bih.button.backtotop.text

ปวดสะโพกเรื้อรัง อย่าปล่อยทิ้งไว้!

สาเหตุของอาการปวดข้อสะโพกที่อาจจะพบได้บ่อยมากที่สุดคือ การเจ็บปวดของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น แตกต่างจากการออกกำลังกายหรือจากการใช้งาน ซึ่งการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อเส้นเอ็นต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้เป็นสาเหตุที่รุนแรงสามารถรักษาหายได้โดยการทานยาหรือว่าการพักผ่อน ส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่มีความรุนแรงมักเกิดเป็นเวลายาวนาน จะเริ่มเจ็บขึ้นมาทีละนิด ยาวนานเป็นเดือน รักษาโดยการกินยาจะทำให้อาการดีขึ้นแต่ไม่สามารถทำให้ตัวโรคนั้นมันหายไป

อาการปวดข้อสะโพก เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร และข้อควรรู้เกี่ยวกับการผ่าตัดข้อสะโพก

อาการปวดข้อสะโพก เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ สาเหตุที่อาจจะพบได้บ่อยมากที่สุดคือ การเจ็บปวดของตัวกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น จากการออกกำลังกายหรือจากการใช้งาน ซึ่ง การเจ็บปวดของกล้ามเนื้อเส้นเอ็น ต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้เป็นสาเหตุที่รุนแรง สามารถรักษาหายได้โดยการทานยาหรือว่าการพักผ่อน

ส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่จะมีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม โดยทั่วไปแล้วโรคเกี่ยวกับข้อสะโพกที่มีความรุนแรงมักจะเกิดมาเป็นเวลายาวนาน อาจจะยาวนานเป็นเดือนแล้วทำให้มีอาการมากขึ้นมาเรื่อยๆ

สำหรับการรักษาช่วงแรก คือการให้ยา ช่วยให้อาการดีขึ้นแต่จะไม่สามารถทำให้โรคข้อสะโพกเสื่อมหรือปัญหาข้อสะโพกนั้นหายไปได้ โรคกลุ่มนี้มักจะเกิดจาก ข้อสะโพกเสื่อม (Hip Osteoarthritis) ซึ่งพบไม่มากในคนไทยหรือคนเอเชีย

แต่ในคนเอเชียที่พบมากๆ ก็คือกลุ่ม กระดูกข้อสะโพกตาย (Avascular Necrosis) จากหลายๆ สาเหตุ ซึ่งจะทำให้เกิดข้อเสื่อมต่อไปในอนาคตได้ ซึ่งในกลุ่มนี้การเจ็บมักจะค่อยๆ เกิด เริ่มต้นจากนิดหน่อยๆ มีมากขึ้นตามลำดับ กินยาไปแล้วก็ดีขึ้น แต่ทำอย่างไรก็ไม่หาย

ในกลุ่มนี้เราสามารถมองเห็นหรือวินิจฉัยได้จากการทำ X-ray ข้อสะโพก ตรวจร่างกาย หรือทำ MRI ข้อสะโพก และในกลุ่มโรคพวกนี้ที่จำเป็น เป็นกลุ่มโรคของข้อสะโพกที่รุนแรง อาจจะต้องรักษาโดย การผ่าตัดข้อสะโพกเทียม (Hip Replacement Surgery)

เป้าหมายของการผ่าตัดข้อสะโพก คือ การผ่าตัดครั้งเดียวเพื่อให้ใช้ไปได้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ อันนี้คือจุดหลัก และจุดที่สำคัญที่สุดของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก คือการผ่าตัด 1 ครั้ง ใช้ไปได้นาน 20-30 ปี หรือใช้ไปได้ตลอดชีวิต ซึ่งเหล่านี้มันมีปัจจัยหลายๆ อย่างในการที่จะทำให้ ข้อสะโพกเทียมอยู่กับเราได้นาน

โดย นพ. ชาลี สุเมธวานิชย์ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ

 

รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 16 มิถุนายน 2568

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs