bih.button.backtotop.text

ลำไส้เล็กส่วนต้นอักเสบ

ลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenum) เป็นส่วนแรกของลำไส้เล็กที่อยู่ติดกับกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนต้นอักเสบเป็นการอักเสบของเยื่อบุลำไส้ส่วนนี้

สาเหตุ
สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของลำไส้เล็กอักเสบคือการติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori (H. pylori) อีกสาเหตุที่พบได้บ่อยคือการใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (เช่น แอสไพรินและไอบูโพรเฟน) ติดต่อกันเป็นเวลานาน ส่วนสาเหตุอื่นอาจพบไม่มากนักแต่ก็จำเป็นต้องนำมาพิจารณาด้วยเช่นกัน
  • การติดเชื้อ Helicobacter pylori (H. pylori): H. pylori เป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่พบในกระเพาะอาหาร (มักพบในผู้ที่มีอาการ) H. pylori กระตุ้นให้การผลิตกรดในกระเพาะอาหารเพิ่มสูงขึ้นซึ่งเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบของลำไส้เล็กส่วนต้น การติดเชื้อ H. pylori มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่ามีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเกิดลำไส้เล็กส่วนต้นอักเสบ
  • ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroidal anti-inflammatory drugs: NSAIDs): ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์เป็นยาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุด ยากลุ่มนี้อาจเพิ่มความเป็นกรดในกระเพาะอาหารและทำให้ชั้นเมือกปกป้องอ่อนแอลง ซึ่งมักจะเกิดขึ้นกับการใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ในระยะยาวหรือแม้แต่การใช้ระยะสั้นในขนาดที่มากเกินไป ยากลุ่มต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ที่ใช้กันมากได้แก่ แอสไพริน ไอบูโพรเฟน และนาพรอกเซน
  • สาเหตุอื่นๆ: มีหลายปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดลำไส้เล็กส่วนต้นอักเสบ แต่ทุกคนที่มีปัจจัยเสี่ยงไม่จำเป็นจะต้องเป็นลำไส้เล็กอักเสบเสมอไป
  • การหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป  
  • การสูบบุหรี่
  • การใช้แอลกอฮอล์ในทางที่ผิด
  • โรคโครห์น (โรคที่มีการอักเสบของลำไส้ซึ่งเกิดได้กับทุกส่วนของลำไส้เล็ก)
  • ประวัติการรักษาด้วยการฉายรังสี
  • ความเครียดหรือเจ็บป่วยรุนแรง
  • การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือไวรัส
  • การบาดเจ็บต่อกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก
  • ปวดท้องส่วนบน
  • ท้องอืด อาหารไม่ย่อย
  • คลื่นไส้โดยอาจมีหรือไม่มีอาการอาเจียนร่วมด้วยก็ได้
  • เบื่ออาหาร
  • อุจจาระมีเลือดปน (เลือดอาจเป็นสีแดงสด ดำ หรือลักษณะเหมือนน้ำมันดิน)
แพทย์จะสอบถามผู้ป่วยเกี่ยวกับอาการและทำการตรวจร่างกาย ผู้ป่วยอาจต้องทำการทดสอบเพื่อยืนยันว่ามีการติดเชื้อ H. pylori หรือไม่ นอกจากนี้อาจจำเป็นต้องทำการตรวจต่อไปนี้
  • การส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ใช้สำหรับตรวจดูปัญหาในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ในระหว่างกระบวนการแพทย์จะใช้อุปกรณ์ส่องกล้อง (ท่อยาวที่มีไฟและกล้องที่ส่วนปลาย) และอาจตัดชิ้นเนื้อตัวอย่างจากลำไส้เล็กเพื่อนำไปตรวจ
  • การตรวจเลือด อาจใช้เพื่อแสดงให้เห็นถึงการติดเชื้อ
  • การตรวจลมหายใจ อาจแสดงว่าเชื้อ H. pylori เป็นสาเหตุของลำไส้เล็กส่วนต้นอักเสบ ผู้ป่วยจะได้รับของเหลวสำหรับดื่ม จากนั้นจะหายใจใส่ในถุง แพทย์จะวัดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในลมหายใจ โดยปริมาณที่มากผิดปกติอาจหมายถึงมีการติดเชื้อ H. pylori
การรักษาขึ้นกับว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดลำไส้เล็กส่วนต้นอักเสบ แนวทางการรักษาลำไส้เล็กส่วนต้นอักเสบมีดังนี้
  • การใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ H. pylori
  • การใช้ยาเพื่อลดปริมาณกรดที่ผลิตขึ้นในกระเพาะอาหาร
  • หยุดยากลุ่มต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น แอสไพริน และไอบูโพรเฟน อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยใช้ยาแอสไพรินเพื่อรักษาสภาวะทางการแพทย์ เช่น โรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดสมอง อย่าหยุดยาจนกว่าจะได้สอบถามแพทย์ หากผู้ป่วยใช้ยากลุ่มต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์สำหรับโรคข้ออักเสบหรืออาการปวด โปรดปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับทางเลือกอื่น
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
  • เลิกสูบบุหรี่
  • งดสูบบุหรี่
  • จำกัดการดื่มหรืองดดื่มแอลกอฮอล์
  • ไม่ใช้ยากลุ่มต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์หรือแอสไพริน เว้นแต่แพทย์สั่ง
  • ไม่รับประทานอาหารที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ทางเดินอาหาร-ตับ

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์ศัลยกรรมลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

ให้บริการตรวจวินิจฉัย รักษาโรคลำไส้ใหญ่ และทวารหนักครบวงจร

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs