bih.button.backtotop.text

การสูญเสียการได้ยิน

หูเป็นอวัยวะรับเสียง มีส่วนประกอบอยู่หลายส่วนสลับซับซ้อน ทำให้สามารถสื่อความหมายเข้าใจซึ่งกันและกัน การหลบหลีกภัยอันตรายก็ต้องอาศัยความสามารถในการได้ยิน การที่คนเรามีหูสองข้างเพื่อที่จะสามารถบอกทิศทางของเสียงได้ว่ามาจากทิศไหน

ส่วนประกอบของหู
3 ส่วน คือ
  1. หูชั้นนอก
  2. หูชั้นกลาง
  3. หูชั้นใน

 

หูชั้นนอก (The outer ear)
หูชั้นนอก ประกอบด้วยใบหู (Auricle) และรูหู (Auditory canal)
ทำหน้าที่เป็นทางนำเสียงเข้าไปสู่หูชั้นกลางโดยที่ใบหูจะทำหน้าที่ ช่วยรวบรวมเสียงจากทิศต่างๆ ส่วนรูหูจะทำหน้าที่เป็นทางนำเสียง ไปสู่เยื้อแก้วหู

 

หูชั้นกลาง (The middle ear)
เป็นส่วนของหูที่ต่อมาจากหูชั้นนอก โดยเริ่มจากแก้วหูเข้าไปในช่องว่างซึ่งบรรจุด้วยกระดูกนำเสียง ซึ่งติดต่อไปกับหูชั้นใน ประกอบด้วยส่วนที่สาคัญเช่น
1. กระดูกนำเสียง 3 อัน คือ
    • กระดูกค้อน (Malleus)
    • กระดูกทั่ง (Incus)
    • กระดูกโกลน (Stapes)

กระดูกทั้งสามอันนี้จะติดต่อกันโดยที่กระดูกค้อนจะติดกับเยื้อแก้วหูและกระดูกโกลนติดต่อไปกับหูชั้นใน เสียงที่ผ่านเข้ามากระทบแก้วหูก็จะส่งแรงสะเทือนต่อไปที่กระดูกค้อน กระดูกทั่งและกระดูกโกลน จากนั้นก็จะเข้าสู่ชั้นในผ่านรอยเชื่อมต่อระหว่างกระดูกโกลน และหูชั้นใน ซึ่งเรียกว่า Oval window
 
2. ท่อเล็กๆ ซึ่งเชื่อมต่อหูชั้นกลางกับโพรงอากาศหลังโพรงจมูกในคอ ท่อนี้มีชื่อว่า Eustachian tube ทำหน้าที่ในการปรับความดันอากาศในช่องหูชั้นกลาง

 

หูชั้นใน (The inner ear)
อวัยวะในหูชั้นในมีอยู่สองส่วน คือ
  1. ส่วนรับเสียง ที่เรียกว่า Cochlea
  2. ส่วนควบคุมการทรงตัว คือ Semicircular canal และ Otolithic organ

ภายใน Cochlea มีเซลล์ขน เซลล์ประสาทและของเหลวบรรจุอยู่ ของเหลวนี้จะสั่นกระเพื่อม เมื่อมีคลื่นเสียงซึ่งส่งผ่านมาจากหูชั้นกลางมากระทบ การเคลื่อนไหวของของเหลวภายใน Cochlea นี้ ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางปฏิกิริยาเคมี ก่อให้เกิดกระแสประสาท ซึ่งจะส่งผ่านเซลล์ขนในหูชั้นในไปยังเซลล์ประสาท และเส้นประสาทรับเสียง (Auditory nerve) แล้วส่งต่อเข้าสู่สมองเพื่อการแปลผลและรับรู้เสียง
  1. คลื่นเสียงจะเคลื่อนผ่านเข้าทางช่องหู และเข้าไปกระทบเยื่อแก้วหู
  2. เยื่อแก้วหูและกระดูกหูทั้ง 3 ชิ้น (ค้อน ทั่ง โกลน) ที่อยู่ภายในหูชั้นกลางจะสั่นสะเทือนตามคลื่นเสียง
  3. การสั่นสะเทือนของคลื่นเสียงจะถูกส่งผ่านเข้าไปตามของเหลวที่อยู่ในอวัยวะรูปเกลียว (ก้นหอย) เรียกว่ากระดูกก้นหอย (Cochlea) และจะทำให้ขนที่มีขนาดเล็ก (hair cell) ที่อยู่ในกระดูกก้นหอยเคลื่อนไหวและเปลี่ยนไปเป็นสัญญาณส่งไปยังเส้นประสาทการได้ยิน
  4. เส้นประสาทการได้ยิน จะส่งสัญญาณที่เป็นคลื่นไฟฟ้า (Electronic impulses) ต่อไปยังสมองเพื่อแปลความหมายของเสียง


