bih.button.backtotop.text

ทำความรู้จัก "โรคพาร์กินสัน"

ใส่ใจดูแลผู้สูงอายุ เพื่อให้ท่านได้มีความสุขมีคุณภาพชีวิตที่ดี ด้วยวิธีการรักษาที่ทันสมัยและหลากหลาย

โรคพาร์กินสัน คือและวินิจฉัย infographic
โรคพาร์กินสัน อาการและรักษา infographicโรคพาร์กินสัน ใส่ใจผู้สูงอายุ infographic


ทำความรู้จัก “โรคพาร์กินสัน” แนะนำวิธีการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น


โรคพาร์กินสัน คืออะไร?

เป็นโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อมอย่าง ช้าๆของสมอง ในบริเวณส่วนลึก เบซองแกงเกลีย และก้านสมอง มิดเบรนในส่วนสับสแตนเชียในกรา ทําให้เกิดความผิดปกติ ซึ่งเซลล์สมอง ส่วนนี้ มีความสําคัญในการสร้างสาร สื่อประสาทที่เรียกว่า โดพามีน ซึ่งช่วยในการควบคุมการเคลื่อนไหว ของร่างกายให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ความผิดปกติของสมองส่วนนี้ ทำให้ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหวผิดปกติซึ่ง เป็นอาการที่สำคัญของโรค ร่วมกับอาการอื่นๆ


สาเหตุของโรค

ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพาร์กินสันอย่างแน่ชัด แต่เชื่อว่ามีหลายปัจจัยรวมกันที่อาจส่งผลให้เกิดโรคพาร์กินสันได้ ได้แก่
  • ปัจจัยทางพันธุกรรม ในรายที่มียีนผิดปกติ อาจเพิ่มความเสี่ยง
  • ปัจจัยทางสิงแวดล้อม รับสารพิษ สารเคมี จากอากาศ นํ้าดื่ม อาหาร


การวินิจฉัย

ซักถามประวัติและ ตรวจร่างกาย ประกอบกับการตรวจ ทางห้องปฏิบัติการ 
การถ่ายภาพเอกซเรย์สมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Brain MRI) เป็นเพียงการแยกโรคอื่นๆ ที่มีอาการแสดงคล้ายกันออกไป ในปัจจุบันมีการตรวจการทำงานของสมอง ที่เรียกว่า Functional MRI เช่น DAT Scan ซึ่งสามารถตรวจความผิดปกติของสารโดพามิน ในสมองส่วนลึก


การรักษาโรคพาร์กินสัน

ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคพาร์กินสัน ให้หายขาดหรือหยุดยั้งการดำเนินของโรคได้ ซึ่งวิธีการรักษาที่ใช้โดยทั่วไปมีดังนี้


การรักษาด้วยยา

ในระยะเริ่มต้นและระยะกลางของโรค ยังเป็นการรักษาด้วยการใช้ยาเป็นหลัก เนื่องจากโรคพาร์กินสันเป็นโรคที่มี ความผิดปกติของสารสื่อประสาทใน สมองหลายระบบได้แก่ โดพามีน อะซิติลโคลีน อะดรีนาลีน ซีโรโทนิน และอื่นๆ ดังนั้นยาที่ใช้ในปัจจุบันจึงถูกคิดค้นให้ ออกฤทธิ์ต่อสารสื่อประสาทต่างๆ เหล่านี้


หากอาการของโรคไม่ค่อยตอบสนองต่อยา

หรือมีการเคลื่อนไหวยุกยิกผิดปกติ เมื่อถึงระยะท้ายๆของโรค แพทย์อาจต้อง พิจารณาการรักษาอื่นๆ ตามความเหมาะสม ให้กับผู้ป่วยแต่ละราย เช่น
  • การผ่าตัดฝังตัวกระตุ้นสมองส่วนลึก (Deep Brain Stimulation)
  • การให้ยากระตุ้นตัวรับโดพามีน อย่างต่อเนื่องทางผิวหนัง (Subcutaneous Apomorphine Pump)
  • การให้สารโดพามีนอย่างต่อเนื่องทางลำาไส้เล็ก (Intrajejunal Duodopa Infusion)

ใส่ใจดูแลผู้สูงอายุ เพื่อให้ท่านได้มีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดีการนำผู้ป่วยมา ปรึกษาแพทย์ แต่เนิ่นๆ เป็นสิ่งที่แนะนําอย่างยิ่งทุกวันนี้มีวิธีการรักษาที่ทันสมัย และหลากหลาย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:


แก้ไขล่าสุด: 04 กรกฎาคม 2568

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs