bih.button.backtotop.text

“โรคใหลตาย” รู้ก่อนป้องกันได้

“โรคใหลตาย” รู้ก่อนป้องกันได้

“โรคหัวใจที่คุณหรือครอบครัวอาจจะไม่มีโอกาสครั้งที่สอง”
อาการใหลตายคือกลุ่มอาการเสียชีวิตเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ (Sudden Unexplained Death Syndrome; SUDS) โดยผู้ป่วยจะเสียชีวิตเพราะหัวใจหยุดเต้นกระทันหันโดยไม่มีอาการผิดปกติใดๆ มาก่อน 
 

อาการใหลตายเกิดขึ้นได้อย่างไร

สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่
  • ความผิดปกติของระบบไฟฟ้าหัวใจ เช่น กลุ่มอาการบรูกาด้า (Brugada syndrome) และกลุ่มอาการ early repolarization syndrome, long QT syndrome
  • ความผิดปกติของระบบหลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจ(โคโรนารี่) เช่น ความผิดปกติของหลอดเลือดที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด ความผิดปกติของทางไหลเวียนของเลือดในหัวใจ 
  • กลุ่มอาการที่ผนังห้องหัวใจหนาผิดปกติ เช่น Hypertrophic obstructive cardiomyopathy, ARVD ที่มีความผิดปกติของหัวใจห้องล่างขวา
  • สาเหตุอื่น เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคลิ่มเลือดอุดตันและร่างกายได้รับสารพิษต่างๆ
 

กลุ่มอาการบรูกาด้า (Brugada syndrome)

กลุ่มอาการบรูกาด้าเป็นโรคที่พบบ่อยในคนไทย โดยทั่วโลกมีอัตราการเกิดโรค 40 คนต่อประชากรหนึ่งแสน กลุ่มอาการบรูกาด้าเกิดจากความผิดปกติของยีนที่สร้างโปรตีนควบคุมการไหลเข้า-ออกของโซเดียมในเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้การนำไฟฟ้าในกล้ามเนื้อหัวใจไม่เสถียรเท่ากัน ส่วนมากเกิดที่หัวใจห้องล่างขวา
 

ใครบ้างที่มีความเสี่ยง

ถึงแม้ผู้ป่วยมักจะไม่มีสัญญาณเตือนหรืออาการมาก่อนที่จะเกิดหัวใจหยุดเต้นกะทันหันหรือเสียชีวิตแต่ปัจจัยต่อไปนี้ ทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคมากขึ้น
  • มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเกิดอาการใหลตาย ผู้ป่วยกลุ่มอาการบรูกาด้าประมาณ 15-30% มียีนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรค
  • ผู้ชายในช่วงวัยทำงานหรือวัยกลางคน
  • เชื้อชาติ พบบ่อยในชาวเอเชีย โดยเฉพาะชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
 

อาการที่พบได้มีอะไรบ้าง

อาการที่พบได้มีดังนี้ โดยกลุ่มอาการบรูกาด้ามักจะเกิดในช่วงนอนหลับหรือหลังมื้ออาหารใหญ่ๆ 

 

รักษาได้อย่างไร

หลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้อาการกำเริบ เช่น ภาวะไข้สูง การรับประทานยาบางชนิดที่มีผลต่อการไหลเข้าออกของโซเดียมในเซลล์ หากแพทย์พบว่าผู้ป่วยเคยมีอาการหัวใจหยุดเต้นมาก่อนหรือมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการเสียชีวิตฉับพลัน แพทย์อาจรักษาโดยการไฟฟ้าหัวใจ และ/หรือ ฝังเครื่องกระตุกหัวใจ (AICD)  


ป้องกันได้อย่างไรก่อนที่จะไม่มีโอกาสครั้งที่สอง

ความท้าทายของกลุ่มอาการเสียชีวิตเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ คือการตรวจพบก่อนที่จะมีอาการ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เคยมีอาการเป็นลมหรือหัวใจหยุดเต้นโดยไม่ทราบสาเหตุมาก่อนหรือมีสมาชิกในครอบครัวที่มีอาการหรือเสียชีวิตเช่นนี้มาก่อนควรมาปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย
  • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางพันธุกรรมหัวใจเพื่อตรวจคัดกรองทางพันธุกรรมในผู้ป่วยที่มีอาการแล้วจึงตรวจคนในครอบครัวต่อไป หากผู้ที่มีอาการเสียชีวิตไปแล้ว แพทย์จะพิจารณาตรวจตามประวัติและความเสี่ยง
กลุ่มอาการเสียชีวิตเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ  สร้างความสูญเสียให้กับหลายครอบครัวในทุกๆ ปี และอาการครั้งแรกที่เกิดขึ้นอาจจะทำให้เสียชีวิตได้โดยไม่มีโอกาสครั้งที่สอง  ดังนั้นการตรวจสุขภาพ ตรวจหัวใจเป็นประจำทุกๆปีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติสูญเสียสมาชิกในครอบครัวในลักษณะนี้มาก่อน เพราะทำให้ตรวจเจอโรคและป้องกันก่อนที่จะมีอาการ



 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
065-509-9198 
(ระหว่างเวลา 8.00-20.00 น. )

02-066-8888
(ระหว่างเวลา 20.00-8.00 น. )

Email
[email protected]
 

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs