bih.button.backtotop.text

สุขภาพวัยทอง

Layout-Women-Center-Element_ศนยสต-นรเวช.pngLayout-Women-Center-Element_สขภาพผหญง.pngLayout-Women-Center-Element_สขภาพวยทอง.pngLayout-Women-Center-Element_สขภาพเตานม.png


 Layout-Women-Center-Element_มะเรงในผหญง-(1).pngLayout-Women-Center-Element_วางแผนตงครรภ-และคลอดบตร-(1).pngLayout-Women-Center-Element_คลนกนมแม-(1).pngLayout-Women-Center-Element_แผนกบำบดพเศษทารกแรกเกด-(1).png

สุขภาพวัยทอง

วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือนของผู้หญิงหมายถึง ช่วงเวลาที่รังไข่หยุดการผลิตไข่ทำให้ไม่มีประจำเดือนอีกต่อไป วัยหมดประจำเดือนจะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 45-55 ปี และจะสมบูรณ์เมื่อประจำเดือนไม่มาติดต่อกันเป็นระยะเวลา 1 ปี เป็นช่วงเวลาที่ผู้หญิงมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และการปรับตัวเข้ากับสังคม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต การเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องวัยทองเพื่อให้สามารถปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องสำคัญที่ช่วยให้สตรีวัยทองสามารถดูแลตนเองและเพิ่มคุณภาพชีวิตได้ ปัจจุบันมีแนวทางการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ช่วยลดอาการต่างๆที่เกิดจากวัยทอง เช่น ปรับพฤติกรรม การใช้ฮอร์โมนทดแทนและการรักษาด้วยยา

สตรีวัยทองที่ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยสามารถที่จะดูแลสุขภาพของตนเองได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำรงชีวิต ซึ่งได้แก่ อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย อนามัยเจริญพันธุ์ และอนามัยสิ่งแวดล้อม
 

Layout-Women-Center-Element_การดแลสขภาพชวงวยทอง-1.png


อาหาร เลือกอาหารที่มีประโยชน์ มีแคลเซียมสูง ลดอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เพิ่มอาหารที่มีเส้นใย ดื่มน้ำให้เพียงพอ


Layout-Women-Center-Element_การดแลสขภาพชวงวยทอง-2.png  

อารมณ์ ควบคุมอารมณ์และฝึกการมองโลกในแง่บวก เพื่อให้มีอารมณ์ที่แจ่มใสอยู่เสมอ


Layout-Women-Center-Element_การดแลสขภาพชวงวยทอง-3.png


ออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที


Layout-Women-Center-Element_การดแลสขภาพชวงวยทอง-4.png  

อนามัยเจริญพันธุ์ ตรวจสุขภาพประจำปีและเข้ารับการตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นประจำ


Layout-Women-Center-Element_การดแลสขภาพชวงวยทอง-5.png


อนามัยสิ่งแวดล้อม พักอาศัยและทำงานในบริเวณที่มีสิ่งแวดล้อมที่สะอาดและสุขอนามัยดี

 

หากได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำรงชีวิตตามคำแนะนำแล้ว แต่ยังคงมีอาการของวัยทองที่ไม่สามารถจัดการได้หรือมีโรคที่เกี่ยวข้องกับวัยทอง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการดูแลรักษาต่อไป

 

สตรีวัยทองแต่ละคนมีอาการวัยทองที่มากน้อยแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงมีอาการมาก จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อาการวัยทองอาจแบ่งออกได้เป็นอาการทางร่างกายและอาการทางจิตใจ

อาการทางร่างกาย

อาการทางจิตใจ

อาการทางจิตใจที่พบได้บ่อย คือ อาการซึมเศร้า หลงลืมง่าย สมาธิสั้น และหงุดหงิดง่าย พบว่าอาการซึมเศร้าเป็นอาการที่พบได้บ่อยและมีผลต่อการอยู่ร่วมในสังคมสูง ในกรณีที่มีผลต่อคุณภาพชีวิต ควรเข้ารับคำแนะนำจากแพทย์

เช็กอาการ คุณเข้าข่าย “วัยทอง” แล้วหรือยัง? 


Banner_Women_centerrisk-assessment_Menopause.png

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs