bih.button.backtotop.text

การขาดประจำเดือน

โดยปกติผู้หญิงมีประจำเดือนทุกๆ 28-30 วัน(หรืออยู่ในช่วง 21-35 วัน) ประจำเดือนจะมาประมาณ 3-5 วัน หรือไม่ควรเกิน 7 วัน และประจำเดือนที่ออกมาในแต่ละวันไม่ควรเกิน 80 ซีซี หรือเทียบได้กับการเปลี่ยนผ้าอนามัย 4 ผืนต่อวัน(แบบที่มีเลือดชุ่มเต็มแผ่น) ภาวะขาดประจำเดือน คือ ภาวะใดภาวะหนึ่งที่ทำให้ไม่มีเลือดประจำเดือนออกมาตามปกติ

วิธีการดูแลสุขภาพตนเองเมื่อประจำเดือนมาไม่ปกติ
  1. ลดความเครียด
  2. พักผ่อนให้รู้สึกผ่อนคลาย
  3. เลือกรับประทานอาหารให้ครบถ้วนและเหมาะสม
  4. รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  5. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เป็นต้น
  6. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การขาดประจำเดือนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
  • การขาดประจำเดือนปฐมภูมิ (Primary amenorrhea) คือภาวะที่สตรีไม่เคยมี ประจำเดือนเลย ตั้งแต่สาว (ใช้เกณฑ์อายุ 16 ปี ยังไม่เคยมี ระดู หรือ 14 ปี ยังไม่มีลักษณะพัฒนาการทางเพศขั้นที่สองของสตรีเช่น การมีเต้านม ขนหัวหน่าว ขนที่อวัยวะเพศ ขนรักแร้ และการมีระดู)
  • การขาดประจำเดือนทุติยภูมิ (Secondary amenorrhea) คือภาวะที่สตรีเคยมี ระดูมาก่อน แต่ต่อมามีการขาดระดูติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือน หรือ 3 รอบของรอบระดูที่เคยมีมาก่อน 
  • การขาดประจำเดือนปฐมภูมิ (Primary amenorrhea)  สาเหตุอาจเกิดจากพันธุกรรม ความผิดปกติทางกายวิภาคของระบบสืบพันธุ์มาตั้งแต่กำเนิด หรือมีความผิดปกติของโครโมโซม ทำให้มีผลต่อการทำงานของรังไข่ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนเพศได้ตามปกติ
  • การขาดประจำเดือนทุติยภูมิ (Secondary amenorrhea)
    • การตั้งครรภ์
    • ภาวะ Polycystic ovary syndrome (PCOS) คือภาวะที่รังไข่เกิดภาวะตกไข่ไม่สม่ำเสมอ หรือไม่ตกไข่เรื้อรัง เกิดเป็นถุงน้ำเล็กๆ หลายใบในรังไข่จากภาวะไข่ไม่ตก
    • การตีบตันของปากมดลูก ช่องคลอด และ หรือโพรงมดลูก เนื่องจากพังผืดหรือหลังการขูดมดลูก ทำให้เลือดระดูไม่สามารถไหลออกมาทางช่องคลอดตามปกติได้
    • ภาวะทำงานผิดปกติของต่อมไทรอยด์
    • ภาวะเครียด
    •  ภาวะอ้วน (Obesity)
    • การออกกำลังกายอย่างหนัก
    • การทำงานของรังไข่ล้มเหลวก่อนกำหนด จากการฉายรังสี/รังสีรักษา การให้ยาเคมีบำบัดในการรักษาโรคมะเร็ง
    • การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด ยารักษาทางจิตเวช ยาต้านซึมเศร้า ยารักษาความดันโลหิตสูงและสารเสพติดอื่นๆ เป็นต้น
อาการหลัก คือ การขาดประจำเดือน ซึ่งอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เกิดการขาดประจำเดือน เช่น น้ำหนักตัวเพิ่มหรือน้ำหนักลด มีการเปลี่ยนแปลงขนาดของเต้านมหรือมีน้ำนมไหลจากเต้านม สิวขึ้น ผมร่วง มีขนขึ้นบนหน้า ปวดหัวหรือมีการมองเห็นที่เปลี่ยนไปและอาการปวดท้องน้อย

อาการที่ควรปรึกษาแพทย์
  1. ไม่เคยมีประจำเดือนมาก่อนเมื่ออายุ 16 ปี หรืออายุ 14 ปี แต่ยังไม่มีลักษณะพัฒนาการทางเพศขั้นที่สองของสตรี
  2. เป็นการขาดประจำเดือน แบบเคยมีประจำเดือนมาก่อน แต่ต่อมาประจำเดือนขาดหายไป อย่างน้อย 6 เดือน หรือ 3 รอบของรอบระดูที่เคยมีมาก่อน แล้วตรวจไม่พบว่ามีการตั้งครรภ์
  3. มีการขาดประจำเดือนร่วมกับโรคอ้วน หรือผอมมาก
  4. มีการขาดประจำเดือนร่วมกับมีอาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น
  5. มีการขาดประจำเดือนร่วมกับมีขนหรือหนวดขึ้น มากกว่าผิดปกติ
  6. มีการขาดประจำเดือนร่วมกับปวดศีรษะ ตาพร่ามัว
  7. มีการขาดประจำเดือนร่วมกับมีน้ำนมไหล
  1. การซักประวัติและการตรวจร่างกาย
  2. กาตรวจภายใน
  3. การทำอัลตราซาวน์
  4. การตรวจระดับฮอร์โมน
การรักษาการขาดประจำเดือนขึ้นอยู่กับสาเหตุของการขาดประจำเดือน
  • การปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต เช่น การรักษาร่างกายให้มีน้ำหนักที่เหมาะสม ลดความเครียด
  • การรักษาโดยการใช้ยาสำหรับการขาดประจำเดือน เช่น ยาฮอร์โมน, ยาคุมกำเนิด, การให้ฮอร์โมนทดแทน
  • การผ่าตัดตามสาเหตุของการขาดประจำเดือน

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์สูติ-นรีเวช

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 10.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 1 คน

Related Health Blogs