การได้ยินมีกระบวนการอย่างไร หูตึง หูดับ
 
  1. ความผิดปกติที่เกิดบริเวณหูชั้นนอกที่ทำให้เกิดอาการ หูอื้อ หูตึง ได้แก่ การมีขี้หูอุดตันรูหู รูหูอักเสบหรือเป็นเชื้อรา
  2. สาเหตุจากความผิดปกติของหูชั้นกลาง ได้แก่ เยื้อแก้วหูทะลุ มีน้ำขังในหูชั้นกลาง (Serous otitis media) โรคหูน้ำหนวก โรคหินปูนเกาะที่กระดูกนำเสียง ความผิดปกติของท่อปรับความดันอากาศ (Eustachian tube) เป็นต้น
  3. สาเหตุของการสูญเสียการได้ยินที่พบได้บ่อยที่สุดคือ สาเหตุจากหูชั้นในผิดปกติ
  1. การเสื่อมตามอายุ
  2. การอักเสบของหูชั้นใน (Labyrinthitis)
  3. ประสาทหูโดนทำลายจากการได้รับเสียงดังมากเกินขนาด (Noise induce hearing loss)
  4. ซิฟิลิสของหู
  5. เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเข้าสู่หูชั้นใน หรือเส้นประสาทหู
  6. สาเหตุทางกรรมพันธุ์ เช่น โรคหูตึงทางกรรมพันธุ์
  7. สาเหตุจากโรคทางกาย เช่น โรคเบาหวาน โรคไต ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น
  8. จากอุบัติเหตุ มีการแตกหักหรือกระทบกระเทือนต่ออวัยวะในหูชั้นใน
  9. เนื้องอกของเส้นประสาทการได้ยิน หรือเส้นประสาทการทรงตัว
 แพทย์จะทำการซักประวัติอย่างละเอียดเกี่ยวกับการสูญเสียการได้ยินของท่าน ซึ่งควรจะตอบให้ละเอียด สิ่งที่แพทย์ต้องการทราบ ได้แก่
    • ระยะเวลาที่เริ่มเกิดอาการหูอื้อ หูตึง หูดับ
    • ลักษณะอาการที่เป็น เป็นแบบทันทีทันใด เป็นๆ หายๆ หรือค่อยๆ เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ
    • อาการร่วมทางหู เช่น มีเสียงรบกวนในหู อาการเวียนศีรษะ เป็นต้น
    • อาการร่วมอื่นๆ เช่น อาการชาใบหน้า เดินเซ
    • ประวัติการใช้ยา และโรคประจาตัว
    • ประวัติโรคหูตึงในครอบครัว
    • ประวัติการได้ยินเสียงดัง เช่น ยิงปืน จุดประทัด ทางานในโรงงาน เป็นต้น
2. แพทย์จะทำการตรวจหูอย่างละเอียด ตรวจจมูก และคอ นอกจากนั้นก็จะตรวจระบบประสาท เส้นประสาทสมองต่างๆ
3. ตรวจพิเศษต่าง ๆ
    • การตรวจการได้ยิน (Audiogram) เพื่อดูว่าท่านมีการสูญเสียการได้ยินมากน้อยเพียงใด เป็นชนิดไหน ที่ความถี่อะไรบ้าง
    • การตรวจวัดสมรรถภาพของหูชั้นกลาง (Tympanogram)
    • การตรวจดูคลื่นของเส้นประสาทการได้ยิน และก้านสมอง (Evoke auditory response) ในรายที่สงสัยมีความผิดปกติของเส้นประสาทการได้ยิน
4. ถ้ายังหาสาเหตุไม่พบ หรือในรายที่แพทย์สงสัยจะมีเนื้องอก อาจต้องตรวจเอ็กซเรย์สนามแม่เหล็ก (CT/MRI) เป็นต้น
5. การตรวจเลือดเบาหวาน โรคไต ไขมัน คลอเรสเตอรอล ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง เชื้อซิฟิลิสหรือภูมิคุ้มกันของร่างกาย เป็นต้น
ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุของโรค
  • โรคหูชั้นนอกและชั้นกลาง สามารถรักษาทางยา หรือการผ่าตัด
  • สำหรับโรคของหูชั้นในเป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อน การรักษาขึ้นกับสาเหตุ อาจจะต้องให้การรักษาต่อเนื่องในรายที่มาพบแพทย์ค่อนข้างช้า การรักษามักไม่ค่อยได้ผลดี
  • สำหรับการป้องกันโดยทั่วไป คือ หลีกเลี่ยงจากปัจจัยต่างๆ ที่จะทำลายหู ได้แก่ หลีกเลี่ยงภาวะที่มีเสียงดังมาก หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทำลายประสาทหู และรีบมาพบแพทย์เมื่อมีอาการ เป็นต้น
  1. การอักเสบติดเชื้อในหูชั้นกลาง หูชั้นใน หรือในสมอง จากเชื้อแบคทีเรีย หรือไวรัส เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคซิฟิลิสขึ้นสมอง โรคงูสวัดใบหู โรคคางทูม โรคหัดเยอรมัน เป็นต้น
  2. พิการแต่กำเนิด มักเกิดจากมารดาติดเชื้อหัดเยอรมันขณะตั้งครรภ์ หรือใช้ยาที่มีฤทธิ์ทาลายประสาทหูทารกในครรภ์ ในรายที่หูหนวกแต่กำเนิด หากไม่ได้รับการรักษาฟื้นฟูเด็กมักเป็นใบ้ และในรายที่หูหนวกขณะเป็นผู้ใหญ่จะมีปัญหาในการสื่อสาร และอาจทำให้ต้องออกจากงาน
  1. กรณีที่มีสาเหตุจากหูน้ำหนวกหรือหูชั้นกลางอักเสบ สามารถผ่าตัดแก้ไขได้
  2. กรณีที่สาเหตุเกิดจากประสาทหูพิการ
2.1 มีอาการไม่มาก และเริ่มมีอาการไม่เกิน 1 เดือน อาจรักษาได้ด้วยยารับประทาน
2.2 สูญเสียการได้ยินไม่มากสามารถรักษาฟื้นฟูได้ โดยการใส่เครื่องช่วยฟัง ซึ่งเป็นเครื่องขยายเสียงขนาดเล็กใช้สอดใส่เข้าไปในรูหู หรือวางทัดหลังหู
2.3 ผู้ที่มีประสาทหูพิการรุนแรงที่เรียกว่าหูหนวกหรือเกือบหนวก การใส่เครื่องช่วยฟังมักไม่ได้ผล จำเป็นต้องใช้การรักษาแนวใหม่ คือการฝังประสาทหูเทียมซึ่งต้องใช้ความพิถีพิถันและความร่วมมือเป็นพิเศษระหว่างทีมแพทย์ผ่าตัดและผู้เชี่ยวชาญสาขาโสตสัมผัสและการพูด

การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์หู คอ จมูก

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์การได้ยินและการทรงตัว

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.51 of 10, จากจำนวนคนโหวต 57 คน

Related Health Blogs