bih.button.backtotop.text

Q&A - หมดประจำเดือน

20 มกราคม 2551

Q: ดิฉันอายุ43ปีค่ะตั้งแต่หมดประจำเดือน ดิฉันสังเกตว่าตัวเองไม่ค่อยมีแรงและรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลาอาการแบบนี้เป็นปกติของ ผู้หญิงวัยนี้หรือเปล่าคะและจะมีวิธีแก้ไข อย่างไร 

A: โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้หญิงไทยส่วนมากเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนเมื่ออายุประมาณ 45 - 50 ปี ซึ่งอาการ เหนื่อยล้าอย่างต่อเนื่องเป็นอาการที่พบประจำและถือว่าปกติสำหรับผู้หญิงในวัยนี้ กรณีของคุณ ถือว่าเข้า สู่วัยหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควร

การหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควร มักมีสาเหตุมาจาก การเจ็บป่วย การผ่าตัด เคมีบำบัดหรือการฉายรังสี นอกจากนี้พันธุกรรมก็เป็น ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ อาการเหนื่อยล้าอย่างต่อเนื่องของคุณอาจเป็นผลมาจากการ ลดลงอย่างรวดเร็วของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน ความเครียดและภาวะซึมเศร้า ก็เป็นได้

ปรึกษาแพทย์ของคุณ และเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ แน่ใจว่าอาการเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติบางอย่างของร่างกาย 

Q: ผมรู้สึกปวดแปลบ ๆ บริเวณขากรรไกรใต้ใบหู จึงอยากลองปรึกษาแพทย์ แต่ไม่แน่ใจว่าควรจะเริ่มตรงไหน จะไปพบหมอฟัน หมอด้าน หูคอ จมูก หรือศัลยแพทย์ สมองดี ผมควรทำอย่างไร ครับ

A: อาการปวดเล็ก ๆ น้อย ๆ บริเวณขากรรไกร หรือกล้ามเนื้อที่ควบคุม การเคี้ยวอาหารที่เกิดขึ้นบางครั้งบางคราวนั้น ไม่ใช่เรื่องรุนแรง และควร หายไปได้เองภายในเวลาไม่นาน แต่ถ้าคุณยังรู้สึกปวดไม่หาย คุณควรไป พบทันตแพทย์ก่อนเป็นอันดับแรก

ในกรณีนี้ ทันตแพทย์หญิงภาณุเพ็ญ สิทธิสมวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน อาการปวดบริเวณช่องปากและใบหน้าที่ได้รับการรับรองจากสมาคมทันตแพทย์ ของประเทศสหรัฐอเมริกาอธิบายว่า “อาการปวดที่คุณเป็นอยู่นี้อาจเกิดจาก ความผิดปกติของกล้ามเนื้อ และกระดูกบริเวณขากรรไกร (Temporomandibular Disorder หรือ TMD, Temporomandibular Joint Syndrome หรือ TMJ) นอกจากอาการปวดบริเวณดังกล่าวแล้ว อาจมีอาการอื่นได้แก่ อาการปวด บริเวณศีรษะ ฟัน หู คอ หรือไหล่ อ้าปากขัด ๆ บางกรณี ผู้ป่วยอาจได้ ยินเสียงคลิ๊ก เสียงป๊อก หรือเสียงกรอบ ๆ ทุกครั้งที่อ้าปากหรือหุบปาก”

TMD นี้อาจมีสาเหตุมาจากการกัดฟันหรือขบกราม (ขณะนอนหลับ หรือในเวลาที่ไม่รู้สึกตัว) ซึ่งการบดขยี้ซ้ำ ๆ เช่นนี้ ก่อให้เกิดการอักเสบ ของกล้ามเนื้อขากรรไกร รวมทั้งส่งผลให้ข้อต่อขากรรไกรอักเสบหรือเสื่อม ในที่สุด

คุณหมอภาณุเพ็ญอธิบายว่า “ในผู้ที่มีอาการไม่รุนแรง หมอมักจะ แนะนำให้พักการใช้งานขากรรไกร ร่วมกับการใช้ยาบรรเทาการอักเสบ บางกรณีอาจแนะนำให้ผู้ป่วยสวมอุปกรณ์ป้องกันฟันที่ทำจากพลาสติกหรือ ยางเพื่อลดแรงกดที่ขากรรไกร”

อย่างไรก็ตาม คุณหมอภาณุเพ็ญแนะนำว่า “ควรป้องกันไว้ก่อนจะดี ที่สุด ซึ่งทำได้โดยไปพบทันตแพทย์ปีละ 2 ครั้งเพื่อตรวจสุขภาพของ ช่องปาก และแจ้งให้ทันตแพทย์ของคุณทราบหากคุณมีอาการปวดบริเวณ ขากรรไกร หรืออาการผิดปกติอื่น ๆ”

Q:ดิฉันปวดไมเกรนแบบเป็น ๆ หาย ๆมาตลอดระยะเวลา 2 ถึง 3 ปีที่ผ่านมา อยากขอคำแนะนำในการปฏิบัติตัวง่าย ๆ เพื่อลดความถี่และความรุนแรงค่ะ

A: การปวดศีรษะแบบไมเกรนทำให้คนอีกเป็นล้าน ๆ คนได้รับความทุกข์ทรมานเป็นอย่างมาก เมื่อเกิดอาการขึ้น ในแต่ละครั้งก็ล้วนแต่บั่นทอนสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทั้งสิ้น การรับประทานยาอาจช่วยบรรเทาอาการได้ ในบางครั้ง นอกจากนี้ จากการศึกษาพบว่า การนอนพักในห้องมืดและเงียบ ประคบเย็นบริเวณหน้าผากร่วมกับการนวด ขมับด้วยแรงกดจากนิ้วมือสามารถบรรเทาอาการและช่วยให้หายปวดได้เร็วขึ้น

ลองสังเกตดูว่าสิ่งใดหรือสถานการณ์ใดบ้างกระตุ้นให้คุณปวดศีรษะ และหลีกเลี่ยงปัจจัยเหล่านั้นเท่าที่เป็นไปได้ ปัจจัยดังกล่าวได้แก่ 1. อดนอน 2. แสงแดดแรง ๆ 3. เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะไวน์แดง 4. อาหารที่มีช็อคโกแลต และชีสปนอยู่ 5. ฮอร์โมนเพศหญิง เช่น ยาคุมกำเนิด 6. ความเครียด ถ้าท่านปวดศีรษะไมเกรนมากกว่า 2 ครั้งต่อเดือน และได้พยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยดังกล่าวข้างต้นแล้ว แพทย์จะแนะนำให้ท่านรับประทานยาป้องกันปวดไมเกรน ติดต่อกันประมาณ 3 - 6 เดือนจะสามารถช่วยให้ท่านหายจากอาการปวดศีรษะอย่างน้อยเป็นการชั่วคราว

มีข้อสงสัยเรื่องสุขภาพ

หากคุณมีข้อสงสัยเรื่องสุขภาพ ส่งคำถามของคุณมาทางอีเมล์ [email protected]
หรือที่ บรรณาธิการนิตยสาร Better Health ฝ่ายการตลาดและพัฒนาธุรกิจ
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล 33 สุขุมวิท ซอย 3 กรุงเทพฯ 10110
 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs