
- เพศชายมีโอกาสมากกว่า (แต่ผู้หญิงวัยหมดประจําเดือนโอกาสใกล้เคียงกัน)
- อายุมากขึ้น
2. ปัจจัยที่สามารถเปลี่ยนได้
- นํ้าหนักเกิน และอ้วน
- ความดันโลหิตสูง (มากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท)
- ความเครียด
- โรคเบาหวาน
- ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ
- ไม่ออกกำลังกาย
- ทานพัก ผลไม้น้อย
- สูบบุหรีเป็นประจํา
อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ
- เจ็บอกเหมือนมีอะไรมาทับ อาจมีอาการ ร้าวไปถึง คอ กราม ไหล่ และแขน ทั้ง 2 ข้างโดเฉพาะข้างซ้าย เงินมาก ขณะออกแรงบานครั้งละ 2-3 นาที
- เหนื่อยง่าย ขณะออกแรง หรือ ออกทําลัง เกิดขึ้นเฉียบพลัน
- เหนื่อย หายใจหอบ นอนราบไม่ได้ แน่นอึดอัด หายใจเข้าไม่เต็มปอด อาการเกิดเฉียบพลัน หรือเป็นๆ หายๆ มาเป็นเวลานาน
- ความดันค่าเฉียบพลัน หน้ามืดเวียนศีรษะ เป็นลม ร่วมกับอาการแน่นหน้าอก
- หมดสติหรือหัวใจหยุดเต้น
แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 24 มิถุนายน 2568