bih.button.backtotop.text

การใส่เครื่องกระตุกสัญญาณไฟฟ้าหัวใจ

การใส่เครื่องกระตุกสัญญาณไฟฟ้าหัวใจ (implantable cardioverter defibrillator: ICD) เป็นอุปกรณ์ที่ฝังในร่างกายเพื่อตรวจจับสัญญาณไฟฟ้าในหัวใจตลอดเวลา และปล่อยกระแสไฟฟ้ารักษาในทันทีที่พบว่าหัวใจห้องล่างซ้ายเต้นเร็วผิดจังหวะชนิดที่เป็นอันตรายแก่ชีวิต เพื่อทําให้หัวใจกลับมาเต้นเป็นจังหวะปกติ โดยหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะชนิดนี้เป็นสาเหตุที่อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตเนื่องจากหัวใจหยุดเต้นกะทันหันได้ นอกจากนี้ยังสามารถกระตุ้นหัวใจในกรณีที่พบหัวใจเต้นช้ากว่าปกติได้ด้วย

ส่วนประกอบสำคัญของเครื่องกระตุกสัญญาณไฟฟ้าหัวใจ

1.   ตัวส่งสัญญาณซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่

2.   สายสัญญาณไฟฟ้าจำนวน 1 หรือ 2 เส้น ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย

3.   สายสัญญาณไฟฟ้าคือสายไฟมีฉนวนหุ้มทำหน้าที่ส่งสัญญาณไปกระตุกหัวใจ เมื่อเครื่องตรวจพบว่าหัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดปกติหรือหัวใจห้องล่างเต้นสั่นพลิ้ว เครื่องจะส่งกระแสไฟฟ้าไปกระตุกหัวใจให้กลับมาเต้นตามจังหวะปกติ

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการเข้ารับการใส่เครื่องกระตุกสัญญาณไฟฟ้าหัวใจ ได้แก่
  1. มีเลือดออกหรือมีก้อนเลือดที่เกิดจากการมีเลือดออกและคั่งอยู่ใต้ผิวหนัง หรือติดเชื้อบริเวณที่ใส่เครื่องกระตุกสัญญาณไฟฟ้าหัวใจ
  2. มีอาการแพ้ยาที่ได้รับระหว่างการใส่เครื่อง
  3. หลอดเลือดได้รับความเสียหาย
  4. มีภาวะเลือดออกในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ
  5. เครื่องส่งสัญญาณไปกระตุกหัวใจในจังหวะที่ไม่เหมาะสมกับอาการ เครื่องทำงานผิดปกติ หรือสายไฟหลุด
  6. เกิดลิ่มเลือดอุดตัน ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดในสมองตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือภาวะอื่นซึ่งพบน้อยมาก
  7. เสียชีวิตซึ่งโอกาสเกิดน้อยมาก

Doctors Related

Related Centers

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs