bih.button.backtotop.text

Bumrungrad Podcast EP.28 ข้อสะโพกเสื่อม จัดการได้ไม่ต้องทนปวด

อาการของข้อสะโพกเสื่อมที่พบบ่อย คืออะไร แล้วกระทบกับการใช้ชีวิตอย่างไรบ้าง? ค้นหาคำตอบได้ใน Bumrugngrad Podcast




ความเสื่อมของร่างกายเป็นสิ่งที่เราทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้และหากความเสื่อมนั้นเกิดขึ้นกับกระดูกและข้อด้วยแล้วมักจะเกิดความทุกข์ทรมานและกระทบกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก สะโพกที่เป็นปัญหาของหลาย ๆ คนล้วงลึกถึงสาเหตุ อาการ ตลอดจน วิธีการรับมือและรักษาอาการข้อสะโพกเสื่อมในบทความนี้

 
สาเหตุของโรคข้อสะโพกเสื่อมเกิดจากอะไรบ้าง 
โรคข้อสะโพกเสื่อม จะแตกต่างจากข้อเข่าเสื่อม ข้อเข่าเสื่อมเกิดจากการที่เราใช้งานมานานตั้งแต่เด็ก ๆ ใช้งานไปเรื่อย ๆ ข้อความเป็นการสึกไปเรื่อย ๆ ทำให้มีอาการของข้อเข่าเสื่อมในอายุเยอะ ๆ อย่างเช่น 60 – 65 - 70 เป็นต้นไป โดยทั่วไปแล้ว มันมีความเสื่อมจากการใช้งาน แต่โรคข้อสะโพกเสื่อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในคนเอเชียแตกต่างจากคนต่างชาติ ในคนยุโรปหรือว่าคนผิวขาว หรือคนผิวดำทั่ว ๆ ไป คือโรคข้อสะโพกเสื่อมของคนเอเชียมักจะเกิดจากความบกพร่องหรือโรคขอตัวข้อสะโพก สาเหตุที่เจอได้บ่อย ๆ มีอยู่ 3 – 4 อย่าง อย่างแรกในคนไทยที่เจอได้มากที่สุด คือหัวกระดูกสะโพกตายเนื่องจากการขาดเลือด อาการความดันในหัวสะโพกมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่ทำให้เกิด มักจะเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ เป็นหลัก รองลงมาคือ กลุ่มยาสเตียรอยด์ ซึ่งกลุ่มยาสเตียรอยด์ พวกนี้จะทำให้ระบบการหมุนเวียนของเลือดภายในหัวสะโพกมันเสียไป จึงทำให้กระดูกหัวสะโพกตาย พอกระดูกหัวสะโพกมันตายก็จะยุบลงไป พอยุบลงไป ผิวข้อไม่เรียบ จึงทำให้เกิดข้อสะโพกเสื่อม ซึ่งในกลุ่มนี้ มักจะเจอได้ในอายุค่อนข้างจะน้อย 30-40 กว่า ๆ โดยเฉพาะในบางรายที่ดื่มแอลกอฮอล์เยอะ


สาเหตุอันต่อไปที่เจอได้ค่อนข้างบ่อยในคนเอเชียและคนไทย เกิดจากความผิดปกติของตัวกระดูกข้อสะโพกมาตั้งแต่กำเนิด คือการเจริญเติบโตของตัวเบ้าสะโพกไม่ค่อยดีนัก ทำให้ข้อสะโพกมันไม่มั่นคง เมื่อข้อสะโพกไม่มั่นคงแล้วโดนใช้งานเยอะในการรับแรงมากขึ้น ก็ทำให้ข้อสะโพกเสื่อมเกิดขึ้นได้ โดยทั่วไปก็จะมักอยู่ในช่วง 50-60 กว่าๆ คล้าย ๆ กับคนที่เป็นข้อเขาเสื่อม
 
สาเหตุอีกอย่างที่พบได้เหมือนกัน ก็คือผู้ป่วยที่มีอุบัติเหตุ เช่น กระดูกข้อสะโพกหักมาก่อน กระดูกเชิงกรานหักมาก่อน หรือ กระดูกข้อสะโพกเลื่อนหลุดมาก่อน กลุ่มนี้ทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวกระดูกสะโพกซึ่งเป็นเส้นที่เล็กมาก ๆ ขาด หรือว่าอุดตันจากตัวลิ่มเลือด ก็เลยทำให้ตัวหัวกระดูกขาดสะโพกเหมือนกัน กลุ่มที่ 3 นี่คือกลุ่มที่มักจะเกิดขึ้นหลังจากเกิดอุบัติเหตุ  กลุ่มที่ 4 ที่อาจจะเจอได้บ้างไม่มากนักคือ กลุ่มที่มีการติดเชื้อในตัวข้อสะโพก กลุ่มที่มีการติดเชื้อในตัวข้อสะโพกกลุ่มนี้จะมีการทำลายผิวข้อไป จึงเป็นสาเหตุทำให้ข้อสะโพกเสื่อมตามมา
 
 
อาการของข้อสะโพกเสื่อมที่พบบ่อยๆ มีอะไรบ้าง
อาการเริ่มต้นของข้อสะโพกเสื่อม คือ ปวดที่บริเวณสะโพก ครั้งแรกอาจจะไม่ปวดเฉพาะเจาะจง คือ ปวดร้าว ๆ ไปรอบ ๆ สะโพก แต่มักจะไม่ปวดร้าวลงไปถึงขาหรือปลายเท้า อาจจะมีอาการถึงเข่าได้บ้าง แต่สุดท้ายพอมันปวดนานๆ มากๆ มักจะปวดที่บริเวณขาหนีบเป็นหลัก นอกจากอาการปวดแล้ว สิ่งหนึ่งที่บ่งบอกค่อนข้างเด่นชัด ก็คือว่าอาการปวดนั้นจะมีส่วนเกี่ยวเนื่องกับกิจกรรม คือเมื่อไรก็ตามที่เราต้องเดินต้องออกกำลังกาย หรือทำอะไรก็ช่างที่มันต้องน้ำหนักต้องลงที่ข้อสะโพก ตอนนั้นเนี่ย ถึงจะเกิดอาการ แต่ถ้าเรานั่งพัก นอนหลับไป อาการพวกนี้ก็จะลดลง เพราะว่ามันเป็นเหมือนกับ mechanical มันต้องมีการรับน้ำหนักของตัวข้อสะโพกมันถึงทำให้เกิดอาการ
 
 
สัญญาณบ่งบอกอาการข้อสะโพกเสื่อมเนี่ย มีวิธีสังเกตอย่างไร
ผู้ป่วยมีอาการปวดบริเวณสะโพก โดยเฉพาะบริเวณขาหนีบ อาการเจ็บปวดมักเกิดขึ้นเมื่อมีกิจกรรมต่างๆ เช่นการเดิน อาการเจ็บปวดอาจจะร้าวลงไปที่บริเวณหัวเข่าร่วมด้วย แต่มักจะไม่มีอาการชาหรือร้าวลงไปจนถึงปลายเท้า อาการ เริ่มต้นจากมีความรู้สึกติดขัดเมื่อมีการเคลื่อนไหวข้อสะโพก และเมื่อเวลาผ่านไปอาการปวดจะมากขึ้นเรื่อยๆ และไม่สามารถเดินได้ตามปกติ และการเคลื่อนไหวข้อสะโพกมักจะติดขัด

 
การวินิจฉัยโรคข้อสะโพกเสื่อม
ก่อนการรักษาแพทย์จะตรวจร่างกาย การตรวจร่างกายที่เหมือนค่อนข้างที่จำเพาะว่าตรงนี้น่าจะเกิดจากข้อสะโพก การตรวจวิธีการเดินของคนไข้ ดูสภาพของข้อสะโพกจากภาพถ่ายทางรังสี หรืออาจทำ CT scan หรือ MRI เพื่อประเมินสภาพความรุนแรงของข้อสะโพกที่เสื่อม
 
 
วิธีการรักษาข้อสะโพกเสื่อม
โดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม แพทย์จะแนะนำให้คนไข้เปลี่ยนก็ต่อเมื่ออาการปวดจนกระทบคุณภาพชีวิตคนไข้มากๆ  เมื่อมีความจำเป็นต้องผ่าตัดข้อสะโพกเทียม แพทย์และผู้ป่วยจะพิจารณาร่วมกันในการเลือกแนวทางการผ่าตัดที่เหมาะสมที่สุด โดยมีเป้าหมายที่ทำให้ผู้ป่วยปลอดภัย ฟื้นตัวเร็ว ใช้งานข้อสะโพกเทียมได้ดีและใช้งานได้นานที่สุด

 
การผ่าตัดที่มีความปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน
ดังนั้นแม้ในปัจจุบันการผ่าตัดข้อเข่าข้อสะโพกเทียมจะได้ผลดีมาก แต่ก็มีโอกาสเกิดปัญหาหลังผ่าตัดได้ ก่อนตัดสินใจทำผ่าตัดข้อเข่าหรือข้อสะโพกเทียม ผู้ป่วยจึงควรที่จะให้ความสำคัญในการเลือกแพทย์ผู้ผ่าตัดที่มีประสบการณ์และมีความรู้ความชำนาญในด้านการผ่าตัดข้อเทียมโดยตรง ควรเลือกใช้ข้อเทียมที่มีคุณภาพสูง ไม่ใช่เน้นที่ราคาถูก เพราะอาจมีอายุการใช้งานที่ไม่นาน และหากสามารถใช้เทคโนโลยีช่วยในการผ่าตัดได้ ก็จะลดความเสี่ยงในการเกิดความคลาดเคลื่อนในระหว่างทำผ่าตัด สุดท้ายควรเลือกทำผ่าตัดในโรงพยาบาลที่มีข้อมูลพิสูจน์ได้ถึงความปลอดภัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือสถิติในด้านการติดเชื้อหลังผ่าตัดข้อเทียม แต่อย่างไรก็ตาม หากมีปัญหาหลังผ่าตัดข้อเข่าหรือข้อสะโพกเทียมสามารถทำการผ่าตัดแก้ไขได้
 
 
การดูแลตัวเองหลังการผ่าตัด
  • ควรวางหมอนไว้ที่หว่างขาในเวลานอนหลับเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ หลีกเลี่ยงการนั่งไขว่ห้าง การก้มหยิบของและการนั่งเก้าอี้เตี้ย ห้ามวิ่งหรือกระโดด หลีกเลี่ยงการงอสะโพกมากกว่า 90 องศา ไม่ยกหรือดันของหนัก (ในกรณีใช้เทคนิคผ่าตัดเข้าทางด้านหลัง) และช้ำไม้ค้ำยันอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง
  • ออกกำลังกายตามคำแนะนำของนักกายภาพเพื่อสร้างความแข็งแรงให้แก้ข้อสะโพกและกล้ามเนื้อโดยรอบ รวมทั้งบริหารให้เคลื่อนไหวข้อได้สะดวกคล่องตัวขึ้น ไม่มีภาวะข้อยึดติด
 
ควรทำอย่างไร ให้ห่างไกลจากโรคสะโพกเสื่อม?
แม้เราจะไม่สามารถหยุดยั้งความเสื่อมตามธรรมชาติได้ แต่เราก็สามารถดูแลสุขภาพของเราหรือคนใกล้ตัว เพื่อชะลอความเสื่อมได้ โดยมีวิธีง่าย ๆ ดังนี้
  1. งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากแอลกอฮล์เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นหัวกระดูกหัวสะโพกตาย ซึ่งเป็นสาเหตุนำอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคข้อสะโพกเสื่อม มากกว่า 10 เท่า
  2. พยายามออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนไหวสม่ำเสมอและไม่มีแรงกระแทก เช่น การปั่นจักรยาน การเดิน การเดินในน้ำ ว่ายน้ำ เป็นต้น
  3. รักษาระดับน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป เพราะนอกจากเสี่ยงต่อข้อสะโพกเสื่อมแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้ด้วย
 
แม้ข้อสะโพกเสื่อมอาจเป็นเรื่องที่หลายคนหลีกเลี่ยงไม่ได้แต่สามารถรักษาได้ เพื่อให้ผู้ป่วยนั้นกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง
 
ศูนย์เวชศาสตร์การกีฬาและข้อ​ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีความเสื่อมของข้อสะโพกและข้อเข่า โดยรวมแพทย์ผู้ชำนาญและมีประสบการณ์ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม ทีมแพทย์ของเราให้การดูแลรักษาและผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมให้ผู้ป่วยมามากกว่าพันราย ประสบการณ์ในการทำงานด้านเปลี่ยนข้อเทียมมากกว่าสิบปี โดยใช้ข้อเทียมที่ดีมีมาตรฐาน และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เรายังมีทีมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลเตรียมผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด และดูแลฟื้นฟูสภาพภายหลังการผ่าตัด ทีมศัลยแพทย์ข้อสะโพกและข้อเข่าเทียมยังเป็นทีมแพทย์ที่มีชื่อเสียงในวงการแพทย์ข้อสะโพกและข้อเข่าเทียมทั้งภายในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นอกจากนี้เรายังมีทีมแพทย์เฉพาะทางในสาขาที่เกี่ยวข้องและทีมสหสาขาวิชาชีพที่ชำนาญพิเศษในการดูแลผู้ป่วยโรคข้อ ซึ่งทำงานเป็นทีมร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างดีที่สุดตั้งแต่ก่อนการผ่าตัด ไปจนถึงการฟื้นฟูภายหลังการผ่าตัด เป้าหมายของเราคือการทำให้ผู้ป่วยกลับไปมีคุณภาพชีวิตที่ดีและทำกิจกรรมที่ชื่นชอบได้เหมือนเดิม


เรียบเรียงโดย นพ. ชาลี สุเมธวานิชย์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านศัลยศาสตร์กระดูกและข้อและข้อเทียม ศูนย์เวชศาสตร์การกีฬาและข้อ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์


 
 
Layout-BI-Podcast-Badge_Spotify-360x118.png  Layout-BI-Podcast-Badge_YouTube-360x118.png  Layout-BI-Podcast-Badge_Apple-Podcasts-360x118.png

Layout-BI-Podcast-Badge_Google-Podcasts-360x118.png  Layout-BI-Podcast-Badge_Anchor-360x118.png  Layout-BI-Podcast-Badge_Blockdit-360x118.png


 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs